กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแอโรบิคเพื่อปรับเปลี่ยนสุขภาพ ชมรมแอโรบิคลานคนเดินสนามมหาราช ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L6961-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมแอโรบิคลานคนเดินสนามมหาราช
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 กุมภาพันธ์ 2565 - 31 พฤษภาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2565
งบประมาณ 17,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาจารีย์ สุวรรณรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคอ้วนลงพุงเป็นภาวะที่มีการสะสมของไขมันในช่องท้องมากเกินไป ทำให้เกิดเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) ซึ่งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างมาก โดยคนท้วมมีโอกาสเกิดอ้วนลงพุงได้ถึงร้อยละ 25 หากตกอยู่ในภาวะอ้วนลงพุงจะส่งผลเสียกับร่างกาย ได้แก่ โรคอ้วน ไขมันอุดตัน โรคหัวใจ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต ไขมันเกาะตับ มะเร็ง โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคเกาต์ โรคข้อเสื่อม หยุดหายใจตอนนอน (Sleep Apnea) โรคผิวหนัง เชื้อรา เส้นเลือดขอด เป็นต้น สาเหตุส่วนหนึ่งของภาวะอ้วนลงพุงคือ การรับประทานอาหารที่มากเกินกว่าความต้องการของร่างกาย การขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น การเต้นแอโรบิค(Aerobic Dance) เป็นการออกกำลังกายที่ทำให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวออกแรงและทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น มีการสูบฉีดของโลหิตไปทั่วร่างกายมากขึ้น ทำให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายได้รับออกซิเจนหล่อเลี้ยงเพิ่มมากขึ้น และมีการระบายของเสียออกได้รวดเร็วขึ้น โดยทั่วไปจะมีคำแนะนำสำหรับเวลาที่ใช้ในการออกกำลังกายแบบแอโรบิคประมาณ 20-30 นาทีเพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นวิธีการออกกำลังอย่างหนึ่งที่สามารถควบคุมน้ำหนักของตนเองได้ ซึ่งหลังจากออกกำลังกายอาจมีความรู้สึกปวดและเมื่อยกล้ามเนื้อขึ้นได้เนื่องจากเส้นใยกล้ามเนื้อจะขยายและเกิดการสลายหรือถูกทำลายเป็นผลทำให้เกิดการอักเสบ บาดเจ็บของเซลล์ และหลังจากนั้น ร่างกายเราจะพยายามรักษาสภาพให้คืนกลับมาดังเดิม โดยการซ่อมแซมเซลล์ ซึ่งการบาดเจ็บทั้งหมดทั้งมวลภายในเซลล์นี้ ร่างกายตอบสนองมาให้เรารับรู้ในรูปแบบของอาการ ปวดและเมื่อยนั่นเอง ซึ่งการนวดผ่อนคลายหลังออกกำลังกายสามารถช่วยป้องกันการฉีกขาดของกล้ามเนื้อหรือพังผืดและลดการเกิดอุบัติเหตุ รักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ และลดความเจ็บปวดได้พอสมควร ทางชมรมแอโรบิคลานคนเดิน สนามมหาราช จึงได้จัดโครงกาารนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนสมาชิกที่มีภาวะอ้วนลงพุง/ดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตรฐาน

สมาชิกที่อ้วนลงพุง/ดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตรฐานมีจำนวนลดลง

50.00 40.00
2 เพื่อให้สมาชิกมีความรู้เรื่องการออกกำลังกายไม่ให้บาดเจ็บ

สมาชิกมีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่ถูกวิธีและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

60.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
21 ก.พ. 65 - 31 พ.ค. 65 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการออกกำลังกายอย่างไรไม่ให้บาดเจ็บ 0 17,300.00 17,300.00
รวม 0 17,300.00 1 17,300.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สมาชิกที่อ้วนลงพุง/ดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตรฐานมีจำนวนลดลง
  2. สมาชิกมีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่ถูกวิธีและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2564 00:00 น.