กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

            โครงการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ซึ่งเป็นโครงการที่ทางสำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการกองทุนฯ เพื่อให้การดำเนินงานกองทุนฯ ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ เพื่อให้การดำเนินงานดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย
ซึ่งสามารถสรุปผลโครงการได้ดังนี้
      ๑. ฝึกอบรมวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. บรรยายเรื่อง การบริหารจัดการกองทุนฯ และการดำเนินงานกองทุนฯ เพื่อการดำเนินงาน  ที่มีประสิทธิภาพและการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน เพื่อการจัดสรรงบประมาณสำหรับการดำเนินกิจกรรมกองทุนฯ ทั้ง ๕ ประเภท โดยวิทยากรจากองค์การบริหารส่วนตำบลสาคร (พี่เลี้ยงกองทุนฯ จังหวัดสตูล) น.ส. ชัญญานุช พุ่มพวง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้บรรยายเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนฯ และการดำเนินงานกองทุน เพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตกลงสมทบเงินเข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพ ไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละของเงินที่ได้รับจัดสรรจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง สมทบเงินไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๔๐ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงานหรือโครงการ หรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ ดังนี้ ๑. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ๒. เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนหรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่ ได้ดำเนินงานตามแผนหรือโครงการ หรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคให้แก่สมาชิกหรือประชาชนในพื้นที่ สำหรับกรณีมีความจำเป็นต้องจัดซื้อวัสดุที่มีลักษณะเป็นครุภัณฑ์ให้สนับสนุนได้ในวงเงินไม่เกิน ๕,๐๐๐.- บาทต่อโครงการ ๓. เพื่อสนับสนุนให้ศูนย์เด็กเล็กหรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชนหรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการหรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน เป็นเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๕ ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละปีงบประมาณนั้น ๔. เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของเงินรายรับในแต่ละปีงบประมาณนั้น กรณีที่มีความจำเป็นเพื่อซื้อครุภัณฑ์จะต้องมีราคาไม่เกิน ๒๐,๐๐๐.- บาทต่อหน่วย ๕. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่
    คณะกรรมการกองทุนที่มาจากการคัดเลือก มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๔ ปี เมื่อกรรมการครบวาระ ๔ ปีแล้ว ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ให้กรรมการที่ครบวาระนั้น อยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกสิบวัน กองทุนหลักประกันสุขภาพที่ไม่มีเงินสมทบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือไม่มีการดำเนินกิจกรรมใดๆ ต่อเนื่องตั้งแต่ ๒ ปี ขึ้นไป สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะประกาศยุบเลิกกองทุนหลักประกันสุขภาพนั้นได้         บรรยายเรื่องการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนเพื่อการจัดสรรงบประมาณสำหรับการดำเนินกิจกรรมกองทุนฯ ทั้ง ๕ ประเภท แต่ละกองทุนฯ จะต้องมีการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนของปีงบประมาณถัดไปให้แล้วเสร็จพร้อมบันทึกในโปรแกรมออนไลน์ www.localfund.happynetwork.org โดยจะต้องจัดทำแผนสุขภาพชุมชนให้ครบทั้ง ๕ ประเภท และบันทึกในโปรแกรมให้เสร็จเรียบร้อย สำหรับในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ควรรีบจัดทำแผนให้แล้วเสร็จเพื่อทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะได้นำข้อมูลในแผนมาใช้ในการสนับสนุนงบประมาณของปี ๒๕๖๑ ต่อไป
      ๒. ฝึกอบรมวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. บรรยายเรื่อง การดำเนินงานการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) วิทยากรจากเทศบาลตำบลทุ่งหว้า นายมานะ โสสนุย ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จากการรับฟังการบรรยายทางวิทยากรได้ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) ของเทศบาลตำบลทุ่งหว้า สำหรับงบประมาณที่ได้รับใช้จ่ายเฉพาะค่าตอบแทนให้ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (CG) และผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข (CM) ในเขตของเทศบาลตำบล  ทุ่งหว้า ไม่มีการเบิกค่าตอบแทนให้แก่ CM เพราะต้องเบิกค่าตอบแทนกรณีล่วงเวลาซึ่งมีความยุ่งยาก เกี่ยวกับเอกสารในการเบิกจ่าย จึงไม่เบิกจ่ายค่าตอบแทนให้ CG ซึ่งส่วนมากจะปฏิบัติงานในช่วงเวลาที่ทำงานประจำอยู่แล้ว มีนอกเวลาบ้าง การจ่ายค่าตอบแทนให้กับ CG จ่ายเป็นรายชั่วโมงๆ ละ ๕๐ บาท โดยคณะอนุกรรมการ LTC เป็นผู้กำหนดอัตราค่าตอบแทนดังกล่าวไว้ สำหรับการจัดซื้อวัสดุเพื่อใช้ในการดูแลผู้สูงอายุจะไม่เบิกจ่ายในงบประมาณนี้ จะเขียนเป็นโครงการเพื่อเสนอขอรับงบประมาณจากกองทุนฯ โดยขอรับงบประมาณเป็นภาพรวมในประเภทที่ ๓      เพื่อสนับสนุนให้ศูนย์เด็กเล็กหรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน
