กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนควนขนุนวัยใส ผู้สูงวัยเบิกบาน ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 2565-L3311-02-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลควนขนุน
วันที่อนุมัติ 29 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 91,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนุกูล ชะหนู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.491,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ผู้สูงอายุหรือคนชราซึ่งมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในสังคมไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งได้จัดทำการสำรวจประชากรสูงอายุมาแล้ว 5 ครั้ง ผลกจากการสำรวจพบว่าประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเห็นได้ชัด โดยปี 2537 มีผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของประชากรทั้งประเทศ ปี 2545 และปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 9.4 และ 10.7 ตามลำดับ ในปี 2554 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 12.2 และผลการสำรวจปี 2557 พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 14.9 ของประชากรทั้งหมด (ชายร้อยละ 13.8 และหญิงร้อยละ 16.1) จากจำนวนผู้สูงอายุทั้งสิ้น 10,014,699 คน ตำบลควนขนุนมีประชากรทั้งหมด 8,460 คน เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 1,683 คน คิดเป็นร้อยละ 19.9 ของประชากรของตำบลควนขนุนทั้งหมด ซึ่งเป็นผลจากการที่ประเทศไทยประสบผลสำเร็จในนโยบายด้านประชากรและการวางแผนครอบครัว ทำให้อัตราการเกิดลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความก้าวหน้าทางการแพทย์สาธารณสุข และเทคโนโลยี ทำให้ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ส่งผลให้โครงสร้างประชากรของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป เป็นโครงสร้างแบบผู้สูงอายุ หรืออาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในอาเซียนที่เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ(Aging Society) การเป็นสังคมผู้สูงอายุคือ การที่มีจำนวนผู้สูงอายุหรือประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มสูงขึ้นจนมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่วัยเด็กและแรงงานลดน้อยลงเรื่อยๆ จึงส่งผลกระทบต่อภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าสู่สังคม ทำกิจกรรมร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

0.00
2 เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพกายและใจดี สังเกตจากพฤติกรรมและทางกายภาพ

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสร้างสรรค์ประโยชน์และชุมชนและสังคม

ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำประโยชน์ต่อชุมชนช่วยเหลือสังคม

0.00
4 เพื่อเสริมสร้างคุณค่าทางภูมิปัญญาของผู้สูงอายุให้เป็นที่ประจักษ์และยอมรับ

ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรมถ่ายทอดภูมิปัญญาต่อกันและถ่ายทอดสู่ลูกหลาน

0.00
5 เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ดำรงสืบทอดต่อไป

ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรมถ่ายทอดภูมิปัญญาและอนุรักษ์ไว้แก่คนรุ่นหลัง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องจัดทำโครงการและเขียนโครงการ 2.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการและงบประมาณดำเนินงาน 3.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือจากพื้นที่ 4.คัดเลือกและแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ 5.จัดทำแผนการดำเนินงาน/ประชาสัมพันธ์ 6.ดำเนินการจัดกิจกรรม 7.ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุนำความรู้มาพัฒนาตนเองและเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2.ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ 3.ผู้สูงอายุมีกิจกรรมสร้างสรรค์ทำประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม 4.คุณค่าทางภูมิปัญญาของผู้สูงอายุเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ 5.ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นดำรงสืบทอดไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2564 10:20 น.