กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียน
รหัสโครงการ 60-L3332-2-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านเกาะเคียน
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพิศ แสงจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.435,100.197place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมาจนถึงปัจจุบัน และมีการแพร่ระบาดของโรคอย่างกว้างขวางโดยพบผู้ป่วยทุกจังหวัด ทุกภาคของประเทศ ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกพบได้ทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 5- 14 ปี จากข้อมูลการเกิดไข้เลือดออกของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านเกาะเคียน ปี 2557 – 25593 ปีย้อนหลัง พบว่า ในปี 2557 มีผู้ป่วย 1 ราย 2 รายและ 2 รายในเขตหมู่ที่6 หมูที่ 8 และหมู่ที่ 13 ตามลำดับ ปี2558 พบผู้ป่วย 0 ราย 2 ราย และ3ราย ปี 2559 พบ 0 ราย 2 ราย และ 0 ราย ในขณะเดียวกันยังพบว่า จากการสำรวจลูกน้ำยุงลายยังพบลูกน้ำในภาชนะต่างๆ ในทุกเดือนของการสำรวจ ทำให้ไม่สามารถที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่า จะไม่เกิดไข้เลือดออกได้ ซึ่งปัญหานี้ไม่อาจแก้ไขได้ด้วยหน่วยงานใดหน่วยงานเดียวเพราะเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของทุกภาคส่วน มีความพยายามที่จะหาแนวทางเพื่อควบคุมลูกน้ำ กำจัดยุงตัวแก่ทั้งในวิธีกายภาพ ชีวภาพและเคมี การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็นนโยบายสำคัญ ต้องแก้ไขอย่างจริงจังและเร่งด่วน ชุมชนต้องหันหน้ามาร่วมกันคิดร่วมกันทำ เพื่อให้ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลตนเอง ครอบครัว ชุมชนได้ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน การส่งเสริมบริหารจัดการเพื่อแก้ปัญหาโดยใช้ทรัพยากรที่มีในพื้นที่สอดคล้องกับความต้องการ และสนับสนุนกิจกรรมของในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างสม่ำเสมอ จากปัญหาดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านเกาะเคียน ได้เห็นความสำคัญของการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงจัดโครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียน ต.นาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุงขึ้น เพื่อป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ การติดตามการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของภาคีอาสาสมัครสาธารณสุข และชุมชน และจัดประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้กับชุมชนซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการเกิดไข้เลือดออกในหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านเกาะเคียน

 

2 เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

3 เพื่อให้มีการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ เรื่อง การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในรูปแบบต่างๆ

 

4 เพื่อให้มีการติดตามสำรวจลูกน้ำยุงลายของอสม.ในแต่ละครัวเรือนอย่างจริงจัง

 

5 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการจัดการสิ่งแวดล้อมในบริเวณบ้านเรือนของตนเอง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุมผู้นำชุมชน/ทีมควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วประจำหมู่บ้าน/ประชาชน เพื่อให้มีการแสวงหาวิธีการต่างๆในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ของแต่ละชุมชน โดยจัดการประชุมจำนวน 3 ครั้ง ในจำนวน 3 หมู่บ้าน
  2. ประชาสัมพันธ์รูปแบบต่างๆเพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. ติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อสำรวจลูกน้ำยุงลายโดยทีมควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วประจำหมู่บ้าน ทุก 2 สัปดาห์ (ถ้ามีผู้ป่วยติดตามสำรวจทุกสัปดาห์ เป็นเวลา 1 เดือน)
  4. สุ่มสำรวจซ้ำโดย จนท.สธ.
  5. สรุปผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์/ทุกเดือน พร้อมทั้งแจ้งสรุปผลให้กับหมู่บ้านและกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาปะขอ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และมีการกำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนอย่างจริงจังส่งผลให้เกิดโรคไข้เลือดออกลดลง 2. ทีมควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วระดับหมู่บ้านสำรวจลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนอย่างเข้มแข็ง
ซึ่งจะส่งผลให้การเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลงต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2560 15:28 น.