กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2565
รหัสโครงการ L1473-65-01-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะบ้า
วันที่อนุมัติ 11 พฤศจิกายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 10,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุพัตรา ชุมแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวจารีพันธ์ ฝันนิมิตร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.49,99.714place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6428 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญ การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยจำนวนมากเนื่องจาก ฝนที่ตกลงทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ เกิดเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น มีการเคลื่อนไหวของประชากร การคมนาคมที่สะดวกทำให้การเดินทางภายในและต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยข้อมูลรอบ 5 เดือนแรกของปี 2564 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก ลดลงร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเพิ่มความตระหนักรู้ของประชาชนเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ การล็อกดาวน์ ปิดสถานที่สาธารณะ เช่น โรงเรียน ทำให้แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายลดลง ส่งผลให้จำนวนยุงลายลดลงไปด้วย จากข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 ตุลาคม 2564) ประจำปี 2564 ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวนทั้งสิ้น 5,815 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 8.75 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 6 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.10 สำหรับจังหวัดตรัง จำนวนทั้งสิ้น 16 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2.49 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 1 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 6.25 และตำบลโคกสะบ้าไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก
จากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก ที่อาจมีแนวโน้มการเกิดโรคในทุกๆ ปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะบ้า จึงได้จัดทำโครงการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2565

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน

ร้อยละ 80 บรรลุตามวัตถุประสงค์

1.00
2 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะบ้า

ร้อยละ 80 บรรลุตามวัตถุประสงค์

1.00
3 เพื่อให้มีเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานควบคุมโรคฯ ที่พร้อมในการใช้งานอย่างรวดเร็วและทันท่วงที

ร้อยละ 80 บรรลุตามวัตถุประสงค์

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 6428 10,200.00 1 10,200.00
5 ม.ค. 65 โครงการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2565 6,428 10,200.00 10,200.00
  1. เสนอโครงการขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โคกสะบ้า
  2. จัดทำแผนปฏิบัติการรณรงค์ป้องกัน สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์
  3. ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน วัด โรงเรียน และสถานที่ราชการ ก่อนการระบาดโดยการสำรวจ โดยการพ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวแก่ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
  4. ดำเนินการติดป้ายสื่อประชาสัมพันธ์ และแห่รถประชาสัมพันธ์ในช่วงรณรงค์วันไข้เลือดออกอาเซียน
  5. ควบคุมทำลายยุงตัวแก่โดยการพ่นสารเคมีด้วยเครื่องพ่นหมอกควัน กรณีเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก
  6. สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา/อุปสรรค แนวทางพัฒนาเพื่อปรับปรุงและวางแผนการดำเนินงานปีต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลโคกสะบ้า ปลอดภัยจากโรคติดต่อนำโดยยุงลาย 2 โรคติดต่อนำโดยยุงลาย ที่เกิดขึ้นในเขตพื้นที่ตำบลโคกสะบ้า ได้รับการควบคุมโรคทันท่วงที 3 โรคติดต่อนำโดยยุงลาย ไม่ระบาดในชเขตพื้นที่ตำบลโคกสะบ้า 4 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปี ๒๕๖5 ในพื้นที่ตำบลโคกสะบ้าลดลง 5 ประชาชนให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เกิดมาตรการทางชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ชุมชนปลอดโรคต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2565 12:34 น.