  ๓. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๐ ณ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโคกชะงาย อ.เมือง จ.พัทลุง โดยรับฟังบรรยายเกี่ยวกับการบริหารจัดการและการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเพื่อให้การดำเนินงานกองทุนฯ มีประสิทธิภาพและการดำเนินงานการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโคกชะงาย ได้รับรางวัลผลการดำเนินงานกองทุนฯ ดีเด่น จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๒ สงขลา สำหรับการดำเนินงานการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) ของเทศบาลตำบลโคกชะงาย มีขั้นตอนดังนี้   ๑. ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ LTC   ๒. ออกระเบียบสำหรับใช้ในการดำเนินงาน LTC   ๓. ออกคำสั่งแต่งตั้งผู้มีอำนาจในการเบิกจ่ายงบ LTC   ๔. เปิดสมุดบัญชี LTC แบบออมทรัพย์และกระแสรายวัน   ๕. ตั้งงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในประเภทที่ ๔ การบริหารจัดการกองทุนฯ เป็นค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการ LTC     ๖. สำรวจผู้สูงอายุในพื้นที่โดยหน่วยบริการสาธารณสุขเป็นผู้คัดกรองและแยกประเภทของผู้สูงอายุ ออกเป็น ๔ ประเภท และแจ้งรายชื่อเพื่อให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๒ สงขลา
    สำหรับการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) ของเทศบาลตำบลโคกชะงาย จะสนับสนุนงบประมาณ LTC ให้กับศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลโคกชะงาย อ.เมืองพัทลุง  จ.พัทลุง โดยการดำเนินการของศูนย์ มีดังนี้       ๑. จัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ โดย อปท.       ๒. ประชุมภาคีเครือข่ายคัดเลือกคณะกรรมการศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ       ๓. จัดทำระเบียบของฟื้นฟูสมรรถภาพและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ       ๔. ออกคำสั่งแต่งตั้งผู้มีอำนาจในการเบิกจ่ายงบของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ       ๕. เปิดสมุดบัญชีของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเพื่อใช้ในการรับงบประมาณสำหรับดำเนินการ LTC แบบออมทรัพย์และกระแสรายวัน       ๖. ออกคำสั่งแต่งตั้งมอบหมายงานภายในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ       เมื่อได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อดำเนินการ LTC มีขั้นตอน ดังนี้       - นำรายชื่อผู้สูงอายุที่ได้ จัดส่งข้อมูลให้กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๒ สงขลา มาพิจารณาและจัดกลุ่มผู้สูงอายุ       - สรุปรายชื่อผู้สูงอายุให้ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ       - ออกเยี่ยมผู้สูงอายุโดยทีมสหวิชาชีพ เพื่อนำข้อมูลของผู้สูงอายุแต่ละรายมาจัดทำแผนการดูแลรายบุคคล (care plan)       - ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุรวบรวม (care plan)       - จัดส่ง (care plan) ให้คณะอนุกรรมการ LTC จัดการประชุมเพื่อพิจารณา (care plan)       - สรุปรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการ LTC เพื่อเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโคกชะงาย พิจารณาอนุมัติงบประมาณ LTC ให้กับศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ       - ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุใช้จ่ายงบประมาณให้แก่ CM, CG, ทีมสหวิชาชีพ, ค่าวัสดุ/ค่าครุภัณฑ์ สำหรับผู้สูงอายุที่ได้รับการดูแลเป็นรายบุคคล โดยอัตราการจ่ายค่าตอบแทนให้ CG ที่คณะอนุกรรมการ LTC กำหนด จำนวน ๕๐ บาท/ชั่วโมง       - ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ รายงานผลการดำเนินงานส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตำบลโคกชะงาย     ๔. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๐ ณ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลขุนทะเล อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการและการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) การดำเนินการเน้นการจัดกิจกรรมให้ครบทุกกลุ่มทั้งกลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ ให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง มีการดำเนินกิจกรรม ดังนี้       - สนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ       - โครงการตัดแว่นให้ผู้สูงอายุ       - กิจกรรมเก็บขยะประจำทุกเดือน       - โครงการเยี่ยมบ้าน เยี่ยมใจห่วงใยสุขภาพ       - กิจกรรมการคัดแยกขยะอันตรายในชุมชน       - กิจกรรม อพม. น้อย       - กิจกรรมการจัดการขยะติดเชื้อของสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ เป็นต้น         การดำเนินงานการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) ของเทศบาลตำบลขุนทะเล       - ผู้สูงอายุที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินงานการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) ในเขตเทศบาลตำบลขุนทะเล สรุปการดำเนินงานได้ ดังนี้         กลุ่มที่ ๑ ดำเนินการ จำนวน ๔๐ คน จากการประเมินผลผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จำนวน ๓๕ ราย         กลุ่มที่ ๒ ดำเนินการ จำนวน ๕ คน จากการประเมินผลผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จำนวน ๒ ราย         กลุ่มที่ ๓ ดำเนินการ จำนวน ๙ คน จากการประเมินผลผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จำนวน ๙ ราย         กลุ่มที่ ๕ ดำเนินการ จำนวน ๒ คน จากการประเมินผลผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จำนวน ๑ ราย

