กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 2565-L3311-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านไสนายขัน
วันที่อนุมัติ 29 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพรรณี นวลขาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.491,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 350 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 550 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากผลการดำเนินงานคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตของ 3 หมู่บ้าน ในเขต รพ.สต.บ้านไสนายขัน พ.ศ.2562-2564 พบว่าประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรอง ร้อยละ 92.91,90.30 ตามลำดับ และในปี 2564 พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง 338 คน (ร้อยละ 21.19) พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 295 คน (ร้อยละ 17.42) จึงควรมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยมีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค เป้าหมาย กลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ต้องได้รับการตรวจคัดกรองความดันโลหิต การชั่งน้ำหนัก วัดความสูงและการวัดเส้นรอบพุง การเจาะน้ำตาลในเลือด ค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น เพื่อที่จะมีการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง โดยกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มที่สงสัยจะเป็นโรคต้องส่งไปรับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกทุกราย เพื่อลดความรุนแรงของโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านไสนายขัน จำนวน 1,100 คน

ร้อยละ 90 ของประชาชนอายุมากกว่า 35 ปี ได้รับการคัดกรอง

0.00
2 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากกว่าร้อยละ 20

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ระยะเตรียม 1.1สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในชุมชน 1.2ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดทำโครงการ 1.3เขียนโครงการและเสนอโครงการฯเพื่อขอการสนับสนุนงบประมาณ 1.4จัดทำแผนปฏิบัติการของโครงการฯ 2.ระยะดำเนินการ 2.1จัดทำเอกสารประกอบการคัดกรองสุขภาพ และแบบติดตามประเมินผล 2.2ประชุมเชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการคัดกรองสุขภาพ 2.3จัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ 2.3.1ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน(โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจ) 2.3.2คัดกรองตามแบบฟอร์มที่กำหนดโดยการซักประวัติและตรวจร่างกายเกี่ยวกับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง รอบเอว คำนวณค่าดัชนีมวลกาย(BMI) ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด(DTX) และวัดความดันโลหิต 2.3.3ประเมินภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพรายบุคคล 2.4ลงบันทึกผลการคัดกรองรายบุคคลในโปรแกรม JHCIS
2.5จัดทำทะเบียนประชากรจำแนกเป็น กลุ่มดี กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย 2.6จัดทำกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กิจกรรมมีดังนี้ 2.6.1ประเมินความรู้ของกลุ่มเป้าหมายก่อนเข้าร่วมโครงการ 2.6.2ประเมินพฤติกรรมสุขภาพรายบุคคลของผู้เข้าร่วมโครงการ 2.6.3อบรมเชิงปฏิบัติการ 2.6.4ติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพรายบุคคลเกี่ยวกับน้ำหนัก รอบเอว ดัชนีมวลกาย ค่าระดับน้ำตาลในเลือด ค่าความดันโลหิตทุก 1 เดือน 3.ระยะสรุปผล 3.1สรุปผลการดำเนินงานการจัดโครงการฯ 3.2จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน 3.3นิเทศติดตามประเมินผลการดำเนินงานทุก 3 เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไสนายขันได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างน้อย ร้อยละ 90 2.ค้นพบประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2564 15:09 น.