กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการจัดตั้งสถานที่ควบคุม (Quarantine) ศูนย์พักคอยและการแยกกักตัว (Community isolation) เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันและรองรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid 19)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดตั้งสถานที่ควบคุม (Quarantine) ศูนย์พักคอยและการแยกกักตัว (Community isolation) เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันและรองรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid 19)
รหัสโครงการ 65-L-1505-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งค่าย
วันที่อนุมัติ 29 ตุลาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 46,890.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งค่าย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.474,99.648place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid ๑๙ ) ข้อมูล ณ วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๔ รายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นจํานวน ๑๐,๕๕๐ ราย สะสมรวม ๑,๕๙๒,๙๐๓ ราย เสียชีวิต เพิ่มขึ้น ๑๘,๒๐๕ ราย ของจังหวัดตรังรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นจํานวน ๑๘๓ ราย รวมถึงรับคนจังหวัด ตรังมารักษา ณ จังหวัดตรัง รวมสะสมระลอกตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๖๔ จํานวน ๗,๘๒๗ ราย เสียชีวิต จํานวน ๔๑ ราย จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid ๑๙ ) ระลอกใหม่ตั้งแต่เดือน เมษายน ๒๕๖๔ ของประเทศไทยและในพื้นที่จังหวัดตรังมีผู้ป่วยเข้าข่ายเฝ้าระวังตามเกณฑ์สอบสวนโรค และ ผู้ป่วยรายใหม่ในแต่ละวันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทําให้โรงพยาบาลสนามของจังหวัดตรังมีจํานวนเตียงผู้ป่วยไม่ เพียงพอ ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้ และในกรณีที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล เปิดให้ประชาชนสามารถเดินทางกลับภูมิลําเนาได้ ซึ่งขณะนี้ประชาชนในอําเภอย่านตาขาวมีการติดเชื้อไวรัสโค โรนา ๒๐๑๙ (Covid ๑๔ ) เพิ่มขึ้นทุกวัน ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมด้านสถานที่รองรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจํานวน ๙ แห่ง ในอําเภอย่านตาขาวจึงได้เตรียมสถานที่รองรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid ๑๙ ) ขึ้น โดย กําหนดให้จัดหาสถานที่เพื่อร่วมกันดําเนินการในพื้นที่อําเภอย่านตาขาว จํานวน ๑ แห่ง รองรับผู้ป่วยไม่น้อยกว่า ๗๐ เตียง ณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ศูนย์กีฬาเพื่อความเป็นเลิศ อาคารมวยปล้ํา หมู่ที่ 9 ตําบลทุ่งกระบือ อําเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง จัดตั้งเป็นสถานที่ควบคุม (Quarantine) ศูนย์พักคอยและการแยกกักตัว (Community isolation) เนื่องจากมีความเหมาะสมหลายด้าน เช่น ห่างไกลจากชุมชน เส้นทางคมนาคมสะดวก คล่องตัว อาคารมีความพร้อมเหมาะสมต่อการปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข หากองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นแต่ละแห่งแยกย้ายไปดําเนินการสถานที่ต่างๆ กัน ด้านการแพทย์และสาธารณสุขมีจํากัดและการ เคลื่อนย้ายผู้ป่วยหลายพื้นที่มีโอกาสติดเชื้อเพิ่มขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปในการ ดําเนินการจัดตั้งสถานที่ควบคุม (Quarantine) ศูนย์พักคอยและการแยกกักตัว (Community isolation)
  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจํานวน ๙ แห่ง ได้แก่ เทศบาลตําบล ๓ แห่ง องค์การบริหารส่วนตําบล ๖ แห่ง จัดทําโครงการจัดตั้งสถานที่ควบคุม (Quarantine)ศูนย์พักคอยและการแยกกักตัว (Community isolation) เสนอโครงการต่อผู้บริหารท้องถิ่นพร้อมจัดทําบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) กับ นายอําเภอย่านตาขาว
  • เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตําบลดําเนินการตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ จัดซื้อ-จัดหา วัสดุ ติดตั้งอุปกรณ์ที่จําเป็นสําหรับเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย ตามรายการผนวก ก.และผนวก ข.
  • นําผู้ป่วยซึ่งอยู่ในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง ๙ แห่ง เข้าพักในศูนย์พักคอยและ การแยกกักตัว (Community isolation) ที่เตรียมไว้ เมื่อได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลย่านตาขาวหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง
  • ติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลการดําเนินงานโครงการเมื่อสิ้นสุดโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVid ๑๙ ) ได้รับการดูแลตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข
  • เพื่อมิให้เชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVid ๑๙ ) จากผู้ป่วยในครอบครัวไปแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่นที่สัมผัสหรือใกล้ชิด
  • เพื่อให้เกิดความมั่นใจของชุมชนเมื่อผู้ป่วยกลับไปอาศัยกับครอบครัว และลดความขัดแย้งของคนในชุมชนจากความกลัว
  • ลดการสูญเสียจากการเสียชีวิต ด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid ๑๙)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2564 09:08 น.