กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ บริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ทต.เขาหัวช้าง ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 2565–L3328-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเขาหัวช้าง
วันที่อนุมัติ 19 ตุลาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 96,525.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวดูลียา จงกลบาล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในท้องถิ่น เป็นกองทุนที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ และประสานหน่วยงานขององค์กรและภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เข้ามาค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตในระดับท้องถิ่น
ในการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เน้นการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งสามารถให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมใน ๕ ลักษณะ คือ ๑. สนับสนุนหน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข ๒. สนับสนุนกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น ๓. สนับสนุนศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ ๔. สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ ๕. สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเขาหัวช้าง สามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ จึงจำเป็นต้องมีการประชุมเพื่อชี้แจงการดำเนินงาน ตลอดจนการติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานของกองทุนฯ ดังนั้นคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเขาหัวช้าง จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนฯ ปีงบประมาณ ๒๕๖5

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพให้เกิดประสิทธิภาพและตรงตามวัตถุประสงค์ของประกาศคณะกรรมการฯ
  1. คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล จัดประชุมอย่างน้อย 4 -6 ครั้ง/ปี
  2. โครงการ/กิจกรรมด้านสุขภาพได้รับการอนุมัติจนเงินกองทุนเหลือไม่เกิน ร้อยละ 20 ของเงินทั้งหมด
  3. คณะกรรมการบริหารกองทุนมีศักยภาพเกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบล
  4. เกิดแผนสุขภาพตำบลที่มีความครอบคลุมด้านการแก้ปัญหาสุขภาพของพื้นที่
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมกรรมการ ที่ปรึกษา อนุกรรมการกองทุนฯ แกนนำสุขภาพ และผู้เข้าร่วมให้ข้อมูลฯ
1.1 กิจกรรมย่อยประชุมกรรมการและที่ปรึกษา 6 ครั้ง *** ค่าตอบแทนการประชุม 52,๐๐๐ บ. ต.ค.๖4-ก.ย.๖5 1.2 กิจกรรมย่อยประชุมอนุกรรมการ 4 ครั้ง ค่าตอบแทนการประชุม 8,400บ. ต.ค.๖4-ก.ย.๖5 ๑.๓ ค่าเลี้ยงรับรองอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม        10,000 บ. ต.ค.๖4-ก.ย.๖5 2.การพัฒนาศักยภาพ
2.1 กิจกรรมย่อยประชุม สัมมนา อบรม ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าลงทะเบียน
เบี้ยเลี้ยงฯ  = 4,0๐๐ บ. ต.ค.๖4-ก.ย.๖5 3.จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานกองทุนสุขภาพตำบล 3.1 กิจกรรมย่อยจัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ สรุปการทำงานกองทุน ค่าใช้จ่ายในกิจกรรม = 6,0๐๐ บ. ต.ค.๖4-ก.ย.๖5 4.จัดทำแผนสุขภาพตำบล ปี ๒๕๖5 4.1 จัดทำแผนสุขภาพตำบล ปี ๒๕๖5 ค่าใช้จ่ายในกิจกรรม = 4,125 บ. ต.ค.๖4-ก.ย.๖5 5.ประชุมอนุกรรมการ LTC และคณะทำงาน
5.1 ประชุมอนุกรรมการ LTC และคณะทำงาน 4 ครั้ง ค่าตอบแทนการประชุม =12,๐๐๐ บ. ต.ค.๖4-ก.ย.๖5 รวมทั้งสิ้น 96,525 บาท ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ขออนุมัติแก้ไขรายละเอียดกิจกรรมตามกรอบงบประมาณเดิม เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565

1.จัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์และอุปกรณ์ประกอบการดำเนินงานตามระเบียบของหน่วยงานโดยอนุโลม
- เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก สำหรับงานประมวลผล (รายละเอียดแนบท้าย) 22,000 บาท 10 มี.ค. 2565 – 30 ก.ย. 2565 รวมทั้งสิ้น 22,000 บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล จัดประชุมอย่างน้อย 4-6 ครั้ง/ปี
  2. โครงการ/กิจกรรมด้านสุขภาพได้รับการอนุมัติจนเงินกองทุน เหลือไม่เกิน ร้อยละ 20 ของเงินทั้งหมด
  3. คณะกรรมการบริหารกองทุนมีศักยภาพเกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบล
  4. เกิดแผนสุขภาพตำบลที่มีความครอบคลุมด้านการแก้ปัญหาสุขภาพของพื้นที่
  5. กระบวนการบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2564 23:38 น.