        การขอรับงบประมาณ LTC โดย รพ.สต. ในพื้นที่เป็นผู้ขอรับงบประมาณสำหรับนำไปดำเนินการ LTC แก่ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย แนวทางการเบิกจ่าย เป็นไปตามระเบียบการเบิกจ่าย – เงิน ที่ รพ.สต ถือปฏิบัติเมื่อดำเนินการโครงการเสร็จจะรวบรวมเอกสารจัดส่งให้ทางกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลขุนทะเลต่อไป สำหรับอัตราการจ่ายค่าตอบแทนให้ CG คณะอนุกรรมการ LTC กำหนดไว้ อัตราการจ่ายเป็นรายเดือน ๓๐๐ บาท/เดือน จะเขียนรายละเอียดใน care plan ของแต่ละรายไปว่ามีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลในเรื่องใดมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่ ๓ และ ๔ จะต้องได้รับการดูแลมากกว่ากลุ่มที่ ๑ และ ๒

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ในการบริหารจัดการกองทุนฯ และการดำเนินงานกองทุนฯเพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯและเพื่อให้การดำเนินงานการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามระเบียบข้อกฎหมาย
ตัวชี้วัด :

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 24
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 24

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ในการบริหารจัดการกองทุนฯ และการดำเนินงานกองทุนฯเพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯและเพื่อให้การดำเนินงานการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามระเบียบข้อกฎหมาย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh