กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย


“ โครงการป้องกัน ควบคุม โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ปี 2565 ”

ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางปานิมาส รุยัน

ชื่อโครงการ โครงการป้องกัน ควบคุม โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ปี 2565

ที่อยู่ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2565-L3351-01-01 เลขที่ข้อตกลง 3/2565

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 17 พฤศจิกายน 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2565


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการป้องกัน ควบคุม โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ปี 2565 จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการป้องกัน ควบคุม โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ปี 2565



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการป้องกัน ควบคุม โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ปี 2565 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 2565-L3351-01-01 ระยะเวลาการดำเนินงาน 17 พฤศจิกายน 2564 - 31 กรกฎาคม 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 61,764.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมที่สะสมเป็นเวลาหลายปี แต่ละปีมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับโรคเรื้อรังดังกล่าว เนื่องจากมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นและมีผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น เช่น โรคหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนทางไต ตา ปลายประสาท และเท้า เป็นต้น พบว่าอัตราการเสียชีวิต และทุพพลภาพจะเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกันซึ่งโรคเรื้อรังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย คิดเป็นร้อยละ 74 ของสาเหตุการตายทั้งหมด จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย ปีงบประมาณ 2564 มีประชากรอายุ 35 ปี ทั้งหมด 1,307 คน ได้รับการคัดกรอง จำนวน 1,205 คน มีความครอบคลุมการคัดกรอง ร้อยละ 92.20 พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ร้อยละ 13.95 มีผู้ป่วยรายใหม่ 5 ราย (ร้อยละ 0.41) กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ร้อยละ 13.20 พบรายใหม่ 8 ราย (ร้อยละ 0.66) ทั้งนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย ได้ดำเนินการตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขมาอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของประชากรทั้งหมดที่รับผิดชอบ หรือผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุงแม้อายุไม่ครบ 35 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในปีงบประมาณ 2565 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย มีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1,282 คน ที่จำเป็นต้องได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องต้น การดำเนินงานดังกล่าวเป็นการทำงานเชิงรุก เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ให้ได้รับการวินิจฉัยและเข้าสู่ระบบการรักษาที่รวดเร็ว สำหรับกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในปีถัดไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย จึงจัดโครงการป้องกัน ควบคุม โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ปี 2565

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90
  2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทุกคน
  3. เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วย โรคความดันโลหิตสูงไม่เกินร้อยละ 7
  4. เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานไม่เกินร้อยละ 3

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. คัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  2. อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง
  3. ออกกำลังกายลดโดยการเต้นแอโรบิก
  4. ถอดบทเรียนและติดตามระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,282
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90
  • กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 100
  • กลุ่มเสี่ยงมีน้ำหนัก รอบเอว อยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 50
  • ลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูงไม่เกิน ร้อยละ 7
  • ลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานไม่เกิน ร้อยละ 3

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. คัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

วันที่ 20 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • ประชาสัมพันธ์
  • ตรวจคัดกรอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการตรวจคัดกรองประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปี ขึ้นไป จำนวน 1,154 คน จาหกประชากรทั้งหมด 1282 คน คิดเป็นร้อยละ 90.01 แบ่งเป็นกลุ่มปกติ ร้อยละ 70.02 กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 20.80 กลุ่มสงสัยป่วย ร้อยละ 9.18 และในปี 2565 มีผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 0.34 จากประชากรที่ได้รับการคัดกรองทั้งหมด

 

0 0

2. ออกกำลังกายลดโดยการเต้นแอโรบิก

วันที่ 1 มกราคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

  • ออกกำลังกาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • กลุ่มเสี่ยงและประชาชนที่สนใจมาออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิกร่วมกัน ณ รพ.สต.บ้านโคกชะงาย  ศาลาเอนกประสงค์ ศพด.โคกชะงาย

 

0 0

3. อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง

วันที่ 21 มกราคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

  • อบรมให้ความรู้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทุกคน

 

0 0

4. ถอดบทเรียนและติดตามระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ

วันที่ 16 มิถุนายน 2565

กิจกรรมที่ทำ

  • กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงตรวจวัดความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดครั้งที่ 2

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • กลุ่มเสี่ยงเป็นผู้ป่วยรายใหม่ความดันโลหิตสูง จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 0.4 เป็นผุ้ป่วยรายใหม่เบาหวาน  จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ  0.86 ของกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปี ขึ้นไปทั้งหมด
  • กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฟติกรรมเสี่ยง จำนวน 100 คน ของกลุ่มประชากรที่ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งใน 100 คน มีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 39 คน เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 61 คน

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายจัดโครงการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปี 2565 เป็นการป้องกันคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปในหมูที่ 2 3 4 5 6 8
  • ลักษณะกิจกรม คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานโดยการเจาะ DTX อบรมกลุ่มเสี่ยงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและติดตามกลุ่มเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  • ผลการดำเนินงาน ในปี 2565 ประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป ทั้งหมด 1282 บาท ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 1154 คน ซึ่งแบ่งกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง เป็น 3 กลุ่ม คือ ปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วย สำหรับกลุ่มส่งพบแพทย์ คือ ผู้ป่วยสงสัยป่วยเมื่อติดตามแล้วระดับความดันโลหิตสูงยังเกินค่ามาตรฐานจึงส่งพบแพทย์ในเครือข่าย รพ.พัทลุง และแพทย์วินิจฉัยเป็นผู้ป่วยรายใหม่

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90
ตัวชี้วัด : ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงร้อยละ 90
90.00 1154.00 1,154.00

ร้อยละ 100

2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทุกคน
ตัวชี้วัด : กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทุกคน
100.00 100.00 100.00

 

3 เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วย โรคความดันโลหิตสูงไม่เกินร้อยละ 7
ตัวชี้วัด : ลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วย โรคความดันโลหิตสูงไม่เกินร้อยละ 7
7.00 89.00 7.00

ร้อยละ 80.78

4 เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานไม่เกินร้อยละ 3
ตัวชี้วัด : ลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานไม่เกินร้อยละ 3
3.00 38.00 3.00

ร้อยละ 34.62

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1282
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,282 1,154
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90 (2) เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทุกคน (3) เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วย โรคความดันโลหิตสูงไม่เกินร้อยละ 7 (4) เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานไม่เกินร้อยละ 3

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) คัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (2) อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง (3) ออกกำลังกายลดโดยการเต้นแอโรบิก (4) ถอดบทเรียนและติดตามระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการป้องกัน ควบคุม โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ปี 2565 จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2565-L3351-01-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางปานิมาส รุยัน )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด