กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตำบลอนามัยวัยเจริญพันธุ์ตำบลตะลุโบะ ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L3011-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ
วันที่อนุมัติ 25 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,540.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหวันมูฮำมัดรุสดี เจะอาแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.853,101.267place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์ แห่งชาติฉบับที่ ๑ (๒๕๕๓-๒๕๕๗) รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้การเกิดทุกรายเป็นที่ ปรารถนา ปลอดภัยและมีคุณภาพด้วยการส่งเสริมให้คนทุกเพศทุกวัย มีอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ดี โดยยึดหลักความสมัครใจเสมอภาคและทั่วถึง เพื่อเป็นพลังประชาชนสร้างประเทศให้รุ่งเรืองมั่งคั่งและมั่นคงสืบไป อนามัยการเจริญพันธุ์ เป็นการพัฒนาประชากรที่ เน้นด้านคุณภาพการเจริญพันธุ์ ที่ครอบคลุมทั้งสุขภาพทางเพศทั้งด้านร่างกายจิตใจสังคม เพศมิติพฤติกรรมทางเพศ รวมถึงการแสดงบทบาททางเพศ จึงต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่การเกิดจนสิ้นอายุขัย ประกอบด้วย ๑๐องค์ประกอบได้แก่การวางแผนครอบครัว การอนามัยแม่และเด็กภาวะการมีบุตรยากการแท้งและภาวะแทรกซ้อนโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคเอดส์มะเร็งระบบสืบพันธุ์ เพศศึกษาวัยรุ่น และภาวะหลังการเจริญพันธุ์ ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีความเชื่อมโยงส่งผลซึ่งกันและกันที่ จะนําไปสู่คุณภาพการเจริญพันธุ์ที่ดี ของประชากรในแต่ละวัย วัยรุ่นเป็นประชากรที่มีความสําคัญในการพัฒนาประเทศชาติเพราะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องรับช่วงต่อการพัฒนาประเทศชาติจากผู้ ใหญ่วัยรุ่นทุกคนจะเจริญเติบโตพัฒนาเป็นวัยแรงงานเป็นพลเมืองของประเทศ เป็นพ่อ -แม่และเป็นหัวหน้าครอบครัว จึงเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าและมีความสําคัญอย่างยิ่งที่ ควรได้รับการพัฒนาดูแลให้มีคุณภาพเป้าหมายของการพัฒนาสุขภาพวัยรุ่น คือ การทําให้วัยรุ่นมีวิถีชีวิตสุขภาพที่ดีสดใสไม่ท้องก่อนวัยมีทักษะชีวิตที่ดี มีอนาคตนั้นหมายถึงต้องมีอนามัยการเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพและมีความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างไรก็ตามด้วยสถานการณ์และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคมและความเป็นอยู่รวมทั้งวิวัฒนาการความเจริญในด้านต่าง ๆ ของโลก ส่งผลให้ความเป็นอยู่ ของวัยรุ่นแปรเปลี่ยนตามกระแสนําไปสู่พฤติกรรมเสี่ยง ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์สูงขึ้น เช่นการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ปลอดภัยการมีค่านิยมที่ ไม่เหมาะสมในเรื่องเพศการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานในอัตราเพิ่มขึ้น แนวโน้มการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกมีอายุน้อยลงเรื่อยๆปัญหาการถูกล่อลวงในเรื่องเพศสูงขึ้นรวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์ที่ ขาดความรับผิดชอบซึ่งจะนําไปสู่ปัญหาต่าง ๆเช่น การตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนาการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ การแท้งและภาวะแทรกซ้อน หรือแม้แต่ปัญหาด้านสังคมอื่น ๆ ที่ตามมานับวันจะรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นไทยอายุระหว่าง ๑๕-๑๙ ปี มีจํานวนถึง๕ ล้านคนและมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ๑.๒๕ล้านคนในจํานวนนี้มีอัตราการตั้งครรภ์ ๒.๕ แสนคน ต่อปี โดยครึ่งหนึ่งเลือกที่จะทําแท้งซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทําแท้งที่ไม่ปลอดภัย และมีอัตราการคลอดเฉลี่ย๑.๒ แสนรายต่อปีทั้งนี้ เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยขาดการป้องกันมูลเหตุที่สําคัญพบว่าวัยรุ่นยังขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องอนามัยการเจริญพันธุ์ขาดความตระหนักขาดทักษะต่างๆที่จําเป็นในการส่งเสริมอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ดีและเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์ ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพของตนเองลดลง อีกทั้งครอบครัว ชุมชนและสังคมโดยรวมยังเข้าไม่ถึงปัญหาไม่ให้ความสําคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ปัจจุบันบริการที่จัดให้สำหรับวัยรุ่นและเยาวชน ทั้งในสถานบริการสาธารณสุข ในโรงเรียน และชุมชนมีอยู่ค่อนข้างจำกัด การที่วัยรุ่นและเยาวชนไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพจากระบบบริการที่มีคุณภาพ ส่งผลให้วัยรุ่นไม่มีที่ปรึกษา ปรึกษากันเอง หรือไปรับบริการในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพสำหรับวัยรุ่น เช่น การตั้งครรภ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ ในวัยรุ่นและเยาวชนเพิ่มมากขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ ได้เล็งเห็นและตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการตำบลอนามัยวัยเจริญพันธุ์ตำบลตะลุโบะปี ๒๕๖๐ ขึ้น เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงของภาคีเครือข่ายบริการและเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่อง เพศศึกษาและพัฒนาการของตนเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น

1.ร้อยละ ๘0 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และความเข้าใจเรื่อง เพศศึกษาและพัฒนาการของตนเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น

2 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ และทักษะในการจัดการกับสถานการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ และทักษะในการจัดการกับสถานการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ

3 เพื่อให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการเห็นคุณค่าและสร้างความภาคภูมิใจในตัวเอง

ร้อยละ 95ของกลุ่มเป้าหมายตระหนักถึงความสำคัญของการเห็นคุณค่าและสร้างความภาคภูมิใจในตัวเอง

4 เพื่อสร้างเครือข่ายในโรงเรียน,หมู่บ้าน,ชุมชน

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายสร้างเครือข่ายในโรงเรียน,หมู่บ้าน,ชุมชน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ขั้นเตรียมการ
๑.๑ศึกษาเอกสาร ประสานงานเพื่อจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตำบลอนามัยวัยเจริญพันธ์ตำบลตะลุโบะ ประกอบด้วย ฝ่ายปกครอง สาธารณสุขอำเภอเมือง โรงพยาบาลปัตตานี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและชุมชน
๑.๒จัดทำโครงการฯ
๑.๓จัดทำสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ เช่น ป้ายไวนิล แผ่นพับ สื่อสารทางเทคโนโลยี ๑.๔เตรียมสถานที่ในการจัดโครงการฯ ๑.๕ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ๒. ขั้นดำเนินงาน ๒.๑จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องอนามัยวัยเจริญพันธุ์ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๑๗๒ คน ๒.๒ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานตำบลอนามัยวัยเจริญพันธุ์ จำนวน ๒๐ คน ๒.๓ประเมินความพึงพอใจ ๓. ขั้นประเมินผล ๓.๑สรุปปัญหาและอุปสรรค เพื่อหาแนวทางแก้ไข ๓.๒มีแกนนำ มีระบบส่งต่อ
๓.๓ปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ก่อนวัย /ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ลดลง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องอนามัยการเจริญพันธุ์ ๒.มีการสร้างเครือข่ายในโรงเรียน,หมู่บ้าน,ชุมชนและครอบครัวที่เข้มแข็ง ๓.ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร/ ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2560 16:33 น.