กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการขยับกายไร้พุง

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการขยับกายไร้พุง
รหัสโครงการ L659925651001
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.โนนรัง
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2565
ปี 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 15,000.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.โนนรัง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโนนรัง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
ประเด็น
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) ขนาด 40.00
  2. ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน ขนาด 40.00

ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆที่มีความทันสมัยสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้วิถีชีวิตของคนในปัจจุบันเปลี่ยนไป ประชาชนมีการออกกำลังกายน้อยลงทำให้ร่างกายอ่อนแอและปัจจุบันนี้ปัญหาโรคไม่ติดต่อได้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าโรคที่เป็นปัญหาในชุมชน ๕ อันดับแรกในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โดยระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างและไขมันอุดตันในเส้นเลือด ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงานและกลุ่มผู้สูงอายุ จากการสอบถามพบว่าผู้ป่วยขาดการออกกำลังกายและบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน ซึ่งถ้าประชาชนได้บริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะและมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถลดปัญหาดังกล่าวลงได้ ปัจจุบันระบบสุขภาพของไทยที่เน้นการ "สร้าง " มากว่าการซ่อม สุขภาพ ซึ่งเป็นการเน้นระบบสุขภาพเชิงรุกและการสร้างสุขภาพ การอกกำลังกาย จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนเรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง การออกกำลังกายมีหลายวิธีตามแต่ความเหมาะสมและความต้องการของแต่ละบุคคล แต่ที่เหมาะสมที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ คือการออกกำลังด้วยการเดินและวิ่ง ซึ่งจะทำให้เป็นผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนรัง จัดทำโครงการขึ้นมาโดยเห็นว่า การออกกำลังด้วยการเดิน - วิ่งสามารถทำได้ทุกกลุ่มวัย เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้มีการออกกำลังกาย และ การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้วยังช่วยเสริมสร้างให้ร่างกาย แข็งแรง ผ่อนคลายอารมณ์ เสริมสร้างความสามัคคี และมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง ลดความเสี่ยงต่อการ เกิดโรคดังกล่าวด้วย กลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable diseases) คือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อหรือเกิดจากเชื้อโรค หากแต่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากวิถีชีวิต หรือวิธีการใช้ชีวิตที่มีพฤติกรรมเสี่ยงจากการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารหวานมันเค็มจัด และมีความเครียดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมักจะค่อยๆ มีอาการและรุนแรงขึ้นทีละน้อยหากไม่ได้มีการรักษาควบคุมโดยเฉพาะโรคเบาหวาน จะนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นสาเหตุความพิการ การสูญเสียคุณภาพชีวิต และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรองค์การอนามัยโลก(WHO) ระบุว่ากลุ่มโรค NCDs นั้น ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จาก สถิติผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs ในปี พ.ศ. 2552 พบว่าจำนวนการเสียชีวิตทั่วโลกไม่น้อยกว่า 35 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 63 และร้อยละ80 ของผู้เสียชีวิตเป็นประชากรของประเทศที่กำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย ที่กลุ่มโรค NCDs เป็นฆาตกรฆ่าคนไทยเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งคือ 300,000 คนต่อปี คิดเป็น 73% ของการเสียชีวิตซึ่งมากกว่าสาเหตุการเสียชีวิตอื่นๆ ทุกสาเหตุรวมกันถึง 3 เท่า ทั้งสถิติการเสียชีวิตดังกล่าวยังแสดงว่าประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตมากกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งโลกและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ )ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นปัญหาสุขภาพขนาดใหญ่ของประเทศก่อปัญหาภาระกับคนรอบข้างผู้ป่วยทำลายคุณภาพประชากร และก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาล โดยรัฐต้องแบกรับต้นทุนที่เกิดจากโรคNCDs ถึง 200,000ล้านบาทต่อปี คิดเป็นต้นทุนที่คนไทยต้องแบกรับมูลค่าถึง 3,182 บาทต่อปี ทุกๆ ปี จะมีคนเสียชีวิตเพิ่มขึ้นปีละ 8,000 คน ซึ่งการแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องขอความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เฉพาะหน่วยงานด้านสาธารณสุข” (ทักษพล,2557) แนวโน้มคนไทยเป็นโรคเบาหวานมากขึ้น โดยสหพันธ์เบาหวานนานาชาติได้คาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2583 ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยเบาหวานสูงถึง 5.3 ล้านคน และคาดการณ์ว่าจะมีผู้สูงอายุ 1 คนในทุกๆ 5 คนเป็นโรคเบาหวานซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการณ์ว่า ปัจจุบันประเทศไทยจะต้องจัดสรรงบประมาณ ร้อยละ 11 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งหมดสำหรับการดูแลรักษาโรคเบาหวานและคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 41 ภายในปี พ.ศ.2573 ซึ่งหากคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน รวม 3 ล้านคน/ปี จะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้นประมาณ 47,596 ล้านบาท/ปี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและประชากร(สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, พ.ศ.2551) 3 ปีย้อนหลัง( ปี 2561-2563 ) อำเภอเขื่องในมีผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 5,609 ,5,814 และ 6,141 คน ตามลำดับ ในกลุ่มนี้เป็นผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 556 ,374 และ 535คนตามลำดับซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆและเป็นอันดับหนึ่งของTop5ของผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มนี้หากไม่ได้รับการดูแลตนเองที่เหมาะสมจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นโรคที่ต้องรักษาต่อเนื่องมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงสาเหตุการเกิดภาวะแทรกซ้อนเกิดจากผู้ป่วยขาดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีข้อแนะนำการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ที่แตกต่างกัน ได้แก่ เด็กปฐมวัย (0 - 5 ปี) ควรมีกิจกรรมทางกายที่หลากหลาย อย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน เด็กและวัยรุ่น (6 - 17 ปี) ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงหนัก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน ผู้ใหญ่ (18 - 59 ปี) ควรมีกิจกรรม ทางกายระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือกิจกรรมทางกายระดับหนัก อย่างน้อย 75 นาที ต่อสัปดาห์และกิจกรรมพัฒนาความแข็งแรงและความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ผู้สูงวัย (60 ปีขึ้นไป) ควรมีกิจกรรมทางกายเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่เพิ่มกิจกรรมพัฒนาสมดุลร่างกาย และป้องกันการหกล้ม อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ ปัจจุบันคนมีวิถีชีวิตเปลี่ยนไปขาดการมีกิจกรรมทางกาย มีกิจกรรมที่ใช้พลังงานต่ำ ที่เรียกว่า “พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behaviour)” เช่น การนั่งเล่นโทรศัพท์มือถือ การใช้คอมพิวเตอร์ การนั่งคุยกับเพื่อน การนั่ง หรือนอนดูโทรทัศน์ ที่ไม่รวมการนอนหลับ มีแนวโน้มที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งมากขึ้น โดยควร ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ด้วยการลุกขึ้นเดินไปมาหรือยืดเหยียดร่างกาย ทุก 1 ชั่วโมง ตลอดจนปัญหาเรื่องของปัญหาพฤติกรรมการกิน และรูปแบบการใช้ชีวิตที่เร่งรีบอันนำมาสู่โรคอ้วนและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆจึงทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง และมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ตลอดเวลา มีภาวะเสี่ยงต่อโรคอ้วน ตลอดจนโรคไข้หวัดเรื้อรังซึ่งมีผลต่อสุขภาพร่างกาย

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่
  2. เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมวางแผนและกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
  2. สร้างความรู้ ความเข้าใจการมีกิจกรรมทางกาย
  3. การขับเคลื่อนกระบวน การนโยบายสาธารณะในพื้นที่เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย
  4. การพัฒนาขีดความ สามารถเครือข่าย
  5. จัดกิจกรรมทางกาย
  6. เยี่ยมเสริมพลังและการติดตามประเมินผล
วิธีดำเนินการ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนอายุ 18-64 ปี มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