กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีร่วมใจสู้ภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 2560-L3306-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจังกระ
วันที่อนุมัติ 7 กันยายน 2017
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 กันยายน 2017 - 29 กันยายน 2017
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพงษ์ศักดิ์เผือกสม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอันดับหนึ่งในสตรี ถึง ๓ คนต่อแสนประชากรหญิงในแต่ละปีมีผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ประมาณ ๔,๕๐๐ ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ ๓๐ - ๕๐ ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear และหากท้าทุก ๒ ปี สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามได้ ๙๒ % ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจ้านวนมากไม่ เห็นความสำคัญ มีทัศนคติ ที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ ผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจ้าเป็นและสำคัญที่ต้องท้าการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษา ให้หายขาดได้และการรักษาอาจท้าได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จ้าเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทาง ตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยัง อวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สถานการณ์การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ - ๖๐ ในเขตพื้นที่ รพ.สต.บ้านโล๊ะจังกระ พบว่ากลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปี ๒๕๕๕-๒๕๕9 ร้อยละ ๖๓ ไม่พบผู้ที่มีเซลล์ผิดปกติ และกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓0 - 70ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านม ร้อยละ ๙๐ แต่ พบผู้ที่มีความผิดปกติ5 ราย ได้รับการผ่าตัด 2 ราย ไม่พบว่าเป็นเซลล์มะเร็งเลย จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า กลุ่มคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ยังไม่เข้ารับการตรวจฯจะเป็นกลุ่มที่ยากต่อการติดตามเข้ารับบริการ และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองที่พบความผิดปกติค่อนข้างน้อย อาจเกิดจากการตรวจที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองที่มีความซับซ้อนไม่เข้าใจ พร้อมทั้งกลุ่มเป้าหมายและอสม. ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
ดังนั้น รพ.สต.บ้านโล๊ะจังงกระ จึงได้จัดทำโครงการสตรีร่วมใจสู้ภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกปีงบประมาณ ๒๕60 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแบบยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 อสม. มีความรู้และมีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง เป้าหมาย : อสม จำนวน 68 คน

คัดกรองมะเร็งเต้านม มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 90

2 ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตามมาตรฐาน อย่างมีคุณภาพ เป้าหมาย : สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 - 60 ปี จำนวน 50 คน

คัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 20 ต่อปีหรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ในรอบการประเมิน (2558-2560)

3 ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลด้วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกได้ตามมาตรฐาน เป้าหมาย : สตรีเป้าหมายอายุ 30 - 70 ปี มะเร็งเต้านมที่พบตรวจด้วยตนเองผิดปกติก จำนวน 40 ราย

กลุ่มเป้าหมายพบผิดปกติได้รับการส่งต่อรักษา ร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงนโยบาย 2.สำรวจข้อมูลสตรีอายุ 30 - 70 ปี 3.เขียนโครงการเสนอเพื่ออนุมัติ 4.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 4.1ประชุมเชิงปฏิบัติการแก่ อสม. ชี้แจงขั้นตอนการดำเนินงานและฟื้นฟูทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง จำนวน 3 หมู่ จำนวน 68 คน 4.2ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกและการรณรงค์ตรวจค้นหามะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และมะเร็งปากมดลูกในชุมชน จำนวน 3 หมู่บ้าน โดยผ่านสื่อเสียงตามสาย แผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์ 4.3รณรงค์ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม -ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในสตรีอายุ 30 - 60 ปี ทั้งในสถานบริการและหน่วยเคลื่อนที่ในชุมชนตามความเหมาะสม -ส่งต่อผู้ได้รับการคัดกรองพบผิดปกติ โรงพยาบาลกงหรา 5.สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค รายงานผลการณรงค์ตรวจคัดกรอง 6.ประชุม อสม. และคณะุทำงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียนที่ได้จากการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สตรีได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมอย่างถูกวิธี มีการป้องกันแก้ไข ส่งต่อการรักษาได้ทันท่วงที และดูแลการเจ็บป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้อย่างถูกวิธี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2017 15:52 น.