กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 65-L3329-2-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5,10
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 16,052.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววรวรรณ คำคง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของอำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง โดยในพื้นที่หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 10 ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ 1 มกราคม - 30 กันยายน 2564
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็นด้านการควบคุมและป้องกันโรค ด้านการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำได้โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เช่น เทศบาลตำบลควนเสาธง โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เจ้าหน้าที่ อสม. ตลอดจนประชาชนและนอกจากความร่วมมือจากทุกฝ่ายแล้ว ความต่อเนื่องและสม่ำเสมอของการ ปฏิบัติงานก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกเกิดระสิทธิภาพมากที่สุด ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลักปอม จึงจัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย กำจัดตัวแก่ยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนตลอดจนถึงควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ๒. เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย และกำจัดตัวแก่ยุงลาย 3. เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน มีศักยภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก 3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และเข้าใจตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก 4. โรงเรียนไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย (ค่า CI = 0) 5. ในชุมชนมีค่า HI ไม่เกิน 10

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. ประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลักปอม โรงเรียนวัดปลักปอม ผู้นำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
  2. ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน, นักเรียน, ครู, นักเรียน กศน.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อเตรียมความพร้อม
  3. เตรียมวัสดุอุปกรณ์สนับสนุนการดำเนินโครงการ
  4. สำรวจลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ และรายงานให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลักปอม
  5. รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและใส่ทราย สำรวจค่า HI, CI ในหมู่บ้าน จำนวน 3 ครั้ง
  6. สำรวจลูกน้ำยุงลาย และพ่นหมอกควันในโรงเรียนวัดปลักปอม ก่อนเปิดเทอม จำนวน 4 ครั้ง
  7. สรุปและประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างต่อเนื่องและทันเวลา
  2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
  3. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก ๔. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI,CI) อยู่ในเกณฑ์ที่กรมควบคุมโรคกำหนดไว้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2565 10:10 น.