กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนเข้มแข็ง ร่วมแรงออกกำลังกาย ด้วยวิธีเต้นแอโรบิค ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ L4054
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาคำ
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจงจิต สร้อยจักร
พี่เลี้ยงโครงการ 1. นางอรทัย กลมเกลียว 2.น.ส.ศริญญา สุดแสน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาคำ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
ละติจูด-ลองจิจูด 15.632859,104.404532place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 22 มี.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)
52.17
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
40.53
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
48.64
4 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
56.55
5 ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายเช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน
58.33

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตของชาวชนบทมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมตามยุคสมัย ซึ่งเทคโนโลยีอำนวยความสะดวก เครื่องทุ่นแรงที่สะดวกสบายทันสมัย มีพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปนั้น ทำให้ประชาชนออกแรงในการใชัชีวิต น้อยลง และออกกำลังกายเต็มรูปแบบน้อยลงมาก ซึ่งส่งผลให้มีผู้ป่วยโรคเรื้องรังเพิ่มมากขึ้น อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคมะเร็งต่างๆ โรคซึมเศร้า ภาวะเครียด หรือแม้แต่สภาวะอ้อนในช่วงวัย จากการเก็บข้อมูลระบบบริการสุขภาพระดับปฐม ปี 2564 จำนวน 6 หมู่บ้าน ตำบลนาคำ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร พบว่า     1. เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ (เกณฑ์ออกกำลังกายระดับปานกลางถึงมากอย่างน้อย 60 นาทีต่อวันร้อยละ 60)     2. ผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ (เกณฑ์ออกกำลังกายระดับปานกลางถึงมากอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ร้อยละ 65)     3. ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ (เกณฑ์ออกกำลังกายระดับปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ร้อยละ 50)     4. การใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในกิจกรรมทางกายของคนในชุมชนไม่ถึงเกณฑ์ร้อยละ 40     5. หน่วยงานสถานประกอบการมีกิจกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกาย เช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างทำงานไม่ถึงร้อยละ 35     ในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 939 คน ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 230 คน คิดเป้นร้อยร้อยละ 22.49 ป่วยเป็นโรคเบาหวาน 85 คน คิดเป็นร้อยละ 9.05 และป่วยทั้งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 3.19     การออกกำลังกายแบบแอโรบิคแดนซ์เป้นการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทุกเพศทุกวัย ที่เป็นเช่นนี้เพราะเป็นการออกกำลังกายที่สนุกสนาน สามารถออกำลังกายได้ทุกสถานที่ ทำได้ไม่ยากนักขอให้มีเพียงเสียงหรือจังหวะประกอบการออกกำลังกายก็พอแล้ว ผู้ที่ทำให้การออกกำลังกายแอโรบิคแดนซ์เป็นที่นิยมแพร่หลายรูปแบบการออกกำลังเป็นที่น่าสนใจและสนุกสนาน โดยนำท่าออกกำลังกายและท่าเต้นรำมาเต้นให้เข้าจังหวะดนตรีแอโรบิกดานซ์ คือ การนำเอาท่าบริหารแบบต่างๆ มาบวกกับการเคลื่อนไหวพื้นฐาน บวกกับทักษะการเต้นรำ และนำมาผสมผสานกันอย่างกลมกลืนแล้วนำมาประกอบจังหวะหรือเสียงดนตรี เพื่อนำมาเป็นกิจกรรมการออกกำลังกาย จุดเด่นของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์ คือ มุ่งฝึกระบบการหายใจความสามารถในการจับออกซิเจนสูงสุด ซึ่งเป็นผลดีในการสร้างความอดทนให้ร่างกายอีกด้วย ประโยชน์ที่ได้รับอีกอย่างหนึ่ง คือ ทำให้รูปร่างและทรวดทรงดีขึ้น ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมได้รับความสนุกสนาน ร่าเริง หายจากความตึงเครียด จุดมุ่งหมายสำคัญของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์อยู่ที่เน้นการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ให้มีการเต้นอัตราการเต้นของชีพจรให้ให้ถึงเป้าหมาย คือ 70-80 % ของอัตราการเต้นชีพจรสูงสุด และต้องเต้นติดต่อกันประมาณ 25-30 นาที จึงจะช่วยพัฒนาสมรรถภาพทางร่างกายให้ดีขึ้น ควรจะเต้นประมาณสัปดาห์ละ 3 วัน ด้วยเหตุนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาคำจึงเห็นความสำคัญจัดทำโครงการชุมชนเข้มแข็งร่วมแรงออกกำลังกาด้วยวิธีแอโรบิค ประจำปีงบประมาณ 2565 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

52.17 78.26
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

40.53 45.89
3 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

48.64 62.16
4 เพิ่มพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

56.55 69.60
5 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน

ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน

58.33 83.33
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 180 10,000.00 1 0.00
1 - 30 เม.ย. 65 อบรมให้ความรู้การออกกำลังกายด้วยวิธีเต้นแอโรบิคและฝึกปฏิบัติ 60 10,000.00 -
1 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ออกกำลังกายด้วยแอโรบิค 60 0.00 0.00
1 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมติดตามผลการดำเนินการโครงการโดยวิธีวัดดัชนีมวลกาย/วัดเส้นรอบเอว 60 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงโดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถลดอาการเจ็บป่วยจากโรตต่างๆ ได้
  3. ผู้ร่วมกิจกรรมใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2564 00:00 น.