กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมโปรแกรมอาหารกลางวันสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองการศึกษาเทศบาลตำบลนาทับ
วันที่อนุมัติ 17 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,980.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภิรมย์เพชรรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ นายอุสมานหวังสนิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.035,100.7place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 27 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่จังหวัดสงขลา มีนโยบายให้ดำเนินการการจัดการระบบอาหารแบบบูรณาการในระดับท้องถิ่น เพื่อสร้างภาวะโภชนาการทุกวัยในระดับท้องถิ่น โดยการสร้างการเรียนรู้ สร้างรูปแบบการจัดการอาหารแบบมั่นคงและยั่งยืน ปลอดภัย โภชนาการสมวัย ประจำปี 2560นั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการในเด็กให้มีความสามารถในการรับรู้เรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ เต็มศักยภาพนั้น มีองค์ประกอบหลายด้านที่ช่วยสนับสนุน และสิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ อาหาร การได้รับสารอาหารที่สำคัญและมีความจำเป็นต่อร่างกายและสมองซึ่งจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มีพัฒนาการที่ดี ดังนั้นเทศบาลตำบลนาทับตำบลนาทับอำเภอจะนะจังหวัดสงขลา ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการจัดทำโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา จึงทำโครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนแบบครบวงจรขึ้นในโรงเรียน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครูบุคลากรทางการศึกษาผู้ประกอบการอาหารกลางวันและผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโภชนาการที่ดีและเหมาะสมกับพัฒนาการเด็กเล็ก

ร้อยละ80ของครูบุคลากรทางการศึกษาผู้ประกอบการอาหารกลางวันและผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโภชนาการที่ดีและเหมาะสมกับพัฒนาการเด็กเล็ก (โดยใช้แบบสอบถามหลังการจัดการอบรมให้ความรู้)

2 เพื่อให้ครูบุคลากรทางการศึกษาผู้ประกอบการอาหารกลางวันและผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโปรแกรมอาหารกลางวัน ( school lunch program) ที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

ร้อยละของครูบุคลากรทางการศึกษาผู้ประกอบการอาหารกลางวันและผู้เกี่ยวข้องได้เข้ารับความรู้จากการอบรม

3 เพื่อจัดทำรายการ(เมนู)อาหารกลางวันให้กับเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตลอดทั้งปี

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถจัดทำเมนูอาหารสำหรับเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ตลอดปีการศึกษา

4 เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนได้รับอาหาร กลางวันที่มีคุณภาพอย่างพียงพอและเหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย

1.เด็กได้รับการบันทึกน้ำหนักและส่วนสูงเป็นประจำทุกเดือน 2.ผลการเปลี่ยนแปลงด้านการเจริญเติมโตของเด็กทุกคนดีขึ้น 3.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจัดพื้นที่/ปลูกผักสวนครัวเพื่อนำมาใช้ในการทำอาหาร

5 เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษา สามารถจัดอาหารกลางวันได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

คุณภาพของอาหารที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจัดให้กับเด็ก

6 เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับข้อมูล/ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าทางอาหารของอาหารที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจัดให้เด็กในแต่ละวัน

การจัดทำเอกสารแผ่นพับให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับอาหาร/คุณค่าทางอาหารตามหลักโภชนาการที่เหมาะสมกับเด็ก

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมวางแผนการดำเนินงานและรายละเอียดต่างๆ 2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติเงินงบประมาณ 3.เสนอโครงการ 4.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่บุคลากรทางการศึกษา/ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ผู้ประกอบการอาหารประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
และผู้ที่เกี่ยวข้อง 5.สรุป/รายงานผลการจัดการอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ ๖.นำผลการจัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการตามขั้นตอนและกิจกรรมต่างๆ ๗.สรุปและรายงานผลการดำเนินการเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • บุคลากรทางการศึกษาครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กผู้ประกอบการอาหารกลางวันประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักโภชนาการและสามารถเขียนเมนูอาหารได้ถูกต้องตามหลักการการจัดทำโปรแกรมอาหารกลางวัน
  • ผู้ประกอบการอาหารกลางวันประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถประกอบอาหารได้อย่างถูกต้องตามหลักการอย่างมีคุณภาพ
  • เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับสารอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการ
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถดำเนินการตามโครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืนได้
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถเป็นต้นแบบให้แก่โรงเรียนอื่นๆได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2560 10:31 น.