กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก
รหัสโครงการ 65-L8405-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่
วันที่อนุมัติ 10 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 23 กันยายน 2565
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางญาณิศา น้อยสร้าง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.040926,100.543408place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) การส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัย จึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรที่เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่นมารดาและทารกปลอดภัยปราศจากภาวะแทรกซ้อน และมีสุขภาพแข็งแรง น้ำหนักทารกแรกเกิด เป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญของการเจริญเติบโต และการมีชีวิตรอดของทารก ทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม มีอัตราการอยู่รอดต่ำ มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กล่าช้า ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรค ของการเสียชีวิตของทารกแรกเกิด เกิดในกลุ่มทารกน้ำหนักน้อย หรือถ้ารอดตายในช่วงต้นของชีวิต ก็อาจมีปัญหา ในด้านการเจริญเติบโต หรือพัฒนาการตามมา เช่น ปัญหาในด้านการเรียน การมองเห็น โรคทางเดินหายใจ โรคทางเดินอาหาร หรือการเป็นเด็กพิการ ปัญญาอ่อน จากข้อมูลงานอนามัยแม่และเด็ก ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ ย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2560 – 2562พบว่ามีอัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ร้อยละ 7.19, 7.90 และ 7.83 ตามลำดับ (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 7) การคลอดก่อนกำหนด เป็นสาเหตุปัจจัยของทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2500 กรัม ร้อยละ 4.62, 5.22 และ 8.51 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกเช่น ปัจจัยด้านการเจริญเติบโตช้าในครรภ์อันเนื่องมาจากภาวะโภชนาการการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ภาวะแคระแกร็น พฤติกรรมการบริโภค การทำงาน และการพักผ่อนของหญิงตั้งครรภ์ก็มีผลต่อการมีพัฒนาการล่าช้าของเด็กข้อมูลหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ 3 ปีย้อนหลัง พบมีการฝากครรภ์ร้อยละ94.62 , 55.41และ 94.75 ตามลำดับ (เป้าหมาย ร้อย 60) ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ89.06 96.88และ86.96ตามลำดับ ( เป้าหมาย ร้อยละ 65 )และนอกจากนี้มีจำนวนเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการที่ต้องดูแลและติดตามต่อเนื่องจากปี 2564และค้นหาเพิ่มเติมในปี 2565 จำนวน 5 คน และจากปีที่ผ่านมา โดยมีกิจกรรมการดูแลสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ตลอดจนเด็กอายุแรกเกิดจนถึง 5 ปี และสร้างความเข็มแข็งของเครือข่ายงานอนามัยแม่และเด็ก จากผลสรุปงานกิจกรรมในโครงการรณรงค์ให้หญิงมีครรภ์ได้มีการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12สัปดาห์ได้ร้อยละ 94.74 ในปี2562 ร้อยละ55.41 เพิ่มขึ้น ร้อยละ39.33 ซึ่งส่งผลต่อหญิงมีครรภ์คลอดลูกมีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 2,500 กรัม และการรณรงค์ตรวจพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ในปี2563 ตรวจพัฒนาการร้อยละ 93.65พบเด็กที่สงสัยล่าช้า ร้อยละ 5.37 ปี2564ตรวจร้อยละ 96.49 พบล่าช้า ร้อยละ 7.28 ซึ่งการที่ค้นพบเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้เร็วและครอบคลุมจะทำให้เด็กจะได้รับการดูแลเร็วขึ้นโดยได้รับการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ส่งผลให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีคุณภาพ และเกิดการทำงานแบบบูรณาการ โดยใช้กลไกลของภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ ทำให้การดำเนินงานด้านอนามัยแม่และเด็กประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่งดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ เห็นความสำคัญในการดำเนินงานด้านแม่และเด็กจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กปี 2565 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีความตระหนักในการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อให้ภาคีเครือข่ายได้ตระหนักในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5ครั้งตามเกณฑ์และได้รับการติดตามเยี่ยมขณะตั้งครรภ์ของภาคีเครือข่าย ร้อยละ  80

80.00
3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดที่อายุน้อยกว่า20ปี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ

มารดาอายุน้อยกว่า20 ปี ไม่มีการตั้งครรภ์ซ้ำร้อยละ 100

100.00
4 เพื่อให้เด็กอายุ0-5 ปีได้รับการตรวจพัฒนาการ

เด็กอายุ0-5 ปีได้รับการตรวจพัฒนาการ ร้อยละ 90

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,000.00 0 0.00
20 มี.ค. 65 - 20 พ.ค. 65 ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 0 12,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์ ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์หญิงมีครรภ์และหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลติดตามเยี่ยมตามเกณฑ์ 2. มารดาอายุน้อยกว่า20ปีไม่ตั้งครรภ์ซ้ำ
3.เด็กวัย0-5ปีมีพัฒนาการสมวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2565 13:36 น.