กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ "คัดกรอง และเสริมสร้างความรู้ผู้สูงวัยป้องกันภาวะสมองเสื่อม ปี 2565"
รหัสโครงการ 65-L229-1-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาหยุดพระ
วันที่อนุมัติ 24 ธันวาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 12,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดารณี จันทร์อ่อน
พี่เลี้ยงโครงการ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างของประชากรผู้สูงอายุ พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นซึ่งคาดวาม ในปี ๒๕๖๕ ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (ประชากรอายุ (๖๐ ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ ๒๐) การเพิ่มจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุอย่างรวดเร็วนี้ ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบโครงสร้าง เศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้เนื่องจากผู้สูงอายุนั้นมีความเสี่ยงสูงในด้านความเจ็บป่วยเมื่ออายุมากขึ้น สุขภาพร่างกายอ่อนแอลง มีความเสื่อมของร่างกายมากขึ้น จากกรายงานของกลุ่มทำงานด้านสมองเสื่อมในเขตภาคฟื้นเอเชียแปซิฟิก สรุปได้ว่า ในปี ๒๕๔๘ มีผู้ป่วยสมองเสื่อมในภูมิภาคนี้มากถึง ๑๓.๗ ล้านคน และจะเพิ่มเป็น ๖๔.๖ ล้านคนในอีก ๕๐ ปี ข้างหน้า ในประเทศไทยจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ มีจำนวน ๖๑๗,๐๐๐ คน และคาดว่าในปี พ.ศ.๒๕๘๐ จะมีจำนวน ๑,๓๕๐,๐๐๐ คน
โรคสมองเสื่อมนอกจากจะทำให้สูญเสียความคิด ความจำ และความสามารถในการงานการตัดสินใจแล้วยังพบว่ามีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ดูแลและครอบครัวของผู้ป่วย ในการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม ๑ คน อย่างครอบคลุมและมีคุณภาพ ต้องใช้ผู้ดูแลอย่างน้อย ๒ คน นำมาสู่ปัญหาค่าใช้จ่ายที่สูงมาก หากญาติในครอบครัวเป็นผู้ดูแลกันเองจะมีค่าดูแล ประมาณ ๔,๐๐๐-๖,๐๐๐ บาทต่อเดือน ทั้งนี้ยังไม่ร่วมค่าใช้จ่ายทางอ้อมของผู้ดูแล เช่น ต้องลาออกจากงานมาดูแล ค่าเสียโอกาส ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตของผู้ดูแลและผู้ป่วยเอง ปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาอาการสมองเสื่อมได้ มีเพียงตัวยาที่ทำให้เกิดการชะลออาการเท่านั้น แต่มีวิธีป้องกันที่เห็นผลได้คือ การควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และการออกกำลังกายซึ่งจะชะลอการเสื่อมของอวัยวะต่างๆ และสามารถฟื้นฟูอวัยวะที่เสื่อมไปแล้วให้ดีขึ้นได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อคัดกรอง/ประเมินภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ๒. เพื่อพัฒนาศักยภาพของ อสม. แกนนำผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุให้มีความรู้และทักษะของการออก กำลังกาย/กิจกรรมทางกาย ป้องกันภาวะสมองเสื่อม ๓. เฝ้าระวังภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

 

3.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 12,550.00 1 12,550.00
30 มิ.ย. 65 - 27 มี.ค. 66 กิจกรรมให้ความรู้การป้องกันภาวะสมองเสื่อมดังนี้ ๑.การควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ๒. ให้ความรู้เรื่องการเลือกกินสารอาหารต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของสมอง 60 12,550.00 12,550.00

