กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลตำบลมะกอกเหนือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
รหัสโครงการ 65-L7574-4-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลมะกอกเหนือ
วันที่อนุมัติ 12 ตุลาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 30,377.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวภัทรียา บุญน้อย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.746,100.073place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 ต.ค. 2564 30 ก.ย. 2565 30,377.00
รวมงบประมาณ 30,377.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 19 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลตำบลมะกอกเหนือ มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ๔ ประการด้วยกัน ประการแรกเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการหรือสถานบริการอื่น รวมทั้งสถานบริการทางเลือกในพื้นที่ โดยเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ประการที่สองเพื่อส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพประการที่สามเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้กลุ่มประชาชนหรือองค์กรประชาชนในพื้นที่จัดทำกิจกรรม เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ และประการสุดท้ายเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนให้มีประสิทธิภาพ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๑ โดยเป็นการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกับเทศบาลตำบลมะกอกเหนือ ซึ่งมีข้อตกลงว่าทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะโอนจัดสรรงบประมาณให้แก่ กองทุนตามรายหัวประชากรและทางเทศบาลจะสมทบงบประมาณเข้ากองทุนไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ ๕๐ ของงบประมาณที่ได้รับจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.๒๕๖๑ ตามประกาศข้อ ๑๒ ให้มีคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ จำนวน ๑๖ คน และมีที่ปรึกษากองทุน จำนวน ๓ คน คณะกรรมการกองทุนฯ มีอำนาจหน้าที่ ๖ ประการ อันได้แก่ ประการแรกพิจารณาอนุมัติแผนการเงินประจำปีของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ประการที่สองพิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ ๑๐ ประการที่สามออกระเบียบที่จำเป็นเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารกองทุน ทั้งนี้ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ประการที่สี่สนับสนุนให้บุคคลในท้องถิ่นสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขทั้งที่บ้าน ในชุมชนหรือหน่วยบริการ ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ประการที่ห้าให้คำแนะนำในการจัดทำข้อมูลและโครงการ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานสาธารณสุขของกลุ่มเป้าหมาย แก่หน่วยงาน องค์กรหรือกลุ่มประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประการที่หกพิจารณาให้ความเห็นชอบรายงานผลดำเนินงาน รายงานการรับเงิน การจ่ายเงินและเงินคงเหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพ และตามประกาศข้อ ๑๘ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน ๑๐ คน ให้มีอำนาจหน้าที่ พิจารณาอนุมัติโครงการ แผนการดูแลรายบุคคล รวมถึงค่าใช้จ่ายตามแผนการดูแลรายบุคคลสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หน่วยบริการหรือสถานบริการ เมื่อพิจารณาถึงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแล้วจะเห็นได้ว่า การดำเนินการใดๆ ของกองทุนล้วนมีความเกี่ยวข้องกับคณะกรรมการทั้งสิ้นและการจะออกมติเห็นชอบหรืออนุมัติกิจกรรมโครงการใดๆ ก็ต้องอาศัยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการประชุมคณะกรรมการ ดังนั้น การจัดประชุมคณะกรรมการจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งหากมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องก็จะส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนด้านการสาธารณสุขในพื้นที่ ทั้งในเรื่องส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลในระดับปฐมภูมิ อันจะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขและมีสุขภาพที่ดีได้ในที่สุด นอกจากนั้นการส่งเสริมสนับสนุนให้คณะกรรมการกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการ LTC ได้รับการอบรม การประชุมที่เกี่ยวข้องกับงานกองทุนฯ ก็จะเป็นการพัฒนาศักยภาพกรรมการและส่งผลดีต่อการพัฒนากองทุนฯ คณะกรรมการฝ่ายเลขานุการจึงขอเสนอจัดโครงการบริหารพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลตำบลมะกอกเหนือ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อจัดประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลตำบลมะกอกเหนือ

จำนวนครั้งที่มีการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ 5 ครั้ง

16.00
2 เพื่อจัดประชุมคณะอนุกรรมการ LTC เทศบาลตำบลมะกอกเหนือ

จำนวนครั้งที่มีการประชุมคณะอนุกรรมการ LTC ที่เข้าร่วมประชุม 2 ครั้ง

2.00
3 เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของกรรมการกองทุนฯ และอนุกรรมการ LTC

จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกองทุนและคณะอนุกรรมการ LTC 26 คน

26.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการนำเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
  2. จัดทำหนังสือเชิญคณะกรรมการเข้าร่วมประชุมเดือนละครั้ง หรือตามที่คณะกรรมการกำหนด
  3. จัดทำหนังสือเชิญคณะอนุกรรมการ LTC เทศบาลตำบลมะกอกเหนือ เข้าร่วมประชุมพิจารณาแผน Care plan ติดตามแผน และสรุปผลการดำเนินงาน
  4. ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม
  5. สรุปและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2564 10:18 น.