กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดหวาน-มัน-เค็ม ลดโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 2565-L3311-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไสนายขัน
วันที่อนุมัติ 29 กันยายน 2021
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2021 - 30 กันยายน 2022
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2022
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเอมอร ชะหนู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.491,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง การดำเนินงานคือ คัดกรองและจำแนกเป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย หลังจากนั้นดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้หลัก 3 อ. 2 ส. เพื่อควบคุมป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไสนายขันได้เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหา โดยมุ่งเน้นที่การป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคและมีการสนับสนุนให้เกิดกระบวนการจัดการตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถลดโรค โดยให้ประชาชนรับรู้ เข้าใจ ตระหนักถึงภาวะเสี่ยง สามารถปรับพฤติกรรมควบคุมป้องกันปัจจัยเสี่ยงได้ การดำเนินงานด้านสาธารณสุขที่มีจุดมุ่งหมายในการลดการป่วยและการตายของประชาชนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้น ไม่สามารถดำเนินการในด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียวได้ หากแต่ต้องเป็นการดำเนินงานทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วยด้านการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชนให้ปลอดโรค ด้านการป้องกันควบคุมโรคโดยการลดและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมสุขภาพและลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้านการรักษาพยาบาลในประชาชนที่มีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและความพิการขึ้น และด้านการฟื้นฟูสรรถภาพทางร่างกายและจิตใจในภาวะที่เกิดความพิการและภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ให้สามารถดูแลตนเองได้ ไม่เป็นภาระให้กับครอบครัวและสังคม โดยอาศัยการดำเนินงานในลักษณะการเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างภาคีเครือข่าย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม และรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้น

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้ ร้อยละ 60

0.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือระดับความดันโลหิตไม่ได้ ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน

ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือระดับความดันโลหิตไม่ได้ ทุกคนได้รับการเยี่ยมบ้าน

0.00
4 เพื่อป้องกันและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อน

จำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหา และการติดตาม ดูแลต่อเนื่องที่บ้านเพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกัน 2.เขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ 3.ประสานงานกับหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินงานตามโครงการ 4.จัดเตรียมอุปกรณ์ในการดำเนินงานตามโครงการ คือ เครื่องวัดความดันโลหิต และแถบตรวจปริมาณเกลือในอาหาร 5.กำหนดกิจกรรมเข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ความรู้ -กลุ่มเสี่ยงให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง -กลุ่มป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เพื่อให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้น และรายที่ผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือระดับความดันโลหิตไม่ได้ ได้รับการติดตาม เยี่ยมบ้าน เพื่อป้องกันและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อน 6.ประสาน อสม. หรือผู้นำชุมชน ติดตามผู้ป่วยที่ไม่มารับการรักษาตามนัด 7.อสม. ติดตาม เยี่ยมบ้านกลุ่มป่วย และกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบ เดือนละ 1 ครั้ง 8.สรุปและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ 9.รายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสุงรายให่ลดลง 2.ผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือระดับความดันโลหิตไม่ได้ ทุกคนได้รับการเยี่ยมบ้าน 4.จำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง รายใหม่ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2021 10:38 น.