กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ แบบไร้รอยต่อ ปี 2565
รหัสโครงการ 2565-L6896-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตรัง
วันที่อนุมัติ 6 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไกรสร โตทับเที่ยง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในเขตเทศบาลนครตรัง มีประชากรทั้งสิ้น 60,352 คน มีผู้สูงอายุทั้งสิ้น 9,511 คน คิดเป็นร้อยละ 15.76 และจากการประเมินคัดกรองความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน(ADL)ผู้สูงอายุ จำนวน 8,959 คน มีผู้สูงอายุ กลุ่มหนึ่ง ทั้งสิ้น 8,833 คน คิดเป็นร้อยละ 98.59 ทั้งนี้การดูแล/ส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้องชัดเจนเป็นรูปธรรมนั้นสำคัญ คือ ผู้สูงอายุต้องไม่มีหกล้มจากการลื่น, การเคลื่อนไหวที่ดีถูกวิธี, สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเองได้, มีสุขภาพช่องปากที่ดี ไม่เกิดภาวะขาดสารอาหาร มีสุขภาวะทางการมองเห็นและการได้ยินที่ดี, สามารถกลั้นปัสสาวะได้ ไม่เกิดความถดถอยของความคิดความจำ และสุขภาพจิตที่ดี ไม่ซึมเศร้า และจากการดำเนินงาน ปี 2564 ได้ดำเนินการเฝ้าระวังผู้สูงอายุทั้งสิ้น 180 คน พบว่าล้ม จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 5.00 ล้มแล้วไม่เจ็บ จำนวน  7 คน คิดเป็นร้อยละ 3.89 คน และล้มแล้วเจ็บ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 1.11 ซึ่งในปีนี้ ปี 2565 ประเมินแนวใหม่จะดำเนินการเน้นการดูแลผู้สูงอายุเชิงลึก โดยเน้นการดูแลต่อเนื่อง และป้องกันใน 9 ด้านคือ ผู้สูงอายุต้องไม่มีหกล้มจากการลื่น, การเคลื่อนไหวที่ดีถูกวิธี, สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเองได้, มีสุขภาพช่องปากที่ดี ไม่เกิดภาวะขาดสารอาหาร มีสุขภาวะทางการมองเห็นและการได้ยินที่ดี, สามารถกลั้นปัสสาวะได้ ไม่เกิดความถดถอยของความคิดความจำ และสุขภาพจิตที่ดี ไม่ซึมเศร้า เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพที่ดี       กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลตรัง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพดังกล่าวที่ควรจะดูแลต่อเนื่อง พร้อมทั้งเพิ่มเติมผู้สูงอายุด้วย จึงได้จัด “โครงการอบรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ แบบไร้ร้อยต่อ ปี 2565” ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีการพัฒนาป้องกันความบกพร่องทั้ง 9 ด้าน

ผู้สูงอายุ ร้อยละ 50 ที่เข้าร่วมโครงการไม่เกิดความบกพร่องเพิ่มขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 180 40,000.00 3 29,850.00
7 ม.ค. 65 อบรมให้ความรู้การใช้แบบประเมินคัดกรองส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ แก่ อสม. 65 31,450.00 21,300.00
7 ม.ค. 65 กิจกรรมลงสำรวจสุขภาพและประเมินคัดกรองความถดถอย ๙ ด้านของผู้สูงอายุในชุมชน 0 0.00 0.00
7 ม.ค. 65 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานร่วมกัน 115 8,550.00 8,550.00

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง ให้ทราบวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานตามโครงการฯ 2. สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุ ที่มีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมพร้อมให้การติดตามตลอดโครงการ 3. เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ

ขั้นดำเนินงาน 1. สำรวจ เตรียมเอกสารและเชิญกลุ่มเป้าหมาย คือผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 2. จัดกิจกรรมอบรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแก่ อสม. เพื่อลงประเมินตามแบบประเมิน ADL แล้วนำแบบประเมินที่ อสม. ประเมินมาสรุปแบบไร้รอยต่อ 3. นำข้อมูลของ อสม. ที่ประเมินมาดำเนินการต่อด้วยแบบประเมินคัดกรองความถดถอย 9 ด้าน 4. วิเคราะห์ข้อมูลถดถอย 9 ด้านแล้วลงดูแลต่อเนื่องผู้ที่มีความถดถอยในแต่ละด้านเพื่อให้การช่วยเหลือ 5. วิเคราะห์ข้อมูลจากการดูแลต่อเนื่อง ทุก 3 เดือน พร้อมนำมาถอดบทเรียน 6. สรุปผลการอบรมและประเมินผลการอบรม 7. ประเมินผลลัพธ์โครงการ 8. สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ใน 11 ชุมชน เขตเทศบาลนครตรังที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการและเข้าร่วมโครงการได้ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
  2. ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ใน 11 ชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง ที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 50 ไม่เกิดความบกพร่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2565 09:47 น.