กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพผ้สูงอายุโดยใช้การแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น
รหัสโครงการ 2565-L3311-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลควนขนุน
วันที่อนุมัติ 29 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 49,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบุญสม แก้วเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.491,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

ระบุ

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามประกาศนโยบายรัฐบาลข้อที่ 8 เกี่ยวกับการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนทุกช่วงวัย ประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมสูงวัย (Aging Society) ตั้งแต่ปี 2548 โดยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึงร้อยละ 10 และขณะนี้ประชากรสูงอายุกำลังเพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่เร็วมาก คือ สูงถึงร้อยละ 4 ต่อปี ในขณะที่ประชากรรวมเพิ่มขึ้นด้วยอัตราเพียงร้อยละ 0.5 เท่านั้น สถานการณ์สูงวัยของประชากรไทยปี 2558 มีจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 16 (11 ล้านคน) ของประชากรทั้งหมด ซึ่งตามการคาดประมาณประชากรของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ คือมีสัดประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึงร้อยละ 20 ในปี 2564 จะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอดเมื่อมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึงร้อยละ 28 ในปี 2574 (ที่มา:สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2558 มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย) และจากการสำรวจผู้สูงอายุในประเทศไทยพบว่า ร้อยละ 63.3 ประชากรในกลุ่มอายุ 60-69 ปี เป็นโรคเรื้อรังและพบเพิ่มขึ้นเมื่่ออายุมากขึ้น และเพิ่มเป็นร้อยละ 83.3 ในกลุ่มที่มีอายุ 90 ปีขึ้นไป ซึ่งการชราภาพเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได่้ แต่การเจ็บป่วยเรื้อรังที่ก่อให้เกิดภาวะทุพพลภาพสามารถป้องกันหรือชะลอได้ด้วยมาตรการทางการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนมาตรการด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่ง (ที่มา:การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว กรมอนามัย) ซึ่งการเจ็บป่วยเป็นโรคส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ครอบครัว ชุมชน และเศรษฐกิจของชาติ ข้อมูลจากฐานข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center:HDC) โดยเฉพาะข้อมูลการคัดกรองสุขภาพ 10 เรื่องของผู้สูงอายุ ในปีงบประมาณ 2563 พบว่าผู้สูงอายุจังหวัดพัทลุงมีปัญหาสุขภาพผิดปกติสูงกว่าระดับประเทศหลายประเด็น เช่น ปัญหาข้อเข่าเสื่อม ซึ่งผู้สูงอายุจังหวัดพัทลุงพบผิดปกติ ร้อยละ 13.42 ในขณะที่ระดับประเทศพบผิดปกติเพียงร้อยละ 7.11 เท่านั้น ปัญหาเสี่ยงหกล้ม ผู้สูงอายุจังหวัดพัทลุงพบผิดปกติร้อยละ 8.05 ในขณะที่ระดับประเทศพบเพียงร้อยละ 4.74 เท่านั้น นอกจากนี้ยังพบปัญหาผู้สูงอายุติดบ้านหรือติดเตียง จังหวัดพัทลุงพบผิดปกติร้อยละ 3.66 ในขณะที่ระดับประเทศพบร้อยละ 3.07 ปัญหาผู้สูงอายุซึมเศร้า จังหวัดพัทลุงพบผิดปกติร้อยละ 1.01 ในขณะที่ระดับประเทศพบผิดปกติร้อยละ 0.67 สมองเสื่อม ผู้สูงอายุจังหวัดพัทลุงพบผิดปกติร้อยละ 1.74 ในขณะที่ระดับประเทศพบเพียงร้อยละ 1.51 ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่า สุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดพัทลุงยังต้องได้รับการพัฒนาให้สูงขึ้นเพื่อให้เทียบเท่าหรือดีกว่าผู้สูงอายุในจังหวัดอื่นๆ ซึ่งจากการสำรวจ และดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาในเรื่องการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยในตำบลควนขนุน ส่วนมากป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันและปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องดูแลในเรื่องของการให้ความรู้และการปฏิบัติที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพ กินอาหารเหมาะสมตามธาตุเจ้าเรือน ออกกำลังกายโดยใช้ภูมิปัญญาแผนไทยใช้ความรู้ด้านแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาในการลดปวด ชมรมผู้สูงอายุตำบบลควนขนุน ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้การแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพคน:แผนงานบูรณาการการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิตโดยเฉพาะกลุ่มวัยสูงอายุ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชน/ในชมรมมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ตลอดจนสามารถพึ่งตนเองในการดูแลสุขภาพด้วยการประยุกต์ใช้ศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุนำความรู้การแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาพื้นบ้านไปใช้ในการส่งเสริมสุขภาพในด้านการกินอาหาร การออกกำลังกาย การลดปวดเมื่อย

ร้อยละผู้สูงอายุกินอาหารเหมาะสมตามธาตุเจ้าเรือน 80 % ร้อยละผู้สูงอายุออกกำลังกายโดยใช้ภูมิปัญญาแผนไทย 80% ร้อยละผู้สูงอายุใช้ความรู้ด้านแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาในการลดปวด 80%

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมคณะกรรมการวางแผนงานโครงการ 2.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณดำเนินการ 3.ประสานสถานที่จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 4.ประสานขอเชิญวิทยากร/เชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม 5.ดำเนินตามแผนงานโครงการ 6.ประเมินผลตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.บุคลการ ผู้รับผิดชอบชมรมผู้สูงอายุตำบลควนขนุน งานแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความรู้ในการส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย 2.มีพัฒนากระบวนการเรียนรู้และส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2564 10:00 น.