กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและป้องกันอุบัติเหตุทางถนน
รหัสโครงการ 2560-L3306-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 5 บ้านคลองเฉลิม
วันที่อนุมัติ 7 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 กันยายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 3,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจำลองอินนุรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดจากการจราจรทางถนนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างและปัญหาเชิงระบบที่เกิดขึ้นบ่อยๆซ้ำๆสถานการณ์ปัญหาในปี พ.ศ.2554 พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน จากข้อมูลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 9,910 ราย จากข้อมูลใบมรณะบัตรและหนังสือรับรองการตายของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 14,033 รายและมีผู้บาดเจ็บนอนโรงพยาบาล จำนวน 104,725 ราย (113,862 รายในปี 2553 และ 113,048 รายในปี 2552 มูลค่าความสูญเสียในปี 2553 เท่ากับ 254,953 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.36 ของ GDP ในส่วนอุบัติการณ์อุบัติเหตุทางถนน ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะจังกระ ในปี 2560 เกิดอุบัติเหตุทางถนน จำนวน 12 เหตุการณ์ ส่วนใหญ่เป็นรถจักรยานยนต์ โดย พบผู้เสียชีวิต จำนวน 1 ราย พิการ 1 ราย และบาดเจ็บไม่ถึงทุพลภาพ จำนวน 12 ราย โดยเกิดจากความประมาท การไม่สวมหมวกนิรภัย มีพฤติกรรมขับรถเร็ว และมีจุดเสี่ยงจำนวน 14 จุด ได้แก่ ทางแยก ทางโค้ง ข้างทางถนนมีลักษณะแสงสว่างไม่เพียงพอ ถนนแคบ และถนนหน้าตลาดนัด ด้วยแหตุนี้ ผู้นำชุมชน และผู้นำท้องถิ่น จึงเห็นความสำคัญในการเน้นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบาย แผนงาน และยุทธศาสตร์ระดับชาติด้านการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน โดยดำเนินการในเรื่องของปัจจัยเสี่ยงสำคัญ 3 ประเด็น ได้แก่ การสวมหมวกนิรภัย การเมาแล้วขับ การขับรถเร็วและการใช้เข็มขัดนิรภัย โดยการให้ความรู้และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในช่วงเทศกาลสำคัญต่างๆ ได้แก่ เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ และวันเข้าพรรษา เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมสวมหมวกนิรภัย มีความรู้ ทักษะในการขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนนที่ถูกต้อง และลดอุบัติเหตุทางถนน ลดความสูญเสียทางร่างกายและทรัพย์สินต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีพฤติกรรมสวมหมวกนิรภัย

ประชาชนมีพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 80

2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ทักษะในการขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนนที่ถูกต้อง

ประชาชนมีความรู้ ทักษะในการขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20

3 เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน ลดความสูญเสียทางร่างกายและทรัพย์สิน

อัตราการเกิดอุบัติเหตุในประชาชนลดลง ร้อยละ 20 (เปรียบเทียบกับปี 2559)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 4,300.00 1 3,300.00
30 ก.ย. 60 อบรมให้ความรู้ 0 4,300.00 3,300.00

1.ประชุมแต่งตั้งคณะทำงานป้องกันอุบัติเหตุระดับหมู่บ้าน 2.เฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ 3.รณรงค์ให้ประชาชนมีการใส่หมวกนิรภัย 100% 4.อบรมให้ความรู้ และทักษะในการขับขี่ที่ปลอดภัย 5.จัดทำระบบความปลอดภัยทางถนนในชุมชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีพฤติกรรมสวมหมวกนิรภัย 2.ประชาชนมีความรู้ ทักษะในการขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนนที่ถูกต้อง 3.ลดความสูญเสียทางร่างกายและทรัพย์สิน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2560 14:59 น.