กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารปลอดภัยในเดือนรอมฎอน ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L6961-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 มีนาคม 2565 - 6 พฤษภาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 6 มิถุนายน 2565
งบประมาณ 37,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุสนีดา เจ๊ะแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในเดือนรอมฎอนขาดความรู้ ความเข้าใจด้านสุขาภิบาลอาหารและมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting)
60.00
2 ร้อยละของแผงลอยจำหน่ายอาหารขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร
60.00
3 ร้อยละของผู้ประกอบการขาดการปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร(COVID Free Setting)
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหาร เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ อันมีผลในการเสริมสร้างร่างกายและสติปัญญาตลอดจนสภาพจิตใจที่ดี ซึ่งการรณรงค์ให้คนไทยได้ตระหนักถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยมีความสำคัญมาก เนื่องจากสุขอนามัยของคนเรานั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางด้านโภชนาการเท่านั้น แต่อาหารที่ดีจะต้องสะอาด และปลอดภัยต่อผู้บริโภคด้วย สำหรับเดือนรอมฏอนเป็นเดือนแห่งการถือศีลอดของชาวมุสลิม ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่อำเภอสุไหงโก-ลก ทุกๆ ปีของเดือนอันประเสริฐนี้ จะมีพ่อค้าแม่ค้ามาตั้งแผงลอยจำหน่ายอาหารบริเวณทางเท้า ริมถนน รอบๆ ตลาด และตามแหล่งชุมชนต่างๆกันอย่างมากมาย แผงลอยจึงเป็นสถานที่จำหน่ายอาหารที่ประชาชนทั่วไป นิยมหาซื้ออาหารปรุงสำเร็จมาบริโภค เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็ว และมีราคาประหยัด อาหารเหล่านั้นอาจมีอัตราเสี่ยงจากการได้รับการปนเปื้อนจากเชื้อโรคและสิ่งสกปรก ก่อให้เกิดโรคแก่ผู้บริโภคได้
ซึ่งจากการดำเนินงานในปี 2564 ที่ผ่านมา พบว่า แผงลอยจำหน่ายอาหารร้อยละ 70 ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร อีกทั้งการจำหน่ายอาหารดังกล่าวสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน ทั้งในเรื่องของการจราจร เหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน ต่าง ๆ ประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบันมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า(COVID - 19) การที่มีพ่อค้า แม่ค้า และผู้ซื้อจากหลากหลายพื้นที่รวมตัวกันในที่สาธารณะ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVD - 19) ได้ จึงควรมีมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยให้ถือปฏิบัติโดยทั่วกัน
เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ตระหนักถึงความสำคัญในการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยของประชาชน การแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากการจราจร และเหตุรำคาญต่างๆ และยังมีบทบาทหน้าที่ในการป้องกันและควบคุมโรค ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับประทานอาหารที่สะอาด และปลอดภัย เพื่อจัดระเบียบและพัฒนาแผงลอยจำหน่ายอาหารต้อนรับเดือนรอมฏอมที่กำลังจะเข้ามาถึง ตลอดจนถือปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัยในเดือนรอมฎอน ประจำปี 2565 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในเดือนรอมฎอนมีความรู้ ความเข้าใจด้านสุขาภิบาลอาหารและมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting)

ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 70

60.00 70.00
2 เพื่อจัดระเบียบและพัฒนาแผงลอยจำหน่ายอาหารให้ผ่านเกณฑ์การประเมินตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร

แผงลอยจำหน่ายอาหารมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและผ่านเกณฑ์การประเมินตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหารมากกว่าร้อยละ 70

60.00 70.00
3 เพื่อให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting)

ผู้ประกอบการมีการปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting)

60.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในเดือนรอมฎอนมีความรู้ ความเข้าใจด้านสุขาภิบาลอาหารและมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting)

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อจัดระเบียบและพัฒนาแผงลอยจำหน่ายอาหารให้ผ่านเกณฑ์การประเมินตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting)

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

30 มี.ค. 65 ประชุมอบรมผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารเดือนรอมฎอน 25,750.00 -
4 เม.ย. 65 - 6 พ.ค. 65 จัดระเบียบและตรวจแนะนำผู้ประกอบการ 12,200.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการมีความรู้ ความเข้าใจด้านสุขาภิบาลอาหาร และมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting)
  2. แผงลอยจำหน่ายอาหารมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและผ่านเกณฑ์การประเมินตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร
  3. ผู้ประกอบการมีการปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2564 00:00 น.