กิจกรรมที่ ๑ ประเมินภาวะสมองเสื่อม คัดกรองผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ (แบบคัดกรองผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์สำหรับญาติ หรือผู้ดูแล ๑๑ ข้อ ) ๑. ชอบถามคําถามเดิมซ้ำๆ
๒. หลงลืมบ่อยขึ้น มีปัญหายุ่งยากเรื่องความจําระยะสั้น
๓. ต้องมีคนคอยเตือนให้ทำกิจกรรมที่จําเป็น
๔. ลืมวันนัด ลืมโอกาสที่สำคัญของครอบครัว เช่น วันเกิด วันหยุดพิเศษ
๕. ดูซึมลง เศร้าหมอง หรือร้องไห้บ่อยกว่าเดิม
๖. เริ่มมีความยุ่งยากในการคิดเลข คิดเงิน หรือลําบาก มากขึ้นในการจัดการเรื่องเงินทอง
๗. ไม่สนใจกิจกรรมที่เคยชอบทำ เช่น งานอดิเรกที่เคยทำ กิจกรรมสังคมที่เคยไป
๘. เริ่มต้องมีคนช่วยเหลือในกิจกรรมประจำวัน เช่นการรับประทานอาหาร
๙. หงุดหงิด อารมณ์เสียบ่อยขึ้น ช่างสงสัย เริ่มเห็น ได้ยิน เชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นจริง
๑๐.เริ่มมีปัญหาเรื่องทิศทางเช่น ถ้าเคยขับรถก็หลงทางบ่อย จำทิศทางไม่ได้ขับรถอันตรายหรือเลิกขับรถไปเลย
๑๑.มีความยุ่งยากลําบากในการหาคําพูดที่ต้องการจะพูด เรียกชื่อคนสิ่งของไม่ถูก พูดไม่จบประโยค *การแปลผล หากตอบ มี (ใช่) มากกว่า ๔ ข้อ ให้สงสัยว่าอาจมีภาวะสมองเสื่อม ชนิดอัลไซเมอร์ ถ้าท่านหรือญาติของท่านมีอาการสงสัยภาวะสมองเสื่อม กรุณาปรึกษาแพทย์ประจําตัวของท่าน หรือ สถานพยาบาล หน่วยบริการ ปฐมภูมิใกล้บ้านท่าน) กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมให้ความรู้การป้องกันภาวะสมองเสื่อมดังนี้ ๑.การควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ๒. ให้ความรู้เรื่องการเลือกกินสารอาหารต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของสมอง ๒.๑ กินอาหารให้หลากหลายในสัดส่วนที่เหมาะสมครบ 5 หมู่
๒.๒ กินอาหารกลุ่มวิตามินบีได้แก่ วิตามินบี1 บี2 บี3 บี5 บี6 บี12 และโฟเลต ส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง อาหารที่มีกลุ่มวิตามินบีสูงได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ตับ อาหารทะเล นมและผลิตภัณฑ์นม ผู้สูงอายุควรเลือกดื่ม นมรสจืดชนิดพร่องมันเนย ไข่ ข้าวกล้อง ธัญพืชไม่ขัดสีถั่วเมล็ดแห้ง ผัก ผลไม้ ๒.๓ กินคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการขัดสีและธัญพืช - กินเนื้อปลาเป็นหลัก และเนื้อสัตว์อื่นเล็กน้อย
๒.๔ งดบุหรี่และลดปริมาณแอลกอฮอล์
๒.๕ การรับประทานอาหารที่มีความปลอดภัยไม่ปนเปื้อนสารโลหะหนักหรือสารเคมีต่างๆ
๒.๖ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ วันละ 8 แก้ว ๒.๗ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารทอด หวานจัด เค็มจัด ๓. การหลีกเลี่ยงการใช้ยาไม่จำเป็นหรือใช้ยาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้สมองถูกกระทบกระเทือน
๔. การเข้าสังคม พบปะพูดคุยกับผู้อื่นบ่อยๆ ๕. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น วิ่งเหยาะๆ ปั่นจักรยาน รำมวยจีนฯ ๖. ตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ ๗. ฝึกสติปัญญาโดยทำกิจกรรม และเล่นเกมฝึกสมอง เช่น
๗.๑ เล่นหมากรุกหมากล้อมเล่น
๗.๒ เกมส์คอร์สเวิร์ด เกมส์บิงโก เกมส์จับคู่สิ่งของ-รูปภาพ
๗.๓ กิจกรรมเพลงประกอบ ท่าทางฝึกสมอง ๗.๔ ตาราง ๙ ช่อง ฝึกสมองออกกําลังกาย ๗.๕ กิจกรรม บําบัดตามบริบทพื้นที่
*ควรฝึกอย่างผ่อนคลาย ซึ่งต้องใช้ความคิด เซลล์สมองจะเจริญเติบโตมากขึ้นความสามารถในการจำก็จะดีขึ้นด้วย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้สูงอายุได้รับการประเมินภาวะสมองเสื่อม
๒. ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะของการออกกำลังกาย/กิจกรรมฝึกสมองที่เหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2564 00:00 น.