กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19) โรคไข้เลือดออก และโรคเลปโตสไปโรซิส
รหัสโครงการ 2565-L3311-02-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านไสนายขัน
วันที่อนุมัติ 29 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพรรณี นวลขาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.491,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่อ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโตได้รวดเร็วสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ(ไข้เลือดออก) โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ(อุจจาระร่วง) และโรคติดต่ออื่นๆ (เลปโตสไปโรซิส,มือ เท้า ปาก) ซึ่งประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรค ดังนั้นการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จะต้อง รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ สามารถควบคุมโรคและลดการแพร่กระจายของโรคได้ จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไสนายขัน ในปี พ.ศ.2563-2564 ซึ่งรับผิดชอบ จำนวน 3 หมู่บ้าน พบผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโรโรนา(COVID-19) สะสม 32 ราย เสียชีวิต 1 ราย ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงสะสม 170 ราย และจากการติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงและเดินทางมาจากต่างประเทศและต่างจังหวัด จำนวน 4 และ 947 ราย ตามลำดับ กอปรกับโรคติดต่อที่สำคัญและเป็นปัญหาในพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไสนายขัน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยในปี พ.ศ.2563 คือ โรคไข้เลือดออก พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดอออกและเกิดการระบาดในพื้นที่ จำนวน 8 ราย คิดเป็น อัตราป่วย 288.29 ต่อแสนประชากร ทั้งบริบทพื้นที่และอาชีพของประชากรในพื้นที่ ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคไข้เลือดออกและโรคเลปโตสไปโรซิส ดังนั้นจำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองแก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบ เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19) โรคไข้เลือดออก และเลปโตสไปโรซิส ให้ทันต่อเหตุการณ์เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง และการป้องกันโรคติดต่อต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19) โรคไข้เลือดออกและเลปโตสไปโรซิส

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19) โรคไข้เลือดออกและโรคเลปโตสไปโรซิส มากกว่าร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาดให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ให้มีศักยภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรค

ลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อลงได้

0.00
3 เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยและการเกิดโรคของผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน

อัตราการเจ็บป่วยและการเกิดโรคของผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชนลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.รวบรวมข้อมูล วางแผน ประสานงานอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) แกนนำชุมชน โรงเรียน เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายและจำนวนที่ต้องการ 2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลควนขนุน 3.ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.1ดำเนินการประชาสัมพันธ์ อบรม ให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19) โรคไข้เลือดออก และโรคเลปโตสไปโรซิส 3.2ดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19) โดยจัดหาวัสดุอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข 3.3ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ 3.4สรุปผลกาารดำเนินงานและรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้ 2.ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไสนายขัน ได้รับอุปกรณ์การป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อ 3.การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2564 14:57 น.