กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดระบบศูนย์พักคอยและแยกกักตัวที่บ้าน (Community Isolation และ Home Isolation) องค์การบริหารส่วนตำบลนาพละ
รหัสโครงการ 65-L1496 -05-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลนาพละ
วันที่อนุมัติ 19 พฤศจิกายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 97,188.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพรวิไล ชูจินดา
พี่เลี้ยงโครงการ นางธนิญาภรณ์ ทองแจ้ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาพละ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.599,99.664place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยยังคงพบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีมาตรการที่สำคัญในการควบคุมโรค โดยมีการค้นหาผู้ติดเชื้อ ดูแลรักษา แยกกัก การกักตัวดูแลรักษาที่บ้าน การจัดตั้งศูนย์พักคอย เตรียมรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ ก่อนนำส่งโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนาม โดยร่วมบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนในการแก้ไขปัญหา ในการรองรับผู้ป่วยที่อาจเพิ่มจำนวนขึ้นโดยขอความร่วมมือดัดแปลงสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงเรียน โรงแรม มหาวิทยาลัย หอประชุม สถานที่ปฏิบัติธรรม ศาลาวัด อาคารของเอกชน ที่ยังไม่ได้ใช้งานหรือสถานที่ราชการ สถานที่เอกชนอื่น ๆ เพื่อให้การดำเนินการป้องกัน ระงับโรค และการรักษาพยาบาล ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ณ ปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามมาตรา ๕๐ (๔) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาลตำบล พ.ศ.2๔๙๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมาตรา 16(19)แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในงานการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ประกอบกับหนังสือด่วนที่สุด ที่ มท 0808.2/ว4281 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2564      เรื่อง การเบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดตั้งสถานที่ในการป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับมอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดให้รับผิดชอบ หรือร่วมดำเนินการกับหน่วยงานอื่นในการจัดตั้งสถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย (Quarntine) โรงพยาบาลสนามระดับพื้นที่ ศูนย์พักคอยและการแยกกักตัวที่บ้าน (Community Isolation และ Home Isolation) และหนังสือจังหวัดตรัง ด่วนที่สุด ที่ ตง 0023.3/ว 4402 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) โดยอ้างถึงหนังสือด่วนที่สุด ที่ มท 0808.2/ว4116 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เรื่องซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิค-19)
ดังนั้น เพื่อเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคดังกล่าว ไม่ให้ขยายวงระบาดสู่ชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลนาพละ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาพละ ผู้นำท้องที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จึงจัดทำโครงการจัดระบบศูนย์พักคอยและแยกกันตัวที่บ้าน (Community Isolation และ Home Isolation) เพื่อให้ประชาชนผู้ติดเชื้อได้มีที่พักอาศัยระหว่างรอเตียงว่างและลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดและ ติดเชื้อโควิด-19 ในชุมชนและเป็นสถานที่รองรับประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลนาพละ ที่เป็นผู้ป่วยยืนยัน COVID-19(กลุ่มสีเขียว)ไว้ดูแลรักษาผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงและได้รับการส่งตัวมาจากโรงพยาบาล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน ๑.1 ประชุมวางแผนกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมายเนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.2 อปท.ออกคำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ 1.3 ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน
    1. จัดทำโครงการเสนอ เพื่ออนุมัติงบประมาณในการจัดทำโครงการฯ
    2. ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.1 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูล เข้าใจสถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ๓.๒ ประสานงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาพละ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 3.๓ จัดหาและเตรียมสถานที่เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมเป็นศูนย์พักคอย (กรณีCommunity Isolation) 3.๔ จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการดูแลและรักษาประชาชนผู้ติดเชื้อระหว่างรอเตียงเพื่อส่งต่อ รพ. ตามมาตรฐาน หลักวิชาการ ไม่ซ้ำซ้อนกับที่หน่วยงานรัฐจัดงบประมาณให้ 3.๕ ติดตามสถาการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบเป็นระยะ ๓.๖ การจัดตั้ง Community Isolation center
    • ปรับปรุงอาคาร จัดเตรียมสถานที่ เพื่อรองรับผู้ป่วยได้ 40 ราย
    • จัดตั้งศูนย์ติดตามอาการผู้ป่วยได้ ๒๔ ชั่วโมง
    • มีสิ่งแวดล้อมถูกสุขลักษณะ เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดออกนอกชุมชน
    • รับผู้ป่วยสีเขียวที่รับการรักษาจากโรงพยาบาลสนาม จนครบกำหนด ๓.๗ กิจกรรมการให้บริการผู้ป่วยในศูนย์แยกกักผู้ป่วยโควิด-๑๙ ในชุมชน Community Isolation
    • การประเมินอาการและการติดตามผู้ป่วย ให้ประเมินอาการผู้ป่วยทุกวันโดยการวัด (Vital signs)   และ O๒ sat วันละ ๒ ครั้ง ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
    • บันทึกการพยาบาลกรณีที่มีอาการเปลี่ยนแปลง หรือมีการรักษาเพิ่มเติม
    • บันทึกการประเมินสภาพจิตใจตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เพื่อให้เป็นไปตาม   มาตรฐานในการรักษาผู้ติดเชื้อ
    • การให้คำแนะนำ ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโควิด-๑๙ ระหว่างอยู่ในศูนย์แยกกักผู้ป่วยโควิด-๑๙
        ในชุมชน Community Isolation
    • การให้คำแนะนำผู้ป่วยหลังจำหน่ายจากศูนย์แยกกักผู้ป่วยโควิด-๑๙ ในชุมชน Community
        Isolation แบบ Home Isolation 3.๘ สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๗.๑ เกิดการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้ไม่มีการระบาดในพื้นที่ ๗.๒ประชาชนในพื้นที่มีการความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันโรคและสามารถปฏิบัติตามมาตรการได้ ๗.๓ มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องเหมาะสมตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ ๗.๔ ประชาชนผู้ติดเชื้อได้รับการดูแลรักษาและคัดแยกอย่างถูกต้องเหมาะสมตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ และไม่เจ็บป่วยรุนแรงเป็นอันตรายถึงชีวิต ๗.๕ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านป้องกันและควบคุมโรคโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2564 14:26 น.