กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค สู่ รพ.สต.ควบคุมโรคเข้มแข็ง
รหัสโครงการ 2560-L3306-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 9 บ้านโหล๊ะจังกระ
วันที่อนุมัติ 7 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2560 - 12 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,490.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิทวัส ศักดิ์แสง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ได้กลับมาเป็นโรคติดต่อที่อันตรายและมีความรุนแรงมาก มีผลกระทบต่อมวลมนุษย์ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง โรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ในจังหวัดพัทลุง ๕ อันดับโรคแรก ได้แก่ อันดับที่ ๑ โรคอุจจาระร่วง พบผู้ป่วยจำนวน 4,705 ราย (คิดเป็น 900.๙4 ต่อแสนประชากร)โรคปอดบวม พบผู้ป่วยจำนวน 742 ราย (คิดเป็น 142.08 ต่อแสนประชากร)อันดับที่ ๓ โรคตาแดง พบผู้ป่วยจำนวน 621 ราย (คิดเป็น 118.91 ต่อแสนประชากร) อันดับที่ ๔ โรคสุกใส พบผู้ป่วยจำนวน 257 ราย (คิดเป็น 49.21 ต่อแสนประชากร)และอันดับที่ ๕ โรคไข้เลือดออก พบผู้ป่วยจำนวน 166 ราย (คิดเป็น 31.79 ต่อแสนประชากร)สอดคล้องของอำเภอกงหรา พบโรคติดต่อที่เป็นปัญหา ๕ อันดับโรคแรก ได้แก่ อันดับที่ ๑ โรคอุจจาระร่วง พบผู้ป่วยจำนวน 856 ราย (คิดเป็น 2,497.96 ต่อแสนประชากร)อันดับที่ ๒ โรคตาแดง พบผู้ป่วยจำนวน 200 ราย (คิดเป็น 583.63 ต่อแสนประชากร) อันดับที่ ๓ โรคปอดบวม พบผู้ป่วยจำนวน 129 ราย (คิดเป็น 374.44 ต่อแสนประชากร) อันดับที่ ๔ โรคไข้หวัดใหญ่ พบผู้ป่วยจำนวน 58 ราย (คิดเป็น 169.25 ต่อแสนประชากร) และอันดับที่ ๕ โรคไข้เลือดออก พบผู้ป่วยจำนวน ๒2 ราย (คิดเป็น 64.35 ต่อแสนประชากร)และสอดคล้องกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะจังกระ ซึ่งรับผิดชอบ ๓ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๕ ๙ และหมู่ที่ ๑๐ ตำบลคลองเฉลิมปีที่ผ่านมาโรคติดต่อที่เป็นปัญหา ๖ อันดับโรคแรก ได้แก่ อันดับที่ ๑ โรคอุจจาระร่วง พบผู้ป่วยจำนวน 24 ราย (คิดเป็น 828.16 ต่อแสนประชากร) อันดับที่ ๒ โรคตาแดง พบผู้ป่วยจำนวน 4 ราย (คิดเป็น 138.03 ต่อแสนประชากร) อันดับที่ ๓ โรคไข้เลือดออก พบผู้ป่วยจำนวน 4 ราย (คิดเป็น 138.03 ต่อแสนประชากร) อันดับที่ ๔ โรคไข้หวัดใหญ่ พบผู้ป่วยจำนวน 3 ราย (คิดเป็น 103.52 ต่อแสนประชากร) อันดับที่ ๕ โรคปอดบวม พบผู้ป่วยจำนวน 2 ราย (คิดเป็น 69.01 ต่อแสนประชากร) อันดับที่ ๖ โรคมือเท้าปาก พบผู้ป่วยจำนวน 2 ราย (คิดเป็น 69.01 ต่อแสนประชากร) ซึ่งปัญหาสาธารณสุขระดับพื้นที่เมื่อเปรียบเทียบระดับจังหวัด และอำเภอ พบว่า โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดงโรคมือเท้าปาก โรคคางทูม มีอัตราป่วยสูงกว่า และโรคที่มีแนวโน้มจะระบาดเกิดขึ้นใน ปี ๒560 ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคตาแดง และโรคมือเท้าปาก อีกทั้งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดนโยบายให้มีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) และกำหนดบทบาทของทีม SRRT ดังนี้ เฝ้าระวังโรคติดต่อที่แพร่ระบาดรวดเร็วรุนแรง ตรวจจับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข สอบสวนโรคอย่างมีประสิทธิภาพทันการ ควบคุมโรคฉุกเฉิน/ขั้นต้น เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาด และแลกเปลี่ยนข้อมูลเฝ้าระวังโรคและร่วมมือกันเป็นเครือข่าย ดังนั้นในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาโรคติดต่อที่ป้องกันได้จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค สู่รพ.สต.ควบคุมโรคเข้มแข็ง เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคติดต่อในพื้นที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคติดต่อที่เป็นปัญหาในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและเพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ ประชาชน ชุมชน มีส่วนร่วมและดำเนินการควบคุมโรคติดต่อ และเพื่อพัฒนาคุณภาพการควบคุมวัณโรคโดยกลยุทธ์ DOTS ให้มีคุณภาพทำให้เพิ่มอัตราการรักษาหาย/รักษาสำเร็จต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

อัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง หรือไม่มีเลย

2 เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้

อัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อลดลง

3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้มีความตระหนักและร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือน ชุมชนของตนเองร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะ

ประชาชนสามารถกำจัดยุงลายได้อย่างถูกวิธี

4 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน มีส่วนร่วมและดำเนินการควบคุมโรค

ประชาชนสามารถควบคุมโรคได้ด้วยตนเอง

5 เพื่อพัฒนาคุณภาพการควบคุมวัณโรคโดยกลยุทธ์ DOTS ให้มีคุณภาพทำให้เพิ่มอัตราการรักษาหาย/รักษาสำเร็จ

สามารถควบคุมโรคได้มากขึ้น

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.การดำเนินงานป้องกันโรคล่วงหน้า ๑.๑ ในชุมชน (๑) จัดรณรงค์ในชุมชนภายใต้กรอบแนวคิด “ทุกวันศุกร์ กำจัดลูกน้ำยุงลาย ไม่มีลูกน้ำ ก็ไม่มีไข้เลือดออก (๒) จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน
ครู ประชาชน ผู้นำศาสนาเพื่อระดมความคิดในการสร้างกระแสชุมชน และ มีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรค (๓) จัดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขผู้นำชุมชน เพื่อชี้แจงการดำเนินงาน การจัด กิจกรรมตามโครงการความรู้โรค การป้องกันโรค และการควบคุม (๔) จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในโครงการฯ เอกสารให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก
ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย น้ำมันดีเซลใช้ผสมสารเคมี และน้ำมันเบนซินสารเคมีที่ใช้พ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย (๕) ประชาสัมพันธ์โดยการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ แผ่นพับชี้แจงทางหอกระจาย ข่าวของหมู่บ้าน และในที่ประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีการจัดสภาพแวดล้อม ปรับปรุงสภาพสุขาภิบาลในบ้าน/บริเวณบ้าน อย่างพร้อมเพรียงกันในทุกวันศุกร์ เพื่อเป็นการลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และให้ความรู้โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดงโรคมือเท้าปาก โรคคางทูม โรคที่มีแนวโน้มจะระบาดเกิดขึ้นใน ปี ๒๕60 ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคตาแดง และโรคมือเท้าปาก
(๖) ดำเนินการชุมชนปลอดโรคต้นแบบ (๗) คณะกรรมการสำรวจลูกน้ำยุงลายระดับหมู่บ้านลงสำรวจลูกน้ำ เพื่อสำรวจบริเวณ บ้านให้สะอาดสะอาดปลอดลูกน้ำยุงลาย (๘) ประธาน อสม.และคณะกรรมการ สรุปผลการดำเนินการตามโครงการ ฯ ของเขตที่ รับผิดชอบส่งหน่วยบริการ (๙) เฝ้าระวังและป้องกันโรคอุจจาระร่วง โดยการเยี่ยมบ้านผู้ปกครองที่มีเด็กอายุต่ำกว่า
2 ปี เป็นโรคอุจจาระร่วง (๑๐) เฝ้าระวังและป้องกันวัณโรค โดยการคัดกรองตามแบบฟอร์มที่กำหนด คัดกรอง วัณโรคด้วย sputum AFBลงประเมินติดตามเยี่ยมบ้านสำหรับกลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วย (๑๑) คณะกรรมการควบคุมโรคระดับหมู่บ้านอภิปรายปัญหา พร้อมหาแนวทาง แก้ปัญหา เป็นแนวทางการปฏิบัติงานในปีต่อไป
(๑๒) คณะกรรมการควบคุมโรคระดับหมู่บ้านสรุปและรายงานผล
