กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อบรมให้ความรู้การจัดการขยะและของเสียอันตรายโดยชุมชนมีส่วนร่วมบ้านมะนังกาแยง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.
วันที่อนุมัติ 25 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 ตุลาคม 2560 - 11 ตุลาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 21,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเจษฎา อาแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.077,101.693place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากประชากรในปัจจุบันในตำบลจะแนะมีประชากรเพิ่มขึ้นส่งผลให้อัตราการใช้ที่ดินเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการอุปโภคบริโภค และที่อยู่อาศัย ผลกระทบของความเจริญที่เกิดตามมาคือการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะและสิ่งของเหลือใช้ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัยของประชาชนส่งกลิ่นเหม็น และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค ขยะบางชนิดเป็นอันตรายและปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ดิน อากาศ และอาหาร ทำให้ชุมชนเสี่ยงต่ออันตรายจากการเป็นโรคต่างๆ อีกทั้งขยะส่งกลิ่นเหม็นสร้างความรำคาญ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค ขยะเหล่านี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปีเพราะชุมชนไม่มีระบบการจัดการขยะที่ถูกต้องเหมาะสมและขาดกระบวนการบริหารและการจัดการที่ถูกต้อง เนื่องจากประชาชนขาดความสนใจในการคัดแยกและการกำจัดขยะ การกำจัดถูกปล่อยให้เป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลจะแนะแต่เพียงฝ่ายเดียว แม้ว่าองค์การบริหารส่วนตำบลจะแนะจะมีรูปการจัดการขยะโดยการเผาและการฝังกลบ แต่วิธีทั้งสองก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประกอบกับความมักง่ายในการทิ้งขยะของประชาชนในชุมชนโดยไม่มีการคัดขยะก่อนทิ้งและประชาชนส่วนใหญ่นำขยะมาเทก่อนรวมกันไว้ริมถนน ที่ดินว่างเปล่าหรือที่ดินสาธารณะ ทำให้ขยะส่งกลิ่นเหม็นและเป็นเพาะพันธ์เชื้อโรค การดำเนินการจัดการกำจัดขยะโดยวิธีการเผาก่อให้เกิดมูลพิษและกลุ่มควันเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ อีกทั้งการเผาไม่สามารถลดปริมาณขยะลงได้เนื่องจากมีขยะที่ไม่ติดไฟร่วมด้วย จากปัญหาดังกล่าวชุมชนบ้านมะนังกาแยงจึงได้ตระหนักให้ความสำคัญของปัญหาและวางแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม และพยายามสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นในการเก็บขนขยะมูลฝอย การคัดแยกขยะมูลฝอย ของเสียอันตราย และการสร้างจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อมแก่ชุมชน โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ การจัดการรูปแบบการจัดเก็บขยะมูลฝอยให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหลักเริ่มจากการทิ้งขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ควรมีการสร้างความเข้าใจให้กับชุมชน ซึ่งถือได้ว่าชุมชนเป็นผู้สร้างขยะและควรเป็นผู้มีส่วนร่วมในการจัดการขยะโดยให้มีการคัดแยกขยะก่อนที่จะทิ้ง เพื่อลดปริมาณขยะและพื้นที่จัดเก็บ อีกทั้งเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมและตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ตลอดจนเป็นการสร้างสุขลักษณะนิสัยในการทิ้งขยะอย่างถูกวิธี ดังนั้น ชมรม อสม.บ้านมะนังกาแยงได้เล็งเห็นของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้การจัดการขยะและของเสียอันตรายโดยชุมชนมีส่วนร่วมบ้านมะนังกาแยง ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายในพื้นที่ ลดงบประมาณเพื่อการจัดการขยะมูลฝอยและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลมาจากขยะมีพิษ และสิ่งปฏิกูลต่างๆ

 

2 ๒. เพื่อให้ความรู้ รณรงค์ และขยายผลสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมถิ่นเกิด และบูรณาการความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น สอดคล้องหลักการประชารัฐ “ จังหวัดสะอาด “

 

3 ๓. เพื่อความสะอาดเป็นระเบียบสวยงามในชุมชนและ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

 

4 ๔.เพื่อสร้างจิตสำนึกรับผิดชอบด้านสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,800.00 1 18,500.00
11 ต.ค. 60 อบรมให้ความรู้ 0 21,800.00 18,500.00

๑ ประชุมระดมความคิดเห็น วิเคราะห์สภาพปัญหาของชุมชนกับ อสม. กรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชนและโรงเรียน ๒. จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ ๓ .ประชุมชี้แจงโครงการ เยาวชน อสม.ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและชาวบ้าน ๔ เยาวชน อสม. ผู้นำชุมชน และประชาชนร่วมทำกิจกรรมรักษาความสะอาดบริเวณบ้านเรือน รณรงค์ทำความสะอาดถนน และรอบๆหมู่บ้านตามแนวทางที่กลุ่ม /ละแวกตกลงกันไว้โดยมีผู้ชุมชน อสม.และผู้นำศาสนาเป็นผู้นำในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. มีการลดปริมาณขยะลงได้ เพราะเมื่อแยกวัสดุส่วนที่ยังมีประโยชน์ออกไป เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก ฯลฯ ก็จะเหลือปริมาณขยะจริงที่จำเป็นต้องกำจัดขยะ
๒ประหยัดงบประมาณลงได้ เพราะในเมื่อเหลือปริมาณขยะจริงที่จำเป็นต้องกำจัดน้อยลง จึงใช้งบประมาณน้อยลงในการเก็บขนและกำจัดขยะ เช่น สามารถซื้อถังขยะให้น้อยลง
๓.ได้วัสดุหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่เรียกว่า (Recycle ๔.ประชาชนมีความรู้ในการจัดการขยะ
๕. ช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น เพราะในเมื่อขยะน้อยลง สิ่งแวดล้อมก็จะต้องดีขึ้น สะอาดขึ้น ปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้น ซึ่งผลประโยชน์ที่กล่าวมาทั้ง ๔ ประการก็เป็นผลประโยชน์ของทุกคนในท้องถิ่นร่วมกัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2560 22:06 น.