กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ตาดีกายุคใหม่ส่งเสริมพัฒนา IQ EQในปีงบประมาณ ๒๕๖๐
รหัสโครงการ 60-L3032-02-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ นายมาหามะรอซลาม อาเย๊าะแซ
วันที่อนุมัติ 15 กันยายน 2017
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 กันยายน 2017 - 17 กันยายน 2017
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฮาริซ์กาซอร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.769,101.299place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ปัญหาระดับสติปัญญาเด็กไทย(IQ) ยังเป็นเรื่องที่น่าห่วงและจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งล่าสุด ผลการสำรวจระดับสติปัญญาในปี พ.ศ. 2554พบว่า มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 98.59(ค่าเฉลี่ยปกติ 90 – 109)ซึ่งถือว่าเป็นค่าระดับสติปัญญาที่อยู่ในเกณฑ์ปกติแต่ค่อนไปทางต่ำ ซึ่งสอดคล้องกับคะแนนการสอบประเมินผลนักเรียนนานาชาติ ในปี 2555 พบว่า เด็กไทยมีทักษะทางด้านการคิดและการใช้ภาษาอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ดังเห็นได้จากผลสัมฤทธิ์การเรียนคณิตศาสตร์ การอ่านและวิทยาศาสตร์ มีคะแนนรวมอยู่ในอันดับที่ 50 จาก 65 ประเทศสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development – OECD ขณะที่ คะแนนความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เฉลี่ยในระดับประเทศก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ คือ มีค่าคะแนนอยู่ที่ 45.12 จากค่าคะแนนปกติ 50-100 (สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ๒๕๕๘) ในปัจจุบันการพัฒนาเด็กในวัยเรียนนั้น จำเป็นต้องอาศัยพ่อแม่ ครู หรือผู้ปกครอง โดยการส่งเสริมให้เกิดความรู้และความเข้าใจ การส่งเสริมและพัฒนา IQ EQ จึงจำเป็นต้องพัฒนาทักษะ ๓ ด้าน ได้แก่ ทักษะด้านการคิด การใช้ภาษาและทักษะด้านอารมณ์ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับชีวิต แนวโน้มการพัฒนาล่าช้าในด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สติปัญญา และจริยธรรม ปัจจัยสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดูที่เหมาะสมสามารถปรับเปลี่ยนลักษณะการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองมนุษย์ได้ การพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นช่วงเวลาที่สำคัญและจำเป็นที่สุดในการพัฒนาสมองอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับขั้น การจัดกิจกรรมเกิดการเรียนรู้ให้เด็กพัฒนาทุกด้านอย่างองค์รวม เจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพนั้นต้องจัดกิจกรรม ให้เด็กเกิดการพัฒนาแต่ละด้านไปพร้อมกัน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเด็กปฐมวัยเป็นแนวทางของสังคมในการเตรียมความพร้อมให้เด็กปฐมวัยอย่างเต็มศักยภาพ สอดคล้องกับการพัฒนาทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา และในทางสังคมของเด็กอันจะนำไปสู่การสร้างวินัยและวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สำคัญในการสร้างคุณธรรม จริยธรรมและจิตใจที่ดีงาม เป็นการพัฒนามนุษย์ที่ยั่งยืนและป้องกันปัญหาทางสังคมในระยะยาว จากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น เครือข่ายการศึกษาเยาวชนตำบลยะรังได้ตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาของเด็กในวัยเรียน โดยเฉพาะการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่มุ่งเน้นในการตรียมความพร้อมให้เด็กตามธรรมชาติและพัฒนาเต็มศักยภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาจึงได้จัดทำโครงการตาดีกายุคใหม่ส่งเสริมพัฒนา IQ EQขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และพัฒนาเด็กให้เติบโตมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล เหมาะสมกับวัยความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นคนดี เก่ง และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีของเด็กในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจด้านพัฒนาการสมอง

 

2 เพื่อสร้างความตระหนักในพัฒนาการสมองในเด็กวัยเรียน

 

3 เพื่อส่งเสริมและเตรียมความพร้อมให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมอย่างสมบูรณ์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑ จัดทำโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ยะรัง เพื่อขออนุมัติโครงการ ๒ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๓ ประชาสัมพันธ์โครงการ ๔ ดำเนินโครงการตาดีกายุคใหม่ส่งเสริมพัฒนา IQ EQ ๕ ติดตามและประเมินผลกิจกรรม ๖ รายงานผลการประชุมของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนา EQIQ ๒ ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเรียนรู้กระบวนการมีส่วนร่วม ๓ ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ไปใช้ในการทำงานในชีวิตประจำวัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2017 09:37 น.