กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดชื้อไวรัสโคโรนา(Covid-19)โรงเรียนบ้านหินผุด
รหัสโครงการ ปี2565-L5275-02-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านหินผุด
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มกราคม 2565 - 31 มีนาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2565
งบประมาณ 15,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริสรณ์ เอกะโรหิต ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหินผุด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 154 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา และคณะรัฐมนตรีได้มีมติขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๑๕) ออกไปถึง ๓๑ มกราคม ๒๕๖๕ โดยได้มีการเผยแพร่ประกาศลงในเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๔ ยังได้เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ ๒๓/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่นำร่องด้านการ ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9  แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อให้การบริหารจัดการและเตรียมความพร้อมในการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ตามแนวทางจัดเขตพื้นที่สถานการณ์ โดยกำหนดพื้นที่ควบคุม จำนวน ๓๙ จังหวัดและจังหวัดสงขลาถูกกำหนดให้เป็นจังหวัดพื้นที่ควบคุม ทั้งนี้ จากข้อมูลกลุ่มภารกิจสื่อสารความเสี่ยง        สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๖๕ รายงานว่าจังหวัดสงขลามีผู้ป่วยยืนยันสะสม (ตั้งแต่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔) จำนวน ๖๗,๐๖๐ ราย จำนวนผู้เสียชีวิสะสม จำนวน ๓๐๙ ราย และมีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมในอำเภอหาดใหญ่  จำนวน ๑๕,๘๙๔ ราย
จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น สำหรับโรงเรียนและสถานศึกษาปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนตามสถานการณ์และมาตรการที่จังหวัดกำหนด โดยมีการเรียนการสอนแบบ On Line หรือ On Hand หรือ On Demand โดยเลี่ยงจัดการเรียนการสอนแบบ On Site ตามมาตรการของภาครัฐมาอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์ที่ ศบค.ได้ผ่อนคลายมาตรการและปรับลดพื้นที่สถานการณ์ของจังหวัดสงขลาลง จากเดิมพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเป็นพื้นที่ควบคุม อาศัยคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา ที่ ๑๗๐/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๔ เรื่อง มาตรการควบคุมพื้นที่ที่จำเป็นอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันแลควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙(COVID-19)จังหวัดสงขลา โรงเรียนหรือสถานบันการศึกษาทุกประเภท สามารถใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือทำกิจกรรมใดได้ตามความเหมาะสม โดยรูปแบบของดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางการจัดระเบียบและระบบต่างๆ คำแนะนำของทางราชการ และมาตรการป้องกันโรคที่ราชการกำหนด ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนด “มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร” (Covid Free Setting) เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการดำเนินงานของสถานที่ กิจการหรือกิจกรรมในพื้นที่ เพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไปและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงใน 7 กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย
    ในการนี้ โรงเรียนกำหนดเปิดเรียนแบบ on-site โดยต้องทำเป็นพื้นที่ปลอดโควิด หรือ Covid free setting มีกิจกรรมให้ครู และนักเรียนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบถ้วน มีการสุ่มตรวจนักเรียนที่มาเรียน on site ด้วยชุดตรวจ ATK เพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์การเปิดเรียนแบบ  on-site ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ของโรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา(Covid-19) โรงเรียนบ้านหินผุด” ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้บุคลากร ครู และนักเรียน ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ได้ถูกต้อง

-  ร้อยละ ๑๐๐ ของบุคลากร ครู และนักเรียนสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยขณะอยู่ในสถานศึกษา -  ร้อยละ ๑๐๐ บุคลากร ครู และนักเรียนผ่านจุดคัดกรอง
-  ร้อยละ ๙๐ สามารถจัดกิจกรรม กิจกรรม “Thai Stop Covid Plus” ความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อโรค

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.๑ แต่งตั้งคณะทำงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด ๑๙) เพื่อกำหนดมาตรการ และแนวทางของสถานศึกษา
๑.๒ จัดประชุมวางแผนการดำเนินงาน ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน (๒) กิจกรรม “Thai Stop Covid Plus” ความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อโรค       2.1 มีการคัดกรองวัดไข้ ให้กับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อ ทุกคน ก่อนเข้าสถานศึกษา       2.2 มีตรวจ ATK นักเรียน ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา เพื่อเฝ้าระวังตาม เกณฑ์จำแนกตามเขตพื้นที่การแพร่ระบาด
      2.3 มีนโยบายกำหนดให้นักเรียน ครู และผู้เข้ามาในสถานศึกษาทุกคน ต้องสวมหน้ากากผ้าหรือ หน้ากากอนามัย
      2.4 มีการจัดเตรียมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย สำรองไว้ให้กับนักเรียน ร้องขอ หรือผู้ที่ไม่มี หน้ากากเข้ามาในสถานศึกษา
      2.5 มีการจัดวางเจลแอลกอฮอล์สำหรับใช้ทำความสะอาดมือ หรือจุดล้างมือด้วยสบู่ อย่างเพียงพอ
      2.6 มีการทำสัญลักษณ์แสดงจุดตำแหน่งชัดเจนในการจัดเว้นระยะห่างระหว่างกัน
      2.7 มีการทำความสะอาดห้องเรียน ห้องต่าง ๆ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน ก่อนและหลังใช้ งานทุกครั้ง เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ห้องดนตรี อุปกรณ์กีฬา       2.8 มีห้องพยาบาลหรือพื้นที่สำหรับแยกผู้มีอาการเสี่ยงทางระบบทางเดินหายใจ (๓) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้     ๓.๑ มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แนะนำการปฏิบัติเพื่อสุขอนามัยที่ดี เช่น วิธีล้างมือที่ถูกต้อง การสวม หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล เป็นต้น หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวกับโรคโควิด 19       3.2 จัดสถานที่เพื่อเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล เช่น การเข้าแถว การเข้าคิว การจัดที่นั่งเรียน การจัดที่นั่ง รับประทานอาหาร ตามมาตรการ เว้นระยะห่างทางกายภาพ (Physical Distancing) (4) สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(๑)  บุคลากร ครู และนักเรียนสามารถปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ได้ (๒) สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2565 09:58 น.