กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สร้างความมั่นใจผู้สูงวัย ป้องกันภัยสุขภาพด้วยตนเอง
รหัสโครงการ 60-L3336-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม ฒ ผู้เฒ่าบ้านหัวควน
วันที่อนุมัติ 21 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม ฒ ผู้เฒ่าบ้านหัวควน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.279,100.318place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (10,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัยมาตั้งแต่ปี 2548 คือมีสัดส่วนประชากรอายุ 610 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 10 ประชากรสูงอายุกำลังเพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่เร็วมาก คือ สูงกว่าร้อยละ 4 ต่อปี และจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ คือมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึงร้อยละ 20 ในปี 2564 และจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอดเมื่อมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึงร้อยละ 28 ในปี 2574
การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุมิใช่อยู่ที่อายุุซึ่งเป็นเพียงตัวเลขอย่างเดียวเท่านั้น แต่การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจะเห็นได้ชัดนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง เช่น พันธุกรรม การดำรงชีวิต การดำเนินชีวิต และสุขภาพจิตใจด้วย จะเห็นว่าบางคนแม้อายุมาก ทำไมจึงดูไม่แก่ แต่บางคนอายุไม่มาก ทำไมดูแก่เกินวัย ทั้งนี้เป็นเพราะองค์ประกอบดังได้กล่าวมาแล้ว ฉะนั้นการยอมรับการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุจะขึ้นอยู่กับการได้รับความรู้ว่าเมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุจะมีการเสื่อมของร่างกาย รู้ถึงการปรับตัวหรือสังเกตการเสื่อมของร่างกายได้อย่างไร ถ้าขาดความรู้ ความเข้าใจ อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์อย่างมากมาย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายนั้นเอง ผู้สูงอายุ เมื่อร่างกายเสื่อมสมรรถภาพ มักจะประสบปัญหาต่าง ๆ เช่น ความวิตกกังวล กลัวว่าจะต้องพึ่งลูกหลาน การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ผู้สูงอายุบางคนซึมเศร้า หงุดหงิด ระแวง เอาแต่ใจตนเอง ทำให้รู้สึกว่าเป็นการสูญเสียทางใจ หมดกำลังใจ นอนไม่หลับ การเปลี่ยนแปลงทางความคิด ผู้สูงอายุมักจะคิดซ้ำซาก ลังเล ระแวง หมกมุ่นเรื่องของตัวเอง และเรื่องในอดีต จะคิดเรื่องในอดีตด้วยความเสียใจ เสียดาย ที่ปล่อยเวลาที่ผ่านมาให้เปล่าประโยชน์ และคิดถึงปัจจุบันด้วยความหวาดกลัว กลัวถูกทอดทิ้ง กลัวถูกเขารังเกียจ พฤติกรรม มักเอาแต่ใจตัวเอง จู้จี้ ขี้บ่น อยู่ไม่สุข ชอบยุ่งเรื่องคนอื่น หรืออาจมีปัญหาทางเพศ ความจำ มักจำปัจจุบันไม่ค่อยได้ และชอบย้ำคำถามซ้ำๆ กับคนที่คุยด้วย ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย บางรายจำผิดพลาด และพยายามแต่เรื่องรายจนกลายเป็นพูดเท็จเป็นภาวะที่เรียกว่าสมองเสื่อม โรคจิต ความพิการทางสมอง มีการเสื่อมของสมอง เป็นต้น ชมรม ฒ ผู้เฒ่าบ้านหัวควน มีเขตครอบคลุม 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 2, 3, 6 และ 11 ตำบลดอนประดู่ มีกลุ่มผู้สูงอายุ 548 คน ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคสมองและหลอดเลือด อัมพฤกษ์อัมพาต จำนวน 260 คน ผู้พิการ 37 คน ติดบ้าน/ติดเตียง จำนวน 25 คน ด้วยเหตุผลดังกล่าว ชมรม ฒ ผู้เฒ่าบ้านหัวควน จึงได้จัดทำโครงการสร้างความมั่นใจผู้สูงวัย ปัองกันภัยสุขภาพด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความมั่นใจในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง สามารถช่วยเหลือตนเองและเพื่อนได้ตามอัตภาพ มีสุขภาพอนามัยที่พึงประสงค์และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองอย่างเหมาะสม

ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ มีสุขภาพอนามัยที่พึงประสงค์ ร้อยละ 75

2 เพื่อสนับสนุนให้ชมรม ฒ ผู้เฒ่าบ้านหัวควนมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

ชมรม ฒ ผู้เฒ่าบ้านหัวควน มีการจัดประชุมและมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอของบประมาณ
  2. ประชุมคณะกรรมการชมรม ฒ ผู้เฒ่าบ้านหัวควน 3.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์
  3. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ 4.1 สุขภาพอนามัยที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุ 4.2 การดูแลสุขภาพ ด้านอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการด้านอารมณ์ 4.3 การดูแลสุขภาพช่องปาก 4.4 โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ และการปฏิบัติตัว 4.5 ตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 4.6 จัดประชุมส่งเสริมสุขภาพใจ เข้าวัด ฟังธรรม และสันทนาการ
  4. ติดตามและสนับสนุนการดำเนินงาน
  5. ประเมินผลและสรุปผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายที่พึงประสงค์
  2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดี อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
  3. ชมรม ฒ ผู้เฒ่า บ้านหัวควน มีกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
  4. ชมรม ฒ ผู้เฒ่า บ้านหัวควนมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2560 16:28 น.