กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อ
รหัสโครงการ 2560-L3306-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 9 บ้านโหล๊ะจังกระ
วันที่อนุมัติ 7 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 กันยายน 2560 - 12 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,580.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิทวัสศักดิ์แสง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 84 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือที่เราเรียกย่อ ๆ ว่า อสม. นั้น เป็นรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยผ่านกระบวนการอบรมให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และการปฏิบัติงานด้วยความเสียสละต่อประชาชนในหมู่บ้าน กระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐เป็นต้นมา อสม. จึงเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามลำดับจนครอบคลุมหมู่บ้านในชนบทและชุมชนเมืองทั่วประเทศมีกว่า 9 แสน 8 หมื่นคน (วิทยา แก้วภาราดัย, ๒๕๕๒)ถึงแม้พลังของอสม.อาจจะดูเล็กน้อยดั่งเม็ดกรวดเม็ดทรายเมื่อยามกระจายอยู่ตามหมู่บ้านและชุมชนต่าง ๆ แต่เมื่อมีการรวมตัวเป็นกลุ่มเป็นชมรมฯ พลังเหล่านี้ก็มีความมั่นคงดั่งภูผา พร้อมที่จะต่อสู้และก้าวนำไปสู่การพัฒนาด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน และควบคุม ตลอดจนเป็นผู้นำในการสร้างสุขภาพให้แก่ชาวบ้านในชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถจัดระบบสุขภาพชุมชนได้อย่างเหมาะสมด้วยตัวชุมชนเอง ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เช่น อบต. รพ.สต. เป็นต้น ซึ่งบทบาทของการเป็นผู้นำการจัดการสุขภาพภาคประชนของอสม.ต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้ ก้าวไกล และรู้ทันการแพร่ระบาดของโรคยุคสมัยใหม่ ต้องมีการเรียนรู้การทำงานของเครือข่ายที่สามารถนำมาเป็นแบบอย่างได้โดยเขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านโล๊ะจังกระ มีอสม.รวม ๖8 คน สามารถครอบคลุมการทำงาน ในพื้นที่ ๓ หมู่บ้านคือ หมู่ที่ ๕ , ๙ และ๑๐ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุงซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา อสม. ได้ให้ความร่วมมือและมีบทบาทในด้านการสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค ให้กับชุมชนเป็นอย่างดี ซึ่งในการดำเนินงานดังกล่าว จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมด้านวิชาการ อย่างสม่ำเสมอรวมถึงการศึกษาดูงานต่างชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบการดำรงชีวิตและปัญหาสุขภาพของแต่ละชุมชนให้กับอสม.และผู้นำชุมชน สามารถนำสิ่งที่ได้รับมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในชุมชนตนเองได้ รพ.สต.บ้านโล๊ะจังกระ เล็งเห็นความสำคัญการพัฒนาศักยภาพอสม.ให้มีความรู้ก้าวไกลและรู้ทันการแพร่ระบาดของโรคยุคสมัยใหม่ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านประจำปี ๒๕60 ขึ้น เพื่อส่งเสริมด้านองค์ความรู้และหาประสบการณ์ให้กับอสม.สามารถนำมาพัฒนางานสาธารณสุขในชุมชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมด้านกิจกรรมแก่ อสม. ให้มีความสามัคคีและมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน

. มีความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมในกิจกรรม ร้อยละ90

2 เพื่อพัฒนาศักยภาพในด้านการดำเนินงานสาธารณสุขในชุมชนภายใต้สโลแกนมีความรู้ ก้าวไกล และรู้ทันการแพร่ระบาดของโรคยุคสมัยใหม่

มีความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมในกิจกรรม ร้อยละ90

3 เพื่อหาแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบการดำรงชีวิตและปัญหาสุขภาพของแต่ละชุมชนและ สามารถนำสิ่งที่ได้รับมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานในชุมชนตนเองได้

มีความรู้ความเข้าใจในต่อกระบวนการพัฒนางานด้านสุขภาพภาคประชาชน ร้อยละ80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมคณะทำงาน 2. ร่างและเสนอโครงการ 3. เสนอโครงการต่อผู้บังคับบัญชา 4. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง อสม. และผู้นำชุมชน ๓ ชุมชน 5. เชิญวิทยากร จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร สื่อ 6. ประชาสัมพันธ์โครงการ 7. จัดอบรม อสม. และลงพื้นที่คัดกรองผู้ป่วยเรื้อรัง 8.ประชุมสรุป 9. ติดตามและรายงานผลต่อผู้บริหาร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มเป้าหมายสามารถนำสิ่งที่ได้รับมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานในพื้นที่ได้ ๒. กลุ่มเป้าหมายมีความกระตือรือร้นต่อการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขมากขึ้น ๓. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ก้าวไกล รู้ทันการแพร่ระบาดของโรคยุคสมัยใหม่และการทำงานเชิงรุกมากขึ้น
4.รองรับแผนการทำงาน สนองยุทธศาสตร์สร้างนำซ่อมเพื่อเป็นหมู่บ้านจัดการสุขภาพได้ด้วยตัว ชุมชนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2560 09:37 น.