กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โคกสักออกรู้เท่าทัน ป้องกันตนให้พ้นโควิด
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.ม.4
วันที่อนุมัติ 27 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 11 พฤศจิกายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2564
งบประมาณ 8,455.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเครือฟ้า แก้วสมบูรณ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.875,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ย. 2564 9 พ.ย. 2564 8,455.00
รวมงบประมาณ 8,455.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 29 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) เริ่มต้นตั้งแต่เดือนธันวาคม ปีพ.ศ. 2562 และลุกลามไปทั่วโลกสร้างความหวาดกลัว และส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจรวมถึงสังคมและเศรษฐกิจของประชากรต่อประชาชนในวงกว้าง และเมื่อต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 มีการระบาดใหญ่ (Pandemic) ซึ่งเป็นการติดเชื้อทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ตามประกาศขององค์การอนามัยโลก (ณัฏฐวรรณ, 2564) การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาระบบสุขภาพที่ยั่งยืนในระยะสั้นความเปราะบางของระบบการดูแลสุขภาพของประเทศต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิมหลายประเทศกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านโรคระบาดสาธารณสุขที่สำคัญอยู่แล้วทำให้มีอุปสรรคในการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการระบาดครั้งใหม่
จากการระบาดของโรคโควิด-19 ในระดับโลก และในประเทศไทย ส่งผลกระทบถึงการลดลงของคุณภาพชีวิต
การไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง หรือการไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ (โศภิต, 2564) สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 ส่งผลให้รัฐบาลต้องใช้มาตรการที่เข้มข้นเพื่อควบคุมการระบาด โดยได้เริ่มใช้มาตรการล็อกดาวน์ ทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทย ทำให้เศรษฐกิจโลกหดตัว 3.2 % และเศรษฐกิจอาเซียน จะลดลงราว 2.1-5.4 % จากสถานการณ์ปกติ (สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค, 2563) ในประเทศไทย พบว่ายังมีผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 มียอดผู้ติดเชื้อสะสม 1,884,973 คน ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 9,658 คน และมียอดผู้เสียชีวิตสะสม 19,006 คน (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข, 2564) และในส่วนของจังหวัดสงขลา ยังมียอดผู้ติดเชื้อสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ โดยยอดผู้ติดเชื้อ ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2564 จังหวัดสงขลามียอดผู้ติดเชื้อสะสม 46,623 คน ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 677 คน รักษาตัวอยู่ 10,469 คน และเสียชีวิตสะสม 180 คน (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข, 2564) จังหวัดสงขลาได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาล ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจจังหวัดสงขลาในเดือนมิถุนายน 2563 หดตัวร้อยละ 20.0 (สำนักงานการคลังจังหวัดสงขลา, 2563) จากการลงพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านโคกสักออก ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลาพบปัญหาสุขภาพชุมชน ได้แก่ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่ามีประชากรในหมู่บ้านติดโรคโควิดสะสมเป็นจำนวน 21 คน คิดเป็นอัตราอุบัติการณ์ เท่ากับ 22.01 ต่อประชากร 1,000 คน โดยรักษาหายแล้ว 20 คน รักษาตัวอยู่ 1 คน และจากแบบสอบถามภาวะสุขภาพของตัวแทนครัวเรือนหมู่ที่ 4 บ้านโคกสักออก ผ่าน Google form จากตัวแทนครัวเรือน 50 ครัวเรือน พบว่า ตัวแทนครัวเรือน ร้อยละ 38 มีความเครียด ซึ่งร้อยละ 52.6 มีสาเหตุความเครียด จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกทั้งยังพบว่าตัวแทนครัวเรือน ร้อยละ 8 มีความรู้การป้องกันการติดโรคโควิดไม่เหมาะสม ร้อยละ 24 มีทัศนคติการป้องกันการติดโรคโควิดไม่เหมาะสม และร้อยละ 6 พบว่ามีพฤติกรรมการป้องกันการติดโรคโควิดไม่เหมาะสม
จากการประชุมประชาคมในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ผู้ร่วมประชุมได้เล็งเห็นถึงปัญหาของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งมีสาเหตุมากจากความไม่ตระหนักในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการป้องกันโรคโควิด-19 การขาดความรู้ในเรื่องวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ส่งผลให้มีประชาชนในหมู่บ้านโคกสักออกบางส่วนเกิดความวิตกกังวลจากผลข้างเคียงของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จากการได้รับข่าวสารมาจากช่องทางต่าง ๆ ทำให้ประชาชนบางส่วนมีการตัดสินใจฉีดวัคซีนเบี่ยงเบนไป และทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ยังไม่ได้รับการอบรมเรื่องการใช้ชุดตรวจโควิดด้วยตนเอง ทางคณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงการ “โคกสักออกรู้เท่าทัน ป้องกันตนให้พ้นโควิด” โดยมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องวัคซีน การปฏิบัติตนก่อนและหลังการฉีดวัคซีน และการสาธิตการใช้ชุดตรวจโควิดด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมความรู้ในเรื่องของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และการใช้ชุดตรวจโควิดด้วยตนเองให้กับประชาชนในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ตัวแทนครัวเรือนมีความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และการปฏิบัติตัวก่อนและหลังได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด–19

