กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชืื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รหัสโครงการ 65-L3365-05-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลอ่างทอง
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 43,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจริญา บุญมี
พี่เลี้ยงโครงการ นางจริญา บุญมี
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)
25.00
2 ประชาชนขาดทรัพยากร ในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ ตัวไวรัส COVID-19 จะทำให้เกิดการไข้สูง จาม ไอ การอักเสบของปอดและเยื้อหุ้มปอดอย่างรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามอัตราการตายไม่ได้สูงมากนักเพียง 1-3% ร้ายแรงน้อยกว่า SAR ซึ่งมีอัตราการตาย 10 %ดังนั้น มาตรการการป้องกันไม่ให้ติดโรค COVID-19 นั้นถือว่าจำเป็น ด้วยการดำเนินมาตรการการรักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเพื่อมิให้ป่วย การป้องกันตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศหรือสถานที่มีคนพลุกล่าน การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกต้อง ทั้งด้วยแอลกอฮอล์ เจล สบู่ การสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีการ การไม่นำเอามือมาป้ายหรือ จับหน้า ความรู้และเข้าใจการดำเนินไปของโรค เป็นสิ่งสำคัญ รายงานจากศูนย์ข้อมูลโควิด-19 ถึงสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ประจำวันที่ 8 ตุลาคม 2564 ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 11,140 ราย รวมยอดผู้ป่วยสะสม 1,660,574 ราย รวมยอดผู้เสียชีวิตสะสม 116 ราย ซึ่งมีแหล่งแพร่ระบาดมาจากสถานบันเทิง และกระจายไปยังหลายจังหวัดในประเทศไทย ทำให้ยังคงพบผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกวัน ทั้งนี้สถานการณ์ในจังหวัดพัทลุง ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง ยอดรวมทั้งหมด จนถึง ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2564 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 213 ราย รวมยอดผู้ป่วยสะสม 5,958 ราย รวมยอดผู้เสียชีวิตสะสม 3 ราย จากสถานการณ์ข้างต้น เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโครานา 2019 (COVID-19) งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลอ่างทอง จึงต้องดำเนินการจัดทำ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ 2564 เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ เทศบาลตำบลอ่างทอง หน่วยบริการ สถานบริการหน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน บริการสาธารณะต่างๆ กรรมการหมู่บ้านในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของ เทศบาลตำบลอ่างทอง และได้มีการประสานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสถานกักตัวแบบพื้นที่ หรือ Local Quarantine : LQ เพื่อใช้ในการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงและเดินทางจากต่างจังหวัดที่มีความเสี่ยง เทศบาลตำบลอ่างทอง รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีการมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง และสนับสนุนทรัพยากรให้ประชาชนในพื้นไว้ป้องกันเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลอ่างทองมีความรู้ได้รับคำแนะนำ ในการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

60.00
2 เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 3 43,000.00
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 เฝ้าระวัง สอบสวน ควบคุม ตรวจเยี่ยมผู้ป่วยกักตัวกลุ่มเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019และจัดให้มีทรัพยากรให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน 0 0.00 43,000.00
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 ตรวจเยี่ยมตลาด สถานประกอบการ ร้านค้า 0 0.00 0.00
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 ประชาสัมพันธ์ในเว็บเทศบาล 0 0.00 0.00
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 รณรงค์ให้ความรู้ประชาชนในพื้นที่ 0 0.00 0.00
0 0.00 1 0.00

วิธีดำเนินงาน 1. ขั้นตอนวางแผนงาน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและ รูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลอ่างทอง 3.ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. รณรงค์เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ดำเนินการผลิตสื่อ ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูล สถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ 2. ให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
3. สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค  ของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข   4. การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 5 .ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ 6. สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
  2. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
  3. ประชาชนมีความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2564 08:55 น.