กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจุฬาภรณ์พัฒนา12
รหัสโครงการ 65-L8281-1-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจุฬาภรณ์พัฒนา12
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 28 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 17,970.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุรเชษฐ ชูกลิ่น
พี่เลี้ยงโครงการ นายอายิ หะมาดุลลาห์
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.917392,101.643554place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ความรอบรู้ในการดูแลตนเอง ครอบครัว ชุมชน และการเฝ้าระวังป้องกันเพื่อรับมือการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 เป็นไวรัสข้ามสายพันธุ์ที่สันนิษฐานว่าเกิดจากค้างคาวมาติดเชื้อในคน โดยเริ่มระบาดในมณฑลอู่ฮั่นของประเทศจีนในช่วงปลายปี ค.ศ.2019 จนกระทั่งมีการระบาดไปยังประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าการแพร่ระบาดของเชื้อดังกล่าวเป็นภัยพิบัติฉุกเฉินระดับโลก และปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อได้แจ้งสถานการณ์ตั้งแต่ 1 เมษายน พ.ศ.2564 พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน2,261,039ราย รักษาหายแล้ว 2,166,441 ราย เสียชีวิต 21,813 ราย (ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 9 มกราคม 2565) สำหรับเขตรับผิดชอบโรรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจุฬาภรณ์พัฒนา12 พบผู้ติดเชื้อจำนวน 32 ราย รักษาหาย จำนวน 32 ราย เสียชีวิต 0 ราย และจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ระลอกใหม่ ส่งผลให้มีประชาชนติดเชื้อและเริ่มกระจายในวงกว้างมากขึ้น การป้องกันการติดเชื้อสามารถทำได้โดยหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อ COVID-19 การสัมผัสกับผู้ป่วย หรือ ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากสงสัยว่าตนเองอาจจะได้รับเชื้อควรแยกสังเกตอาการอย่างน้อย 14 วัน ขณะแยกสังเกตอาการต้องงดการเดินทางหรืออยู่ในที่ที่มีคนหนาแน่น งดใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด รวมถึงมีการบูรณาการทุกภาคส่วน เครื่องมือ ทรัพยากรและงบประมาณเพื่อสนับสนุนบทบาทของภาคีเครือข่าย ร่วมกันขับเคลื่อนยกระดับการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ประชาชนมีความรอบรู้ในการดูแลตนเอง ครอบครัว สังคม และมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการต่างๆ ขององค์กรในการรับมือการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 เพราะการรับรู้และบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ได้ ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการหน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ห้ร้านค้า ชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจุฬาภรณ์พัฒนา12 จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจุฬาภรณ์พัฒนา12เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรอบรู้ในการดูแลตนเอง ครอบครัว ชุมชน และการเฝ้าระวังป้องกันเพื่อรับมือการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19

ร้อยละ 80 ของประชาชนในชุมชนมีความรอบรู้ในการดูแลตนเอง ครอบครัว ชุมชน และการเฝ้าระวังป้องกันเพื่อรับมือการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19

50.00 80.00
2 ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการต่างๆ ขององค์กรหรือชุมชนในการรับมือการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19

ร้อยละ70 ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการต่างๆ ขององค์กรหรือชุมชนในการรับมือการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19

50.00 80.00
3 เพื่อตรวจคัดกรองและค้นหาผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ในชุมชน

ประชาชนในชุมชนได้รับการตรวจคัดกรองและค้นหาผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,970.00 0 0.00
24 ก.พ. 65 เสริมความรอบรู้ในการดูแลตนเอง ครอบครัว ชุมชน และการเฝ้าระวังป้องกันเพื่อรับมือการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 รุ่นที่1 0 15,470.00 -
3 มี.ค. 65 เสริมความรอบรู้ในการดูแลตนเอง ครอบครัว ชุมชน และการเฝ้าระวังป้องกันเพื่อรับมือการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 รุ่นที่ 2 0 1,250.00 -
10 มี.ค. 65 เสริมความรอบรู้ในการดูแลตนเอง ครอบครัว ชุมชน และการเฝ้าระวังป้องกันเพื่อรับมือการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 รุ่นที่ 3 0 1,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ได้มาตรการต่างๆ ขององค์กรหรือชุมชนในการรับมือการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 2.มีประชาชนในชุมชนมีความตระหนักในการดูแลตนเอง ครอบครัว ชุมชน และการเฝ้าระวังป้องกันเพื่อรับมือการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 อย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2565 21:41 น.