๑.๒ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (๑) การควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ (๒) ติดต่อประสานงานขอความร่วมมือไปยังศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในการควบคุมและ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์อย่างพร้อมเพรียงกัน พร้อมส่งแบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย (๓) สนับสนุนทรายอะเบทให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้เพียงพอต่อการใช้งาน (๔) สำรวจลูกน้ำยุงลายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยอสม. ที่รับผิดชอบทุกเดือน (๕) ดำเนินการพ่นเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเปิดเทอม จำนวน๒ เทอม ๆ ละ ๒ครั้ง รวมเป็น ๔ครั้ง โดยห่างจากครั้งแรกภายใน ๗วัน (๖) ลงพื้นที่ ศพด. เพื่อคัดกรองโรคติดต่อในเด็กนักเรียนเป็นประจำทุกเดือน ได้แก่ โรคตาแดงโรคมือเท้าปาก และโรคคางทูม
๑.๓ ในวัดสถานบริการสาธารณสุข และสถานที่ราชการต่าง ๆ
(๑) ติดต่อประสานงานขอความร่วมมือในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในทุก วันศุกร์ (๒) สำรวจลูกน้ำยุงลายในวัดสถานบริการสาธารณสุข และสถานที่ราชการต่างๆโดย อสม. ที่รับผิดชอบทุกเดือน (๓) สนับสนุนทรายอะเบทให้เพียงพอต่อการใช้งาน (๔) สนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย ๒.การดำเนินการขณะเกิดโรค ๒.๑ ตรวจสอบข้อมูล และประสานผู้เกี่ยวข้องเพื่อทำการควบคุมและป้องกันโรค ๒.๒ พ่นเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย และรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ให้ความรู้ประชาชน
ภายใน ๒๔ ชั่วโมง หลังได้รับรายงานการเกิดโรค ๒.๓ ทำการสอบสวนโรค ค้นหาสาเหตุ และเขียนรายงานการสอบสวนเสนอต่อผู้บริหารให้ รับทราบ ๓.การดำเนินการหลังเกิดโรค ๓.๑ รณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง ๔.ดำเนินการตามคุณลักษณะสู่ตำบลควบคุมโรคเข้มแข็ง ๔.๑ คุณลักษณะที่ ๑ (๑) ประชุมประชุมของคณะกรรมการ ๑ ครั้ง/ปี -๔-/(๑) ประชุม… -๔- ๔.๒ คุณลักษณะที่ ๒ (๑) ประชุมทีม SRRT เครือข่ายระดับตำบลปีละ ๒ ครั้ง (๒) พัฒนาศักยภาพทีม SRRT โดยการควบคุมและสอบสวนโรค ๑ ครั้ง/ปี จัดอบรม ทบทวน “การเฝ้าระวังเหตุการณ์” แก่ SRRT เครือข่ายระดับตำบล และการแจ้งเตือนข่าวภัยคุกคามทางสุขภาพและการบันทึกข้อมูลทางเครือข่ายSRRT ตำบล (๓) จัดทำรายงานสถานการณ์ทุกเดือน ๔.๓ คุณลักษณะที่ ๓ ซ้อมแผนรองรับการควบคุมโรค/ภัยฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับอำเภอ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ๔.๔ คุณลักษณะที่ ๔ ระดมทรัพยากรหรือการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเป็นรูปธรรม ๔.๕ คุณลักษณะที่ ๕ ประชุมสรุปผลสำเร็จของการควบคุมโรคที่สำคัญตามนโยบายกระทรวง สาธารณสุขและโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่อย่างน้อยประเด็นละ ๑ เรื่อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ๒. ลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ ๓. ประชาชนมีความรู้มีความตระหนักและร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือน ชุมชนของตนเองร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะ
๔. ประชาชน ชุมชน มีส่วนร่วมและดำเนินการควบคุมและป้องกันโรค ๕. กระบวนการควบคุมวัณโรคโดยกลยุทธ์ DOTS มีคุณภาพ อัตราการรักษาหาย/รักษาสำเร็จ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2560 09:40 น.