กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมจากครอบครัวสู่ชุมชน ตำบลโคกชะงาย ปี 2565
รหัสโครงการ 2565-L3351-02-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย
วันที่อนุมัติ 30 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 มกราคม 2565 - 31 กรกฎาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2565
งบประมาณ 37,660.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุไร พงค์จันทร์เสถียร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)
1.00
2 จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)
4.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในรอบหลายปีที่ผ่านมาขยะมีเพิ่มมากขึ้นและเป็นปัญหาสำหรับชุมชน หากขยะในครัวเรือนไม่ได้มีการจัดการที่ถูกต้อง จะเป็นปัจจัยเสี่ยงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรค คือ หนู แมลงสาป แมลงวัน ยุงลาย เป็นต้น ซึ่งสัตว์เหล่านี้เป็นสาเหตุการเกิดโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา โรคอุจจาระร่วง โรคฉี่หนู เป็นต้น จากการลงพื้นที่ในชุมชนกรณีที่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในตำบลโคกชะงาย พบว่า ครัวเรือนมีปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อมภายนอกบ้าน โดยเฉพาะขยะ และภาชนะเหลือใช้ เช่น ขวดน้ำ แก้วน้ำพลาสติก ยางรถยนต์ กระถาง กะละมัง เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการทำลายอีกทั้งประชาชนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 จนถึงปัจจุบัน อำเภอเมืองพัทลุง มีนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) ซึ่งเน้นการแก้ปัญหาเรื่องขยะและสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยความมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนงาน ตำบลโคกชะงายรับทราบนโยบายดังกล่าวและพร้อมดำเนินการในพื้นที่ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562- 2563ในปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมาเนื่องจากปัญหาสถานการณ์โรคโควิด-19 ดำเนินการเรื่่องขยะไม่เต็มรูปแบบ อีกทั้งทำให้มีความเสี่ยงการจัดการขยะติดเชื้อในพื้นที่เพิ่่มเติม และจากการลงพื้นที่ทุกหมู่บ้าน เมื่อปีงบประมาณ 2563 ได้ร่วมกันหามาตรการการจัดการขยะกำหนดให้มีมาตรการเริ่มคัดแยกขยะเปียก และขยะแห้ง ที่บ้านก่อนทิ้งออกสู่ชุมชน สำหรับขยะเปียก เศษอาหาร เสนอให้มีการจัดทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้ประโยชน์การปลูกผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย จึงจัดทำโครงการส่งเสริมการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมจากครอบครัวสู่ชุมชน ตำบลโคกชะงาย ปี 256 ขึ้น เพื่อต่อเนื่องกับโครงการปี 2562-2563 และต่อยอดจากมาตรการของหมู่บ้านที่ได้มาจากปี 2563 โดยการจัดอบรม ครู ก การจัดการขยะในครัวเรือน ติดตามและคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือน เพื่อเป็นต้นแบบให้ครัวเรือนอื่นการแก้ไขปัญหาเรื่องขยะและปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งในครัวเรือนและชุมชนให้ประสบความสำเร็จ ช่วยลดปัญหาขยะที่สามารถจัดการได้เองที่บ้านและลดปัญหาเรื่องโรคติดต่อที่มีปัจจัยมาจากขยะอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้กับแกนนำการจัดการขยะในครัวเรือนโดยการทำปุ๋ยอินทรีย์

แกนนำทุกคนสามารถการจัดการขยะในครัวเรือนโดยการทำปุ๋ยอินทรีย์ได้

11.00 120.00
2 เพื่อให้ทุกหมู่บ้านมีครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือน

ทุกหมู่บ้านมีครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือน

4.00 6.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ความรู้กับแกนนำการจัดการขยะในครัวเรือนโดยการทำปุ๋ยอินทรีย์

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ทุกหมู่บ้านมีครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 ก.พ. 65 - 30 เม.ย. 65 อบรม ครู ก การจัดการขยะในครัวเรือนและการทำปุ๋ยอินทรีย์ 28,740.00 -
1 ก.พ. 65 - 31 ก.ค. 65 ปฎิบัติการจัดการขยะในครัวเรือน 0.00 -
1 มี.ค. 65 - 30 มิ.ย. 65 คัดเลือกครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือน 1,200.00 -
1 พ.ค. 65 - 31 ก.ค. 65 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และมอบเกียรติบัตร 7,720.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • แกนนำทุกคนสามารถการจัดการขยะในครัวเรือนโดยการทำปุ๋ยอินทรีย์ได้
  • ทุกหมู่บ้านมีครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือน
  • ลดปัญหาขยะและปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคติดต่อที่มีสัตว์เป็นพานะนำโรคในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2564 00:00 น.