กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการขยะเปียกและขยะอันตรายในชุมชนปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L7252-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเดา
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2021
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2021 - 30 กันยายน 2022
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2022
งบประมาณ 134,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมนูญ วันแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมยา หวังจิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอยถือเป็นปัญหาหลักด้านมลพิษของประเทศไทยในปัจจุบัน เนื่องจากจำนวนของประชาชนที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งส่งผลให้รูปแบบ การดำรงชีวิตของประชาชนจากรูปแบบชุมชนชนบทซึ่งผลิตขยะมูลฝอยเพียงเล็กน้อยต่อวัน กลายเป็นการดำรงชีวิตแบบชุมชนเมืองหรือชุมอุตสาหกรรม ซึ่งก่อให้เกิดปริมาณมูลฝอยต่อวันเป็นจำนวนมาก รวมถึงข้อจำกัดด้านพื้นที่ในการจำกัดขยะมูลฝอย ในปัจจุบันมีพื้นที่ที่จะสามารถกำจัดขยะมูลฝอยเพียงเล็กน้อยต่อวัน กลายเป็นการดำรงชีวิตแบบชุมชนเมืองหรือชุมชนอุตสาหกรรม ซึ่งก่อให้เกิดปริมาณขยะมูลฝอยต่อวันเป็นจำนวนมาก รวมถึงข้อจำกัดด้านพื้นที่ในการกำจัดขยะมูลฝอย ซึ่งในปัจจุบัน มีพื้นที่ที่จะสามารถกำจัดขยะมูลฝอยได้น้อยลงทุกวัน รวมทั้งการต่อต้านจากประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย จึงส่งผลให้ความรุนแรงของปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอยรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
ในการนี้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเดา จึงขอจัดทำโครงการการจัดการขยะเปียกและขยะอันตรายในชุมชนปีงบประมาณ 2565 เพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น รบกวน และส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างจุดตัวอย่างการจัดการขยะอินทรีย์ และขยะอันตราย อีกทั้งยังเป็นการสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในชุมชนดูแล/จัดการกับปัญหาขยะที่เกิดจากครัวเรือนได้อีกด้วย ในการแก้ไขปัญหาขยะในชุมชนส่วนใหญ่จะเป็นขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ แต่ในส่วนของขยะอินทรีย์และอันตราย ยังไม่มีแนวทางในการบริหารจัดการ และเป็นขยะที่มีจำนวนมากในชุมชน ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อชุมชน และยังช่วยในการลดปัญหาสุขภาพ ทั้งยังส่งเสริมให้แต่ละครัวเรือนมีการจัดการขยะ ที่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อไม่ให้ขยะดังกล่าวตกค้าง ทำให้ชุมชนสะอาด น่าอยู่ และไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์โรคในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในการคัดแยกขยะ

 

0.00
2 2. เพื่อลดปริมาณขยะก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี

 

0.00
3 3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะโดยชุมชน

 

0.00
4 4. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตพร้อมเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ครัวเรือนและชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนรายละเอียดโครงการ
  2. เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ
  3. ประสานงานการดำเนินโครงการ/ประชาสัมพันธ์โครงการ
  4. ดำเนินโครงการ โดยมีกิจกรรมดังนี้   กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการขยะ   กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ การคัดแยกขยะเปียก และขยะอันตรายในชุมชน   กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมหน้าบ้าน น่ามอง ในครัวเรือนของตนเองโดยประสานกับเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขฯ เพื่อเก็บขนขยะ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนได้มีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ
  2. ปริมาณขยะก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดขยะอย่างถูกวิธีลดน้อยลง
  3. ประชาชนได้มีกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะโดยชุมชน
  4. ประชาชนในชุมชนสร้างความเข้มแข็งให้แก่ครัวเรือน และชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2021 08:51 น.