กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยติดเตียง เพื่อนำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมเบาหวาน รพ.สต.บ้านโล๊ะจังกระ
วันที่อนุมัติ 7 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 กันยายน 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุณีย์ศรีเทพ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วยในปัจจุบัน การเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในหลายๆโรคจะปรับเปลี่ยนไปตามภาวะเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมของประชาชนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีชีวิต และโรคที่มีการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอาทิเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจหลอดเลือด เป็นต้น ซึ่งต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิตและมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจนเกิดความพิการได้ถ้าไม่ได้รับการรักษา หรือขาดการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องนอกจากนี้ ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ ๒๐ ของประชากรทั้งหมด ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีความเปราะบางด้านสุขภาพกาย การจัดระบบการดูแลเพื่อให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ (Active Aging) มีความรู้ความสามารถและความมั่นคงในชีวิต ที่ผ่านมาทำได้ในระยะสั้น อีกทั้งผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ซึ่งปัญหาดังกล่าวทั้งในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุและผู้พิการ มักส่งผลกระทบต่อทั้งญาติผู้ดูแลและผู้ป่วย ในบางรายญาติไม่มีเวลาพอที่จะมาดูแล หรือบางรายก็ขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ หวังพึ่งพิงจากบุคลากรสาธารณสุขเพียงอย่างเดียว แต่บุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ และยังขาดการติดตามดูแลที่บ้านอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อทำให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงหลักประกันสุขภาพโดยไม่มีขีดจำกัดด้านเศรษฐกิจก่อให้เกิดผลดีต่อประชาชนการมีสุขภาพดีเป็นต้นทุนของทุกคนดังนั้นจึงควรทำให้มีสุขภาพดีตลอดการสร้างนำซ่อมหรือที่เรียกว่าการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญแต่ปัจจุบันอัตราการรักษาพยาบาลสูงขึ้นค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มมากขึ้นแต่ผลตอบแทนด้านสุขภาพน้อยเห็นได้จากอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้หรือโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการปฏิบัติตนยังมีอัตราที่สูงเช่นเบาหวานความดันโลหิตสูง ฯลฯ ตำบลคลองเฉลิม พบว่าปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ได้แก่อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ไตวาย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง ยังเป็นปัญหาของชุมชนจาการสำรวจข้อมูลปี ๒๕๕๘ เขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะจังกระ มีผู้ป่วยโรคเบาหวานระดับ ๓ ถึงขั้นมีโรคแทรกซ้อน (หัวใจ หลอดเลือด สมอง ไต ตา เท้า) จำนวน ๑๐คนผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงระดับ ๓ ถึงขั้นมีโรคแทรกซ้อน (หัวใจ หลอดเลือด สมอง ไต ตา เท้า จำนวน ๑๕คน ผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องดูแล จำนวน ๑๔คน ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง จำนวน ๒ คนอนึ่งผู้ป่วยและ ประชาชนในชุมชน ตลอดจนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย และเข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด อีกทั้ง อสม.เป็นเครือข่ายสุขภาพในระดับชุนชน ที่มีความรู้และมีศักยภาพในการปฏิบัติงาน มีบทบาทหน้าที่กระจายความรู้ทางด้านสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ความสามารถในการป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย หรือเมื่อมีการเจ็บป่วยก็สามารถรักษาเบื้องต้น ป้องกันและฟื้นฟูสภาพไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือความพิการได้ เพื่อเป็นการตอบสนองแผนกปฏิบัติการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคลองเฉลิม การแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ และตามนโยบายการบริหารงานกระทรวงสาธารณสุข ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค เพื่อเร่งรัดมาตรการสร้างสุขภาพ และการจัดให้มีการดูแลกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ การสร้างองค์ความรู้และมีเครือข่ายสุขภาพระดับชุมชนมีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างมากในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวให้ประสบผลสำเร็จ ชมรมเบาหวาน สังกัดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะจังกระ จึงต้องมีการดูแลสุขภาพที่บ้านแบบบูรณาการให้คำแนะนำ และความรู้แก่ญาติและผู้ป่วยที่บ้านจะก่อให้เกิดผลแบบองค์รวมทั้งกาย จิต
-๒-/สังคม... สังคม และยังมีผลต่อกลุ่มเป้าหมาย ให้เข้าใจและสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลงได้ด้วย และเพื่อให้ อสม. มีองค์ความรู้และทักษะการเยี่ยมบ้านที่ได้มาตรฐาน ครอบคลุมและต่อเนื่อง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ได้รับการดูแลสุขภาพ การเฝ้าระวังป้องกันภาวะแทรกซ้อน ลดความพิการซ้ำซ้อน อยู่อย่างมีคุณภาพ และส่งผลให้ประชาชนในชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้โรคป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ได้รับการตรวจสุขภาพ การเฝ้าระวัง ป้องกัน ภาวะแทรกซ้อน ลดความพิการซ้ำซ้อน

ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้รับการตรวจสุขภาพ ครบทุกคน

2 เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. ให้มีความรู้และทักษะการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติด เตียง แบบผสมผสาน

อสม. สามารถดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้อย่างถูกต้อง

3 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ที่ติดเตียง หรือปัญหาเร่งด่วน ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน และการฟื้นฟูสภาพ

ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้รับการเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูสภาพครบทุกคน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และประธาน อสม.ทุกหมู่บ้าน
๒. เปิดรับสมัครผู้สนใจผู้มีจิตอาสาในการดูแลผู้ป่วย
๓. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆในการดำเนินงาน ๔. ดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานเชิงรุก รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล และจัดกลุ่มเป้าหมายเพื่อการเยี่ยมบ้าน ๕. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสม.และผู้ดูแลผู้ป่วย ออกติดตามเยี่ยมบ้าน สำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ที่ติดเตียง (หลักเกณฑ์ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ช่วยเหลือได้น้อย และผู้ป่วยระยะสุดท้าย) หรือผู้ที่มีปัญหาเร่งด่วน พร้อมลงบันทึกในแบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน กรณีที่พบปัญหาและเกินขีดความสามารถ ประสาน ปรึกษา ทีมแม่ข่าย โรงพยาบาลกงหรา และส่งต่อตามระบบ ๖. ออกติดตามเยี่ยม ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ที่บ้าน โดยทีมเยี่ยมบ้านของชมรมเบาหวาน ร่วมคณะทำงานจิตอาสา พร้อมลงบันทึกในแบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน กรณีรายที่มีปัญหา ประสานและปรึกษากับเจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยมีรายละเอียดกิจกรรมดังนี้ ๖.๑ กิจกรรมค้นหาปัญหาสุขภาวะของผู้ป่วย -๓-/๖.๒ กิจกรรม... ๖.๒ กิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย และ ประเมิน แก้ไขความพิการ ๖.๓ กิจกรรมบริการฟื้นฟูสมรรถภาพป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น มีบริการกายภาคบำบัด การฝึกสอนญาติ ผู้ดูแล และการอาชีวะบำบัด ๖.๔ จัดระบบรับส่งต่อผู้ป่วยที่มีความจำเป็น ๖.๕ จัดระบบการติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ๗. นิเทศติดตามงานโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อให้การปรึกษาแนะนำ ช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการพัฒนาทีมงานให้เกิดความเข้มแข็งโดยการออกติดตามเป็นรายหมู่บ้านพร้อมการประเมินผลเป็นระยะ ๘. จัดประชุมติดตามทีมเยี่ยมบ้าน เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน ร่วมระดมสมองและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การแก้ไขปัญหา อุปสรรค ๙. สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ผู้โรคป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ได้รับการตรวจสุขภาพ การเฝ้าระวัง ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ลดความพิการซ้ำซ้อน ๒. ทีมเยี่ยมบ้านมีความรู้และทักษะการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง แบบผสมผสาน ๓. ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ที่ติดเตียง หรือปัญหาเร่งด่วน ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน และการฟื้นฟูสภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2560 14:55 น.