กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(Covid-19) ตำบลพญาขัน
รหัสโครงการ 65-L3359-5-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลพญาขัน
วันที่อนุมัติ 10 พฤศจิกายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤศจิกายน 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เทศบาลตำบลพญาขัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพญาขัน อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.652,100.107place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19) ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เนื่องจากมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ๆในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการตรวจรักษาเข้าสู่ภาวะวิกฤตในการให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็น บุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษา มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศไทย ดังนั้นเพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไปและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงใน 7 กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจึงต้องกำหนดมาตรการควบคุมป้องกัน ตามหลัก New Normal และ DMHTT อย่างเข้มงวดเพียงพอต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ จากรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด19) ระลอกเมษายน 2564 ข้อมูล ณ วันที่ 8 พ.ย.64 เวลา 14.30น. จังหวัดพัทลุง มีจำนวนผู้ติดเชื้อ สะสม 10,882 ราย อำเภอที่พบผู้ติดเชื้อสะสมสูงสุด เรียงตามลำดับ คือ  อ.กงหรา 2,477 ราย/อ.ปากพะยูน 1,424 ราย/อ.เมืองพัทลุง 1,323 ราย สำหรับตำบลพญาขัน พบผู้ติดเชื้อสะสม 48 ราย จัดเป็นพื้นที่สีส้ม ซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เทศบาลตำบลพญาขันและหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ได้เล็งเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองขั้นต้นด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK.) ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาและรักษาผู้ป่วยได้อย่างคลอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งการใช้ ATK.ในการคัดกรองเป็นที่ยอมรับว่าให้ผลดีและรวดเร็ว โดยดำเนินการตามมาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดแนวทางในการตรวจและควบคุมโรคนี้
ในการนี้รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและองค์การเภสัชกรรมร่วมกันจัดหาชุด ATK. เพื่อให้หน่วยงานสาธารณสุขนำไปให้ประชาชนในการตรวจคัดกรองตนเองและตรวจเชิงรุกเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่ยังอยู่ในช่วงการจัดหาและจัดระบบการกระจายซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาอีกพอสมควร ซึ่งอาจไม่ทันต่อการระงับยับยั้งตามสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ ตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีหน้าที่ในการป้องกันและควบคุมและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับหนังสือซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด 19) ที่ มท.0808.2/ว4116 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เทศบาลตำบลพญาขันจึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ตำบลพญาขัน ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในชุมชน

จำนวนผู้ติดเชื้อในชุมชน

0.00
2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแล ป้องกัน คนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19  ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง (จนท.เทศบาล รพ.สต. อสม. และแกนนำชุมชน) เพื่อวางแผนการทำงาน การกำหนดมาตรการป้องกันควบคุมโรค เพื่อนำไปดำเนินการในพื้นที่รับผิดชอบ
  2. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการตรวจคัดกรอง

- ขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง - ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบฯ 3. จัดบริการตรวจคัดกรองแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง     - จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย     - จัดเตรียมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์
    - ให้บริการตรวจคัดกรอง
  4.  สรุปผลการตรวจคัดกรองและรายงานต่อนายกเทศมนตรี

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK. ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้ ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนำโรคระบาดในชุมชน
  2. ชุมชนปลอดโรค ไม่มีการระบาดเพิ่มในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2564 10:44 น.