กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพ

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านเดียง (พลีศึกษา)
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2565
ปี 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 18,525.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ประเด็น
แผนงานกิจกรรมทางกาย
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) ขนาด 45.00
  2. ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่โรงเรียน ในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน ขนาด 50.00
  3. ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่โรงเรียน ในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน ขนาด 50.00

สุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเด็กระดับมัธยมศึกษา เพื่อให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ร่วมกันกับเพื่อนๆ ได้อย่างสงบสุข มีความปลอดภัย ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการและความคิดสร้างสรรค์อย่างเหมาะสม โดยมุ่งหวังให้เด็กระดับมัธยมศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งโดยธรรมชาติของเด็กมักจะชอบเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา และการที่เด็กมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่เหมาะสมนั้น ช่วยส่งเสริมให้มีการเจริญเติบโตของระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ และระบบข้อต่อของร่างกาย นอกจากนี้ยังทำให้เกิดผลดีต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด การควบคุมน้ำหนักรวมไปถึงการส่งเสริมสุขภาพจิต การออกกำลังกายจึงเป็นกิจกรรมทางกายอย่างหนึ่งที่ส่งเสริมให้เด็กระดับมัธยมศึกษาได้รับการพัฒนาในด้านร่างกาย เพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงที่เหมาะสมกับวัย อีกทั้งยังเป็นการสร้างนิสัยให้นักเรียนเห็นประโยชน์ของการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออีกด้วย ดังนั้น โรงเรียนบ้านเดียง (พลีศึกษา) ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กระดับมัธยมศึกษามีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เหมาะสมกับวัย และปลูกฝังนิสัยรักการออกกำลังกาย เพื่อเด็กจะได้เติบโตเป็นประชากรที่มีคุณค่าสำหรับประเทศต่อไป

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น
  2. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่
  3. เพิ่มพื้นที่ของโรงเรียนที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมคณะทำงานเพื่อคัดเลือกแกนนำ
  2. กิจกรรมออกกำลังกายด้วยฮูล่าฮูป
  3. ประเมินผลโครงการ
วิธีดำเนินการ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ในตำบล มีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้น 2.ผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ในตำบล มีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้น 3.มีการใช้ประโยชน์ของของโรงเรียนที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน เพิ่มมากขึ้น 4.มีคนที่ออกกำลังกายในชุมชนเพิ่มมากขึ้น