กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ ปี2565-L5275-04-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา
วันที่อนุมัติ 15 ตุลาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 172,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาลัชฎาวรรณ สุวรรณะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 47 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นชอบให้ดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ตามมาตรา 18(9) และมาตรา 47 ได้สนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชนและภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการแสวงหากำไร ดำเนินงานและบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพให้แก่บุคคลในพื้นที่ให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กร ดังกล่าวเป็นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา เกิดขึ้นตามแนวทางการดำเนินงานดังกล่าว โดยได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา ให้ดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ2552 ซึ่งในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557 โดยแต่ละกองทุนฯนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาจัดทำเป็นระเบียบกองทุนสำหรับใช้ในการบริหารจัดการกองทุนต่อไป ทั้งนี้ นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ดังกล่าว ปัจจัยในการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพยังเกิดขึ้นจากคณะบุคคลอีกหนึ่งคณะตามที่กล่าวข้างต้น นั้นคือ คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา อนุกรรมการฯ กล่าวคือการ การที่คณะกรรมาการบริหารกองทุนมีความรู้มีความสามารถเข้าถึง เข้าใจหลักการบริหารจัดการกองทุน ก็จะทำให้กองทุนแห่งนั้นดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ประกอบกับ สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติงานให้กับคณะกรรมการบริหารกองทุน ก็ต้องมีเจ้าหน้าที่ดำเนินงานกองทุนฯ วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่พร้อมในการสนับสนุนการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพไปพร้อมกัน ดังนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองทุ่งตำเสาจึงได้จัดทำ “โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา ประจำปีงบประมาณ256๕”ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ ให้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของการบริหารจัดการกองทุนตามวัตถุประสงค์และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

-  กองทุนฯจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการ/อนุกรรมการ/คณะทำงาน อย่างน้อย ๑ ครั้ง

-  มีการจัดประชุมคณะกรรมการ/อนุกรรมการ ตามแผนงานดำเนินงาน

0.00
2 เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ

-  ร้อยละ ๑๐๐ ของโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนได้รับการพิจารณาจากอนุกรรมการ/กรรมการกองทุนฯ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

3.1 จัดประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ/อนุกรรมการ/ที่ปรึกษา/พี่เลี้ยง เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน         - ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ                  จำนวน ๖ ครั้ง         - ประชุมอนุกรรมการ ฝ่ายพิจารณากลั่นกรองโครงการ    จำนวน ๖ ครั้ง         - ประชุมอนุกรรมการ กองทุน LTC            จำนวน ๒ ครั้ง
        - ประชุมอนุกรรมการติดตามประเมินผลโครงการ        จำนวน ๒ ครั้ง     3.2 จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานกองทุนฯ เช่น การประชุม/อบรม/ศึกษาดูงาน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของคณะกรรมการกองทุน ฯลฯ     3.3 จัดซื้อ/จัดจ้างพัสดุ วัสดุ ครุภัณฑ์ที่จำเป็นเพื่อดำเนินการกองทุนฯ เช่น จ้างเหมาประกอบอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับการจัดประชุม จัดซื้อวัสดุ(กระดาษA4 ปากกา ฯลฯ) จ้างเหมาบริการ ฯลฯ
    3.4 จัดทำเวทีจัดทำแผนสุขภาพชุมชน เพื่อรวบรวมปัญหา ความต้องการด้านสาธารณสุขของประชาชนในพื้นที่ประกอบการวางแผนการดำเนินงานของกองทุน
    3.5 อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการบริหารงานของกองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

2.1คณะกรรมการกองทุนฯได้มีการพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของการบริหารจัดการกองทุนตามวัตถุประสงค์และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 2.3สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2564 10:50 น.