กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น
รหัสโครงการ 65-L1500-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงตำบลบ้านควน
วันที่อนุมัติ 16 พฤศจิกายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 34,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอำนวย เซ่งเซี่ยง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.529,99.636place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2565 30 ก.ย. 2565 34,800.00
รวมงบประมาณ 34,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สมุนไพรเป็นผลผลิตจากธรรมชาติที่ชาวบ้านตำบลบ้านควนมักนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่ โบราณ สามารถรักษาโรคบางชนิดได้โดยไม่ต้องใช้ยาแผนปัจจุบัน ซึ่งยาแผนปัจจุบันบางชนิดมีราคาแพงต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงและอาจหาซื้อได้ยาก แตกต่างจากสมุนไพรพื้นบ้านที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นเพราะส่วนใหญ่ได้จากพืชซึ่งมีอยู่ทั่วไป ใช้เป็นยาบำรุงรักษาให้ร่างกาย การส่งเสริมให้ชาวบ้านในชุมชนตำบลบ้านควนได้รู้จักสรรพคุณของพืชสมุนไพรและ สามารถนำพืชสมุนไพรพื้นบ้านในท้องถิ่นของตนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามแบบแผนโบราณทำให้เห็นคุณค่า และกลับมาดำเนินชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติยิ่งขึ้น

      ปัจจุบันพืชสมุนไพรในหมู่บ้านตำบลบ้านควนจำนวนน้อยมาก เนื่องจากชาวบ้านใช้วิธีรักษาโรคกับแพทย์แผนใหม่มานานจึงไม่เห็นความสำคัญของพืชสมุนไพรที่เคยใช้รักษาแบบโบราณทำให้พืชสมุนไพรหาได้ยากทั้งที่จริงแล้วคุณประโยชน์ดีกว่ายาที่ได้จากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ทางกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงตำบลบ้านควน ตระหนักถึงความสำคัญของพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการรักษาสุขภาพ อย่างปลอดภัยโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในราคาสูง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นและเป็นการลดรายจ่ายในครอบครัว เลยจัดทำโครงการอนุรักษ์พืชสมุนไพรใกล้ตัวโดยเน้นการปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้านในท้องถิ่นที่เคยใช้มาแต่โบราณให้ชาวบ้านได้นำมาใช้ประโยชน์ไปนานๆไปต่อ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านตำบลบ้านควน นำสมุนไพรที่มีอยู่ภายในชุมชนมาดัดแปลงเป็นยารักษาโรคที่ใช้กันภายในครัวเรือน

ร้อยละ 80 ของครัวเรือนตำบลบ้านควนมีพืชสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยารักษาโรค

80.00
2 เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ

ร้อยละ 80 ชาวบ้านตำบลบ้านควนมีการปลูกและอนุรักษ์พืชสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 34,800.00 0 0.00
1 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 1 การให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ 60 13,800.00 -
1 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 2 สร้างเครือข่ายครัวเรือนสมุนไพร 0 0.00 -
1 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 3 ปลูกสวนพืชสมุนไพรในครัวเรือน 0 21,000.00 -

ขั้นเตรียมการ

  1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ

  2. ประสาน สมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงตำบลบ้านควน ประชาสัมพันธ์ กำหนดการดำเนินงานในชุมชน

  3. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดอบรม

ขั้นดำเนินการ

  1. กิจกรรมที่ 1 การให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ

  2. กิจกรรมที่ 2 สร้างเครือข่ายครัวเรือนสมุนไพร

  3. กิจกรรมที่ 3 ปลูกสวนพืชสมุนไพรในครัวเรือน

  4. รายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ชาวบ้านตำบลบ้านควนได้ปลูกพืชสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยารักษาโรคภายในครัวเรือน

2.ชาวบ้านเกิดการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2564 10:31 น.