กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการมโนราห์เพื่อสุขภาพ

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการมโนราห์เพื่อสุขภาพ
รหัสโครงการ L5300-65-2-2
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมมโนราห์เยาวชนร่วมสมัย บ้านหน้าเมือง
วันที่อนุมัติ 16 ธันวาคม 2564
ปี 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2565 - 31 พฤษภาคม 2565
งบประมาณ 20,785.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางโสภา ณ นคร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ประเด็น
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) ขนาด 40.00
  2. ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) ขนาด 35.00
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น
  2. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงและตรวจสุขภาพเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนเข้าร่วมกิจกรรม
  2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกายโดยการรำมโนราห์
  3. ประชุมสรุปโครงการและตรวจสุขภาพเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมโครงการหลังเสร็จสิ้นโครงการ
วิธีดำเนินการ
  1. ประสานงานหารือกับแกนนำและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามโครงการฯ
  2. จัดทำโครงการและเสนอขออนุมัติโครงการ 3.ประชุมชี้แจงและตรวจสุขภาพเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนเข้าร่วมกิจกรรม (วัดความดัน, อัตราการเต้นของหัวใจ,ปัญหาสุขภาพ) 4.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกายโดยการรำมโนราห์ วิทยากร : นายวีระชาติ แดงจันทร์ ครูโรงเรียนบ้านคลองขุด
  3. ออกกำลังกายโดยการรำมโนราห์ สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 3 วัน ระยะเวลาในการรำมโนราห์ อยู่ระหว่าง 60-120 นาที ต่อเนื่องกันหรือขึ้นอยู่กับอิริยาบถ ระดับความหนักของจังหวะ และท่าทางของการออกกำลังกายจากการรำมโนราห์
  4. ประชุมสรุปโครงการและตรวจสุขภาพเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมโครงการหลังเสร็จสิ้นโครงการ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต ประชาชนมีกิจกรรมออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน อย่างน้อยร้อยละ 80 ของสมาชิกชมรม ผลลัพธ์ 1.กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพร่างกายและจิตใจแข็งแรงจากการรำออกกำลังกายโดยการรำมโนราห์ ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และความสามัคคีของคนในชุมชน ทำให้มีพื้นที่สร้างสรรค์ทางสังคม ในการพบปะ พูดคุย และทำกิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน 2.กลุ่มเป้าหมายได้ออกกำลังกายสร้างกระแสของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สามารถเพิ่มสมรรถภาพด้านต่าง ๆ ของร่างกายให้สูงขึ้น มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงโดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