กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่ ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพ ในเขตเทศบาลนครตรัง ปี 2565
รหัสโครงการ 2565-L6896-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตรัง
วันที่อนุมัติ 6 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 10,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไกรสร โตทับเที่ยง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เขตเทศบาลนครตรัง มีประชากรทั้งสิ้น 60,365 คน โดยมีประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 37,151 คน มีผู้สูงอายุ 9,511 คน จากสถิติ การเจ็บป่วยของผู้รับบริการในเขตเทศบาลนครตรัง 5 อันดับโรค ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลตรัง มีดังต่อไปนี้ 1. โรคความดันโลหิตสูง 2,600 คน 2. โรคเบาหวาน 2,049 คน  3. โรคหัวใจ 272 คน 4. โรคหลอดเลือดสมอง 322 คน 5. โรคมะเร็ง 559 คน  นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่ป่วย(HHC) 432 คน และมีหัตถการต่างๆ ถึง 84 คน มีผู้พิการ 498 คน (ข้อมูล ณ พฤศจิกายน 2564) และในปี ๒๕๖4 เมื่อมีการคัดกรองสุขภาพ โดยการวัดความดันโลหิต, เจาะเลือดบริเวณปลายนิ้ว และคัดกรองซึมเศร้าได้ จำนวน 18,205 คน คิดเป็นร้อยละ 94.69 คน  พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 2,462 คน คิดเป็นร้อยละ 13.54 และพบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 1,459 คน คิดเป็นร้อยละ 8.01 ดังนั้น กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลตรัง จึงได้จัดให้มี “โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่ ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพ ในเขตเทศบาลนครตรัง ปี 2565” ขึ้น โดยการตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยง เพื่อเป็นการค้นหา ป้องกัน ควบคุมโรค พร้อมทั้งให้การส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลนครตรังมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมไม่ป่วยเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ในเขตเทศบาลนครตรัง ผู้ที่พบภาวะเสี่ยงได้รับความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้องเหมาะสมปลอดภัยจากโรค ส่วนผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่องและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

ร้อยละ 10  ของกลุ่มเสี่ยง เข้ารับการอบรมการดูแลตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้อง และร้อยละ 50 ของกลุ่มเสี่ยงที่เข้ารับการอบรมมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 65 10,100.00 2 10,100.00
7 ม.ค. 65 กิจกรรมอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงอย่างเข้มข้นในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง 65 10,100.00 10,100.00
7 ม.ค. 65 กิจกรรมติดตามผลการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยง พร้อมให้กลุ่มเสี่ยงส่งผลลัพธ์สุขภาพทุกเดือน 0 0.00 0.00

1.ชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง ให้ทราบวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานตามโครงการฯ 2.นำข้อมูล ประชาชน ในเขตเทศบาลนครตรัง ในปีงบประมาณที่ผ่านมาเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนดำเนินงาน 3.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ 4.ประชุมชี้แจงโครงการและกิจกรรมผู้ที่เกี่ยวข้อง ขั้นดำเนินงาน 1. กิจกรรมเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงพร้อมแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2. วิเคราะห์ติดตามผลการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยง พร้อมให้กลุ่มเสี่ยงส่งผลลัพธ์สุขภาพทุกเดือน 3. สรุปผลการดำเนินงานตลอดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ในเขตเทศบาลนครตรัง ผู้ที่พบภาวะเสี่ยงได้รับความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้องเหมาะสมปลอดภัยจากโรค ส่วนผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่องและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2565 10:06 น.