กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์และส่งเสริมการลดปริมาณขยะในชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2565เทศบาลตำบลทุ่งหว้า
รหัสโครงการ 65-L8009-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลทุ่งหว้า
วันที่อนุมัติ 6 ธันวาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 ธันวาคม 2564 - 31 มกราคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 33,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งเเวดล้อม ฯ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเทศบาลตำบลทุ่งหว้า มีปริมาณขยะประมาณ 1.4 ตันต่อวัน ซึ่งมาจากการดำรงชีวิตของคนงคนในชุมชน หากคิดเฉลี่ยเป็นรายบุคคลแล้ว ๑ คนจะก่อให้เกิดขยะในปริมาณ ๒.๕๖ กิโลกรัมต่อวัน      จึงเป็นภาระหนักของเทศบาลตำบลทุ่งหว้าในการบริหารจัดการการจัดขยะเหล่านั้น ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นมากมายทุกวันส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการเก็บขนและน้ำมันเชื้อเพลิงสูงทุกเดือนขยะแต่ละวันยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนมากมาย ได้แก่ บ้านเมืองสกปรก ไม่น่ามอง เสียทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ และพาหนะนำโรคต่าง ๆ เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจจาระร่วง บิด โรคผิวหนัง บาดทะยัก โรคทางเดินหายใจ เกิดการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท ลงสู่พื้นดิน และแหล่งน้ำ  แหล่งน้ำเน่าเสีย ท่อระบายน้ำอุดตัน อันเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วมเวลาฝนตก  ยังเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง เขม่า ควัน จากการเผาขยะ    และเกิดก๊าชมีเทนจากการฝังกลบขยะ และขยะบางชนิดไม่ย่อยสลาย และกำจัดได้ยาก เช่น โฟม พลาสติก ทำให้สารตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม
ดังนั้น เพื่อการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลทุ่งหว้าลดปริมาณขยะในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการขึ้น นำร่องปลูกฝังสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนและผู้นำชุมชนในการคัดแยกขยะส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนตระหนักถึงความสำคัญรู้จักและเข้าใจการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่าง ๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อปลูกฝังสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนและผู้นำชุมชนในการลดปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชนป้องกันการเกิดโรคในชุมชน

ประชาชนมีจิตสำนึกในเรื่องของการคัดเเยกขยะ ร้อยละ 100

0.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่าง ๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ

ประชาชนได้รับความรู้ในเรื่องของการคัดแยกขยะประเภทต่างๆได้ ร้อยละ 100

0.00
3 3. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยก และการนำกลับมาใชใหม่

ประชาชนได้รับความรู้วิธีการลดปริมาณ ขยะ และวิธีการคัดแยกขยะ และสามรนำกลับมาใช้ใหม่ได้ร้อยละ 100

0.00
4 4. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และสามารถนำวิธีการกำจัดขยะประเภทต่าง ๆ มาใช้ได้อย่างถูกต้อง และบริหารจัดการขยะด้วยตนเอง

ประชาชนได้รับความรู้และสามารถนำวิธีการกำจัดขยะประเภทต่าง ๆ มาใช้ได้อย่างถูกต้อง และบริหารจัดการขยะด้วยตนเอง ร้อยละ 100

0.00
5 5. เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน

ชุมชนมีขยะลดน้อยลง ร้อยละ 100

0.00
6 6. เพื่อให้เกิดชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอยที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดการขยะมูล ฝอยในชุมชน

ชุมชนในเขตเทศบาลสามารถเป็นต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอยที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดการขยะมูล ฝอยในชุมชน ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 90 33,000.00 0 0.00
6 ธ.ค. 64 - 31 ม.ค. 65 กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/การจัดการการขยะ แบบ 3Rs /สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะอินทรีย์ฝังดิน/การจัดการขยะแบบ 3Rs/ สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะอินทรีย์ฝังดิน 90 33,000.00 -

วิธีดำเนินการ กิจกรรมที่ 1 อมรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะต้นทาง/การจัดการขยะแบบ
3Rs/สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะฝังดิน - บรรยายให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะต้นทาง - บรรยายให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะแบบ 3Rs - สอน/สาธิตการคัดแยกขยะแต่ละประเภท - สอน/สาธิตการคัดแยกขยะรีไซเคิลเพื่อการจำหน่าย - สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธีทำถังขยะอินทรีย์ฝังดิน กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกรคัดแยกขยะในครัวเรือน ดังนี้
1. การจัดการขยะตามหลัก 3Rs
- Reduce คือ ลดการใช้ การรบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลง ลดการก่อให้เกิดขยะ - Reuse คือ การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยการนำสิ่งของเครื่องใช้ที่ยังใช้ประโยชน์ได้กลับมาใช้ซ้ำให้เกิดความคุ้มค่าที่สุด - Recycle คือ การนำสิ่งของที่ใช้ประโยชน์ในรูปแบบเดิมไม่ได้แล้วหรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นขยะ นำไปจัดการด้านกระบวนการต่าง ๆ แล้วแปรรูปมาเป็นสิ่งใหม่ จากนั้นก็นำกลับมาใช้ใหม่ 2. การคัดแยกขยะตามประเภทขยะ
- ขยะย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหารและพืชผัก ที่เหลือจาการรับประทาน และการประกอบอาหาร สามารถนำไปหมักทำปุ๋ยได้ ขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังเขียว เพื่อจะนำไปทำปุ๋ยหมัก - ขยะรีไซเคิลหรือขยะที่สามารถนำไปขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ ซึ่งจากปริมาณขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังเหลือง เพื่อจะถูกนำไปรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ - ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ย่อยสลายและไม่คุ้มค่าในการนำไปรีไซเคิล เช่น ซองบะหมี่สำเร็จรูป เปลือกลูกอม ถุงขนม ถุงพลาสติกขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังสีน้ำเงิน เพื่อจะถูกนำไปฝังกลบ รอการย่อยสลาย
- ขยะพิษ หรือขยะมีพิษที่ต้องเก็บรวบรวมแล้วนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เช่น กระป๋อง ยาฆ่าแมลง หลอดไฟ ถ่ายไฟฉาย ขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังสีแดง เพื่อจะนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี 3. ป้ายรณรงค์ให้ความรู้การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีชุมชนละ 1ป้าย รวม 6 ชุมชน 4. ประชาสัมพันธ์พร้อมทั้งให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะทุกประเภทอย่างถูกวิธี ตามช่องทาง ต่าง ๆ เช่น เสียงตามสายทุกวัน เป็นต้น 5. ผู้ผ่านอบรมสามารถนำความรู้ไปสาธิตการถังขยะอินทรีย์ฝังดินในชุมชนและขยายเครือข่ายการทำถังขยะเปียกครัวเรือนในชุมชนได้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนทราบปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ และมีจิตสำนึกและตระหนักถึงความสำคัญในการลดปริมาณและคัดแยกขยะ 2 ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs การนำกลับมาใช้ใหม่ วิธีการกำจัดขยะประเภทต่าง ๆ อย่างถูกวิธี และสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดผลได้จริง 3 บ้านเรือนในชุมชนถูกสุขหลักสุขาภิบาล และมีสิ่งแวดล้อมที่ดี และเป็นหมู่จัดการมูลฝอย
4 ประชาชนสามารถบริหารจัดการตนเองในการคัดแยกขยะทำให้ชุมชนมีปริมาณขยะลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2564 14:05 น.