กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) รพ.สต.บ้านทุ่งนารี 2565
รหัสโครงการ 2565-L3341-02-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ รพ.สต. บ้านทุ่งนารี
วันที่อนุมัติ 29 พฤศจิกายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ธันวาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นายเอก รุ่งกลิ่น 2.นายทันยาลักษ์ สุวรรณฆัง 3.นายวีรชัย พงศ์กิจเจริญ 4.นายณรงค์ โยมเมือง 5.นางสมจิตร รอดรวยรื่น
พี่เลี้ยงโครงการ นายนราวุึฒิ แก้วหนูนวล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 882 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ทำให้เกิดความหวั่นวิตกถึงการแพร่ระบาด  ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากโรคโควิดที่เป็นปัญหาด้านสุขภาพ คือก่อให้เกิดการติดเชื้อ ป่วย พิการ หรือจนถึงการสูญเสียชีวิต แล้ว โควิดยังมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ การใช้ชีวิตประจำวัน อาชีพ การหยุดงาน ความรังเกียจความไม่เข้าใจกันของคนในสังคม และเชื่อมโยงไปถึงในระดับใหญ่ขึ้น คือในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค หรือระดับโลก แต่อีกในทางกลับกัน โรคโควิด ทำให้เรามองเห็นถึงอีกมุมดี ๆ ของสังคม ได้แก่การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของคนในชุมชน ความมีน้ำใจ ความเสียสละ ความเป็นผู้นำ หรือความร่วมมือร่วมใจที่จะช่วยกันฝ่าวิกฤติของโรคโควิดให้ลุล่วง ผ่านพ้นปัญหาไปด้วยกัน ในพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งนารี ได้ประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด เหมือนกับพื้นที่อื่น ๆ ในอำเภอป่าบอน โดยเริ่มมีผู้ป่วยในพื้นที่ ตั้งแต่วันที่  เมษายน 2564 เป็นต้นมา เกิดขึ้นในพื้นที่ทั้ง 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 5 ของตำบลทุ่งนารี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ามาจากต่างพื้นที่ และมาติดต่อกับคนในครอบครัว ถึงแม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ จะปฏิบัติตามมาตรการการป้องกัน DMHTT แล้ว แต่ก็ยังมีประชากรบางส่วน หรือส่วนหนึ่ง ที่ไม่ได้ปฏิบัติโดยเคร่งครัด หรือมีความประมาทเลินเล่อต่อข้อปฏิบัติดังกล่าว ทำให้เกิดการติดเชื้อและการระบาดอยู่บ้างเป็นครั้งคราว นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลของสื่อ ที่เสนอข่าวประเภทบิดเบือน ข่าวปลอม หรือปลุกปั่นให้เกิดการเข้าใจผิด เกี่ยวกับการป้องกัน การรักษา โควิด โดยเฉพาะเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน ซึ่งทำให้คนในพื้นที่เข้ารับบริการการฉีดวัคซีนน้อย
จากโอกาสและปัญหาอุปสรรค ที่เกิดจากการระบาดของโรคโควิด ทำให้ทุกองค์กร ทุกชุมชน ยังต้องเร่งในการหาวิธีการเพื่อหยุดยั้งการระบาดของโรคโควิดทุกวิถีทาง ชมรมป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ รพ.สต. บ้านทุ่งนารี ได้ดำเนินการปฏิบัติงานดังกล่าวมาโดยตลอด และยังคงต้องดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง จนกว่าสถานการณ์การระบาดเข้าสู่ปกติ ซึ่งยังกำหนดเวลาไม่ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ด้าน ฉะนั้น ในการจัดการดังกล่าวจึงเป็นการจัดกิจกรรมที่แก้ปัญหาแบบเฉพาะหน้า และปรับปรุงพัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานไปตามเหตุการณ์ ที่ผ่านมาทางชมรม ฯ ได้ดำเนินการควบคุม ป้องกัน ส่งเสริม ได้แก่ การค้นหาผู้สัมผัสที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง รวดเร็ว ทันเวลา และไม่ผิดพลาด การตั้งด่านตรวจในการเข้าอออกตลาดนัด การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ให้กับประชาชนในการป้องกันความคุมโรค การแนะนำกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการฉีดวัคซีน การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก
ด้วยเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าวชมรมป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ รพ.สต. บ้านทุ่งนารี จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) รพ.สต.บ้านทุ่งนารี 2565 เพื่อลดการแพร่ระบาด และเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 หมู่บ้านที่รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านพรุโอน หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งนารี และหมู่ที่ 5 บ้านบ่อสน จำนวนหลังคาเรือน 882 หลัง

1.ประชาชนในหมู่บ้านทุกหลังคาเรือน ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์การป้องกันโรคโควิด และได้รับคำแนะนำในการป้องกัน 2.ประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนไม่น้อยกว่า ร้อยละ  70
3.สามารถควบคุมการระบาดในพื้นที่มิไห้เกิดการระบาดต่อเนื่อง

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 50,000.00 0 0.00
2 ธ.ค. 64 - 31 มี.ค. 65 .ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนในการป้องกันควบคุมโรคโควิด 0 0.00 -
2 ธ.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรค 0 50,000.00 -
2 ธ.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 รณรงค์การฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเป้าหมาย 0 0.00 -

1จัดทำโครงการและเสนอของบประมาณ 2.จัดประชุมทบทวนความรู้และกิจกรรมแก่ อสม.เรื่องการป้องกันควบคุมโรคโควิด
3.จัดกิจกรรมรณรงค์ ควบคุม การป้องกันโรค และการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด
4.ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนในพื้นที่ ไม่ป่วยด้วยโรคโควิดหรือถ้ามีผู้ป่วยก็สามารถควบคุมได้ทันท่วงที ไม่มีการแพร่ระบาด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2564 00:00 น.