กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมด้วย ช่วยกัน เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)
รหัสโครงการ 65-L7250-5-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
วันที่อนุมัติ 5 ตุลาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 1,089,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศรินทิพย์ มุณีสว่าง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6820 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก พบการระบาดในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งประเทศไทย มีพรหมแดนติดต่อกับประเทศมาเลเซีย พม่า ลาว และกัมพูชา และมีการเคลื่อนย้ายของประชากรเป็นจำนวนมาก องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าการแพร่ระบาดของเชื้อดังกล่าวเป็นภัยพิบัติฉุกเฉินระดับโลก ขณะเดียวกันประเทศไทยได้ประกาศให้โรคติดเชื้อ COVID-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย รายงานสถานการณ์จากทั่วโลก มีจำนวนผู้ติดเชื้อ 236,113,909 ราย เสียชีวิต 4,821,954 ราย สำหรับประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อ จำนวน 1,647,362 ราย เสียชีวิต 17,111 ราย (ข้อมูลจาก : รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 4 ตุลาคม ๒๕๖4) เทศบาลนครสงขลา พบผู้ติดเชื้อ จำนวน 2302 ราย เสียชีวิต 17 ราย (ข้อมูลจากงานป้องกันและควบคุมโรคฯเทศบาลนครสงขลา ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2564) ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อผู้คนและเศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ ซึ่งรัฐบาลได้ออกนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือ บรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางตรง ทั้งนี้ ยา ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง นับว่ามีความสำคัญ ต่อการรักษาและป้องกันโรคเป็นอย่างยิ่ง ในการนี้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงจำเป็นต้องดำเนินการคัดกรอง เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) การให้คำแนะนำและให้ความรู้แก่ประชาชน อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) เทศบาลนครสงขลา ได้ดำเนินการจัดตั้ง ศูนย์กักกันและสังเกตอาการกลุ่มเสี่ยง จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ(สโมสรเขาน้อย) จำนวน 20 เตียง และศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการกีฬา อบจ.สงขลา จำนวน 68 เตียง เพื่อรองรับในการกักกันและสังเกตอาการประชาชนกลุ่มเสี่ยงภายในเขตเทศบาลนครสงขลา
งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เทศบาลนครสงขลา จึงได้มีการจัดทำโครงการร่วมด้วย ช่วยกัน เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)
  1. สามารถลดอัตราป่วย ลง ร้อยละ 10 จากปี 2564
10.00
2 2. เพื่อกักตัวและสังเกตอาการของกลุ่มเสี่ยง ในศูนย์ LQ ของอำเภอเมือง
  1. กลุ่มเสี่ยงได้รับการกักตัว และ ปฏิบัติตามมาตรการ การป้องกันโรค ร้อยละ 90
90.00
3 3. เพื่อประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ คำแนะคำ ในการดูแลตนเอง
  1. ประชาชนภายในเขตเทศบาล มีความรู้ ความสามารถในการดูแล ตนเอง เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 19
                  (COVID-19)
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการ ดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา 3. ขั้นตอนการดำเนินงาน   3.1 กิจกรรมเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุม การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) - ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ แกประชาชน สถานประกอบการ ตลาด หน่วยงานต่างๆ ภายใน
      เขตเทศบาลนครสงขลา เกี่ยวกับมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
      D-M-H-T-T - ดำเนินการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ยาและเวชภัณฑ์ในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)
          ให้เพียงพอและพร้อมใช้งาน - ติดตามและประเมินสถานการณ์ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง ภายในเขตเทศบาลนครสงขลา - ติดตามเยี่ยมผู้ป่วย และส่งต่อเข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาล - ให้การช่วยเหลือ เยียวยา โดยมอบถุงยังชีพก่กลุ่มเสี่ยงที่กักตัวที่บ้าน - สนับสนุนอุปกรณ์ในการเฝ้าระวังโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ให้กับโรงเรียน, ชุมชน
          และหน่วยงานต่างๆ - ติดตามประเมินบ้าน ให้คำแนะนำกลุ่มเสี่ยง และส่งตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  ด้วยวิธี RT-PCR , ATK ณ โรงพยาบาลสงขลาและศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง   - ติดตามสถานการณ์ เพื่อวางแผนการดำเนินงานในการเฝ้าระวังโรค 3.2 กิจกรรมศูนย์กักกันและสังเกตอาการกลุ่มเสี่ยง   - ค้นหาคัดกรอง และติดตามกลุ่มเสี่ยงเพื่อเข้ารับการกักกันและสังเกตอาการ ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพ   ชีวิตผู้สูงอายุ (สโมสรเขาน้อย) และศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการกีฬา อบจ.สงขลา และสถานที่กักกัน   อื่นๆ ตามความเหมาะสม - จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ให้พร้อมใช้งาน เพื่อรองรับกลุ่มเสี่ยงที่เข้ารับการกักกัน
- ติดตามและประเมินอาการกลุ่มเสี่ยงใน Local Quarantine
- ติดตามกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เพื่อกักกันและสังเกตอาการ ณ State Quarantine - ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวแก่กลุ่มเสี่ยงที่เข้ารับการกักกัน - ดำเนินการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยวิธี RT-PCR


  - ดำเนินการส่งต่อกลุ่มเสี่ยงที่ผลการตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เข้ารับการรักษา     ในโรงพยาบาล   - ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.3 กิจกรรมเชิงรุกในการค้นหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แบบ RT-PCR - ติดตามกลุ่มเสี่ยงและผู้สัมผัสร่วมบ้าน เพื่อเข้ารับการตรวจหาเชื้อ ตามวันและเวลาที่กำหนด - บันทึกข้อมูลกลุ่มเสี่ยงเข้าระบบ และนัดวัน - เวลา เข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  (COVID-19) - จัดเตรียมสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ ในการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้พร้อม
  ปฏิบัติงาน - ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - ดำเนินการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทุกวัน จันทร์ พุธ ศุกร์ หรือวันอื่นๆ ตามแผน   ปฏิบัติงาน - ติดตามผล Lab การตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พร้อมติดตามผู้ป่วยเข้ารับการรักษา

3.4 กิจกรรมตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แบบ ATK - จัดทำแผนเชิงรุกในการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แบบ ATK - ดำเนินการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่เสี่ยง ตามแผนปฏิบัติงาน - ดำเนินการให้ความรู้ในการตรวจหาเชื้อแบบ ATK แก่ อสม. และประชาชนภายในเขตเทศบาล - ดำเนินการแจกจ่ายชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แบบ ATK ให้แก่ประชาชน
  กลุ่มเสี่ยง - ติดตามผลการตรวจของกลุ่มเสี่ยง กรณีผลพบเชื้อ ให้ตรวจยืนยันด้วยวิธี RT-PCR
4. สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ไม่เกิดการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ภายในเขตเทศบาลนครสงขลา
    1. สามารถลดการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)
    2. กลุ่มเสี่ยงปฏิบัติตัวตามมาตรการการป้องกันการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2564 10:41 น.