ร้อยละ 80 ของตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมให้ความรู้เรื่องวัคซีน สามารถทำแบบทดสอบเกี่ยวกับประโยชน์ของวัคซีนและการปฏิบัติตัวก่อน - หลังได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ถูกต้อง

0.00
2 เพื่อให้ตัวแทนครัวเรือนมีทัศนคติที่เหมาะสมเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19

ร้อยละ 80 ของตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมให้ความรู้การป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19  สามารถทำแบบทดสอบเกี่ยวกับทัศนคติการป้องกันตนเองจากโรค โควิด-19 อยู่ในระดับเหมาะสม

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทักษะเกี่ยวกับการใช้ชุดตรวจโควิดด้วยตนเอง (Antigen Test Kit: ATK)

ร้อยละ 100 ของแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมสาธิตการใช้ชุดตรวจโควิดด้วยตนเอง (Antigen Test Kit: ATK) สามารถสาธิตย้อนกลับใช้ย้อนกลับการใช้ชุดตรวจโควิดด้วยตนเอง (Antigen Test Kit: ATK) ได้ถูกต้อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ขั้นตอนการได้มาซึ่งโครงการ(การทำประชาคม)

วันที่ กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ 20-26 ตุลาคม 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นที่หมู่ 4 บ้านโคกสักออก ตำบลโคกม่วง
อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 กลุ่ม 01/3
และกลุ่ม 01/4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตหาดใหญ่ 28 ตุลาคม 2564 การทำประชาคม นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 กลุ่ม 01/3
และกลุ่ม 01/4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตหาดใหญ่


๒. ขั้นตอนการรณรงค์เข้าร่วมโครงการ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564

วันที่ กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ 1 พฤศจิกายน 2564 ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านทางไลน์กลุ่มหมู่บ้าน นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 กลุ่ม 01/3 และกลุ่ม 01/4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตหาดใหญ่

๓. ขั้นตอนการดำเนินงาน วันที่ 3-4 พฤศจิกายน 2564

เวลา กิจกรรม 3 พฤศจิกายน 2564 ให้ความรู้เรื่องประโยชน์และการปฏิบัติตัวก่อนและหลังฉีดวัคซีน ให้ความรู้การ ป้องกันตนเอง ในรูปแบบวิดีโอและโปสเตอร์ ส่งผ่านทางไลน์กลุ่มหมู่ที่ 4 บ้านโคกสักออก
ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา 3 พฤศจิกายน 2564 ส่ง link google form แบบทดสอบเกี่ยวกับประโยชน์และการปฏิบัติตัวก่อนและหลังฉีดวัคซีน
และแบบทดสอบเกี่ยวกับทัศนคติการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 3 พฤศจิกายน 2564 มอบไวนิล โปสเตอร์ และคลิปเสียงตามสายให้แก่ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 บ้านโคกสักออก
ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา 4 พฤศจิกายน 2564 สอนการใช้ ATK แก่ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ศาลาประชาคม หมู่ที่ 4
บ้านโคกสักออก ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา 6-9 พฤศจิกายน2564 สรุปผลการดำเนินโครงการและปิดงบประมาณร่วมกับทีมผู้นำชุมชน จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ 11 พฤศจิกายน 2564 รายงานผลการดำเนินงานให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เทศบาลตำบลโคกม่วง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 บ้านโคกสักออก และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านโคกสักออก สามารถปฏิบัติตนในการดูแลตนเองและป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ได้
  2. อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน สามารถนำ Antigen test Kit ไปคัดกรองประชาชนและสอนประชาชนให้สามารถใช้ Antigen test Kit ได้ด้วยตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2564 10:53 น.