กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อตามหลัก 3 อ. 2 ส. โดยชุมชนมีส่วนร่วมในกลุ่มประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป ประจำปีงบประมาณ 2565 รพ.สต.บ้านทุ่งนารี

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อตามหลัก 3 อ. 2 ส. โดยชุมชนมีส่วนร่วมในกลุ่มประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป ประจำปีงบประมาณ 2565 รพ.สต.บ้านทุ่งนารี
รหัสโครงการ 2565-L3341-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมสร้างเสริมสุขภาพ อสม.รพ.สต.บ้านทุ่งนารี
วันที่อนุมัติ 2 ธันวาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ธันวาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 93,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1. นายอำนวย คงมี 2. นายเอก รุ่งกลิ่น 3. นางศิชารัชต์ แสงจง 4. นางหนึ่งฤทัย เยาว์แสง 5. นางยุพิน มณีสุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ นายนราวุฒิ แก้วหนูนวล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย สาเหตุหลักสำคัญพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก การมีความเครียดสูง การรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เป็นต้น ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเช่นนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้มากกว่าคนอื่นๆ จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมากลุ่มกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยมีคนไทยป่วยด้วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 300,000 คนต่อปี และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มี 4 โรคหลัก ได้แก่ กลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง, โรคมะเร็ง, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ซึ่งมีปัจจัยมาจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคหวาน มัน เค็ม และมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ประกอบกับการ เปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางสังคม เช่น การขยายตัวของสังคมเมือง กลยุทธ์ทางการตลาด ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการสื่อสาร ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิต และยังส่งผลให้เกิดความสูญเสียต้นทุนทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากภัยเงียบของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังดังกล่าวมาข้างต้น ชมรมสร้างเสริมสุขภาพ อสม.รพ.สต.บ้านทุ่งนารี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพของประชาชน จึงร่วมมือกับหน่วยงานด้านสาธารณสุข ชุมชนและเครือข่าย อสม. ในเขตรับผิดชอบจัดทำโครงการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อตามหลัก 3 อ. 2 ส. โดยชุมชนมีส่วนร่วมในกลุ่มประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป ประจำปีงบประมาณ 2565 ขึ้น เพื่อให้ประชาชน 15 ปีขึ้นไปได้เข้าถึงการบริการส่งเสริมสุขภาพและกลุ่มเสี่ยงสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม ต่อเนื่อง ครอบคลุมในทุกมิติทั้งด้านส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพ และลดภาวะแทรกซ้อนของโรคในกลุ่มผู้ป่วยปัญหาการดำรงชีวิตของผู้ป่วยและญาติเพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดี ตลอดจนสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหา ตรวจคัดกรอง และเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป

ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ได้รับตรวจคัดกรอง และเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง และเฝ้าระวังพฤติกรรม 3 อ. 2 ส.และพฤติกรรมเสี่ยงโรคมะเร็ง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

1.00 1.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสูงได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อ. 2 ส. ในการดูแลต่อเนื่องได้

กลุ่มเสี่ยงสูงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อ. 2 ส. ในการดูแลต่อเนื่องทั้งรายกลุ่มและรายบุคคลเพิ่มขึ้น

1.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงที่มารับบริการคลินิกโรคเรื้อรังได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีและความรู้ในการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. ในการดูแล ป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงที่มารับบริการคลินิกโรคเรื้อรังได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีและความรู้ในการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. ในการดูแล ป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 93,000.00 0 0.00
2 ธ.ค. 64 - 30 มิ.ย. 65 จัดซื้อวัสดุตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,000 คน 0 41,750.00 -
1 ม.ค. 65 - 28 ก.พ. 65 จัดอบรม/กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน และหรือโรคความดันโลหิตสูง เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อ. 2 ส.ในชุมชน 0 32,000.00 -
1 ก.พ. 65 - 30 มิ.ย. 65 ตรวจสุขภาพประจำปีและให้ความรู้ส่งเสริมการดูแลสุขภาพในกลุ่มป่วยในคลินิกโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง) จำนวน 130 คน 0 19,250.00 -

1) จัดประชุมแกนนำเพื่อหาแนวทางในการป้องกันและควบคุมกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2) จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 3) พัฒนาศักยภาพ อสม. ในการตรวจคัดกรองกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
4) ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน วัดความดันโลหิต รอบเอว และประเมินพฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มเป้าหมายอายุ 15 ปีขึ้นไป ร่วมกับเครือข่าย อสม.ในเขตรับผิดชอบ 5) จัดทำสื่อสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
6) จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามประเมินค่าความดันโลหิตที่บ้าน และเจาะตรวจน้ำตาลซ้ำทุก 1-2 เดือน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในสถานบริการและในชุมชน ร่วมกับเครือข่าย อสม.ในเขตรับผิดชอบ 7) ติดตามเยี่ยมกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพื่อดูแลต่อเนื่องและเข้าระบบส่งต่อตามเกณฑ์ 8) ตรวจสุขภาพประจำปี และให้ความรู้แก่กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง และผู้ดูแลเพื่อดูแลต่อเนื่อง เฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพร่วมกับเครือข่าย อสม.ในเขตรับผิดชอบ 9) ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีการประสานความร่วมมือในการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการในการแก้ไขปัญหาและส่งเสริมสุขภาพประชาชน
  2. ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ ลดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงครอบคลุมในทุกมิติทั้งด้านส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพ เพื่อสุขภาพดีของประชาชน ครอบครัวและชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2564 00:00 น.