กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง ปี 2565
รหัสโครงการ 2565-L6896-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตรัง
วันที่อนุมัติ 6 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 26,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไกรสร โตทับเที่ยง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับชีวิต จะส่งผลต่อระบบอื่นๆของร่างกาย ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้ทุกช่วงวัย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีหัตถการ จำเป็นต้องได้รับการดูแล หากทำความสะอาดช่องปากได้ไม่ดี อาจเป็นเหตุให้มี เชื้อแบคทีเรียและเชื้อราสะสมในช่องปาก เมื่อผู้ป่วยมีการสูดหรือสำลัก อาจทำให้มีโอกาสปอดติดเชื้อเป็นอันตรายได้ หญิงตั้งครรภ์ยิ่งมีความสำคัญ เนื่องจากทารกในครรภ์ดึงแคลเซียมจากมารดา มีผลทำให้เกิดโรคในช่องปากมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นจะต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีตั้งแต่แรกเกิดและคงสภาพที่ดีไว้ จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถป้องกันหรือควบคุมได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่โรคจะลุกลามจนยากที่จะแก้ไขได้ ขณะนี้มีผู้ป่วยที่มีหัตถการที่ดูแลทั้งหมด 81 คน หญิงหลังคลอดรายใหม่ที่ดูแลในปี 2564 ทั้งหมด 52 คน     ในการนี้ กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลตรัง ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง ปี 2565 ” ขึ้น เพื่อดูแล แก้ไข รักษา ส่งเสริมสุขภาพใน  ช่องปากผู้ป่วยที่มีหัตถการ,มารดาและทารกหลังคลอดที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปาก ให้มีสุขภาพในช่องปากดีขึ้นตามสภาพของแต่ละบุคคลเพื่อส่งผลต่อเนื่องถึงชีวิตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีหัตถการทุกรายในเขตเทศบาลนครตรังได้รับการดูแลส่งเสริมป้องกันและรักษาสุขภาพช่องปาก

ร้อยละ 80 ของกลุ่มผู้ป่วยที่มีหัตถการทุกคนในเขตเทศบาลนครตรังได้รับการดูแลส่งเสริมป้องกันและรักษาสุขภาพช่องปาก

0.00
2 มารดา – ทารกหลังคลอดใน ๑๑ ชุมชนรายใหม่ ทุกรายได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพช่องปากของตนเองและของทารกหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 85 ของมารดา – ทารกหลังคลอดใน 11 ชุมชนรายใหม่ทุกรายได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพช่องปากของตนเองและของทารกหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง

0.00
3 มารดา – ทารกหลังคลอดใน ๑๑ ชุมชนรายใหม่ ทุกรายได้รับการสาธิต/คำแนะนำในการฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปาก

ร้อยละ 100 มารดา – ทารกหลังคลอดใน 11 ชุมชนรายใหม่ที่ได้รับการเยี่ยมบ้าน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,850.00 2 26,850.00
7 ม.ค. 65 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยที่มีหัตถการ ในเขตเทศบาลนครตรัง 0 26,850.00 26,850.00
7 ม.ค. 65 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากแก่มารดาและทารกหลังคลอด ใน 11 ชุมชนรายใหม่ 0 0.00 0.00

ขั้นเตรียมการ 1. ชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง ให้ทราบวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานตามโครงการฯ 2. นำข้อมูลผู้ป่วยที่มีหัตถการ ในเขตเทศบาลนครตรัง ในปีงบประมาณที่ผ่านมาเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพร้อมทั้งดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามรายบุคคล 3. นำข้อมูลมารดาและทารกหลังคลอดใน 11 ชุมชน ในปีงบประมาณที่ผ่านมาเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนดำเนินงาน 4. จัดหาอุปกรณ์ในการสาธิตและฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากแก่ผู้ป่วยที่มีหัตถการทุกคน 5. จัดทำสื่อการดูแลสุขภาพในช่องปากแก่ผู้ป่วยที่มีหัตถการทุกคน 6. เสนอโครงการเพื่ออนุมัติโครงการ ขั้นดำเนินงาน 1. บริการทันตสุขภาพแก่ผู้ป่วยที่มีหัตถการ ในเขตเทศบาลนครตรัง 2. บริการทันตสุขภาพแก่มารดา – ทารกตั้งแต่แรกเกิด – 6 สัปดาห์ที่บ้านในเขตรับผิดชอบ จำนวน 11 ชุมชนในรายใหม่ทุกคน 3. วิเคราะห์ผลการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีหัตถการ ในเขตเทศบาลนครตรังทุกคน ได้รับการดูแลส่งเสริมป้องกันและรักษาสุขภาพช่องปาก
  2. มารดา – ทารกหลังคลอดใน 11 ชุมชนรายใหม่ ที่พบทุกรายได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพช่องปากของตนเองและของทารกหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง
  3. มารดา – ทารกหลังคลอดใน 11 ชุมชนรายใหม่ ที่พบทุกรายได้รับการสาธิต/คำแนะนำในการฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปาก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2565 13:17 น.