กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหญิงไทยใส่ใจมะเร็ง
รหัสโครงการ 60-L3332-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียน
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียน
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.435,100.197place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตาย จากโรคมะเร็งของสตรีในประเทศไทยเป็นอันดับต้นๆ จากข้อมูลสถิติสาธารณสุขปี พ.ศ. 2546 (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ,2548) พบว่าอันตรายจากโรคมะเร็งของประชากรไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น และโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ตามลำดับ โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูก พบมากถึง 3 คนในประชากรหนึ่งแสนคน แต่ละปีพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ประมาณ 4,500 ราย ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 30-50 ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear หากทำทุก 2 ปี สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามได้ 92% ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวกราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smearส่วนมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องทำการค้นหามะเร็งเต้านมในระยะที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการตัดก้อนมะเร็งออก ในทางตรงกันข้าม หากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียนตระหนักถึงปัญหาและเล็งเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเนื่องจากสามารถรักษาได้ หากตรวจพบในระยะแรกจึงได้จัดทำโครงการหญิงไทยใส่ใจมะเร็งขึ้น โดยดึงพลังแกนนำ ของประชาชนทุกภาคส่วนเช่น อสม. กลุ่มสตรี แกนนำสาธารณสุขประจำครอบครัว มาร่วมดำเนินงานโดยมุ่งหวังความสำเร็จให้สุขภาพของประชาชน พ้นจากโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายตามกลุ่มอายุ 30 ถึง 60 ปี ในพื้นที่ หมู่ที่ 6,8 และหมู่ที่ 13 ตำบลนาปะขอ ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก/เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 และตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมร้อยละ 90

 

2 เพื่อให้ อสม. กลุ่มสตรี แกนนำสาธารณสุขประจำครอบครัว มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม สามารถถ่ายทอดความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบได้ถูกต้อง

 

3 เพื่อค้นหากลุ่มป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก ระยะก่อนเป็นมะเร็งโดยมีการส่งต่อเพื่อวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสม ทันเวลาแบบครบวงจร

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชาสัมพันธ์โครงการ 2.สำรวจ ทำทะเบียนกลุ่มสตรีอายุ 30-60 ปี 3.จัดเตรียมเอกสารต่างๆ 4.นัดกลุ่มเป้าหมายมาร่วมกิจกรรมอบรม
5.ดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายที่ไม่เคยรับการตรวจในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมาและส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลบางแก้ว 6.ประเมินผลการดำเนินงานโดย -แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรม -ทะเบียนการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก 7.สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สตรีกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีอายุ 30-60 ปี ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสถานบริการร้อยละ 25 (110 คน) 2.สตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 30-60 ปีที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกและพบภาวะผิดปกติทุกชนิด ได้รับการรักษาโดยแพทย์ทุกคน 3.อสม.และแกนนำครอบครัวมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก สามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับให้กลุ่มเป้าหมายและสามารถนำกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ 90 มะเร็งปากมดลูกได้ครบตามเกณฑ์ 4.ลดอัตราป่วย/ตาย โรคมะเร็งปากมดลูก/โรคมะเร็งเต้านม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2560 14:30 น.