กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพใจ ผู้สูงวัยมีสุข
รหัสโครงการ 60-L1462-3-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลคลองชีล้อม
วันที่อนุมัติ 11 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 กันยายน 2560 - 21 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมนึก รุ่งสมบัติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลคลองชีล้อม อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.433,99.587place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (17,050.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน รัฐบาลได้กำหนดให้การเตรียมความพร้อมสังคมไทยสู่สังคมผู้สูงอายุ เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และมีการจัดทำแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ไว้แล้ว การที่รัฐต้องกำหนดแผนงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุไว้อย่างเป็นทางการนั้น เป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางประชากรของประเทศ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับภาวการณ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีและมากกว่า) การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทย มีระยะเวลาที่จะเข้าสู่ภาวะประชากรสูงอายุค่อนข้างสั้นเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วหลายๆ ประเทศ กล่าวคือ สัดส่วนประชากรสูงอายุไทยจะเพิ่มจากประมาณร้อยละ 8 ในปี พ.ศ. 2543 เป็นประมาณร้อยละ 16 ในปี พ.ศ. 2563 หรือใช้เวลาเพียงประมาณ 20 ปี ในการเพิ่มสัดส่วนประชากรสูงอายุเป็นเท่าตัว ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 70 ปี ถึงกว่า 100 ปี จากผลการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุตำบลคลองชีล้อม แล้วปรากฏว่า จำนวนผู้สูงอายุในตำบลคลองชีล้อม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี และสภาพปัญหาของผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านสุขภาพ ในโรคภัยไข้เจ็บที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยาแผนปัจจุบัน แต่สามารถป้องกันและรักษาได้ด้วยวิธีการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้กับผู้สูงอายุ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลคลองชีล้อม จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพใจ ผู้สูงวัยมีสุข ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง

 

2 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจสามารถดำรงชีวิตอยู่กับครอบครัวและบุตรหลานอย่างปกติสุข

 

3 3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะพูดคุยกันตลอดจนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำกิจกรรมร่วมกัน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
21 ก.ย. 60 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ 60 0.00 -
21 ก.ย. 60 ให้บริการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ 60 0.00 -
รวม 120 0.00 0 0.00
  1. เสนอโครงการเพื่ออนุมัติโครงการ
  2. ประชาสัมพันธ์และเชิญชวนให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการ
  3. ดำเนินการจัดงานตามโครงการฯ -ให้บริการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ
    -อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง -อาหารสำหรับผู้สูงอายุ -การใช้ยาในผู้สูงอายุ -การดูแลสุขภาพด้านจิตใจ -การดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย
  4. สรุปและรายงานผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุที่มาร่วมกิจกรรมมีสุขภาพจิต สุขภาพกายที่ดีมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  2. ผู้สูงอายุมีความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองและผู้สูงอายุด้วยกัน
  3. ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกาย และได้มาพบปะแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกันใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2560 09:23 น.